เนื่องจากติดภารกิจที่สำนักความปลอดภัยฯ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานก็เลยอดไปงานสัมนา Technology Trends 2012 ผม follow เอกสาร presentation ของ อ.ธนชาติ ที่ SlideShare อยู่ก็เลยได้ slide มานั่งดูคร่าวๆ ซึ่ง Technology Trends สำหรับบ้านเราและโดนใจกันมากที่สุดคงไม่ใช่ Cloud Computing แต่เห็นจะเป็นในเรื่องของ Business Continuity ที่บ้านเราขาดแคลนกันมาก เห็นได้จากเหตุการณ์น้ำท่วมที่ผ่านมา เราลองมาดู Trends ระดับโลกที่วิเคราะห์โดย Gartner มีดังนี้
- Media tablets and beyond
- Media-centric applications and interfaces
- Social and contextual user experience
- Application stores and marketplace
- The Internet of everything
- Next-generation analytics
- Big data
- In-memory computing
- Extream low-energy servers
- Cloud Computing
ผมเองไม่ค่อยเข้าใจกระบวนการการวิเคราะห์ของ Gartner สักเท่าไร แต่เท่าที่สังเกตจะพบว่า Gartner ทายถูกเสมอหรือเพราะว่าทุกคนพยายามหันเข้าทาทิศทางของ Gartner กันแน่ แต่ที่สำคัญการวิเคราะห์ Trends ในแต่ละปีเป็นประโยชน์มาก Trends เหล่านี้เกิดขึ้นแล้วและจะเกิดผลกระทบอย่างรุนแรงในอนาคตอันใกล้ ซึ่งเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ การวิเคราะห์ของ Gartner จะช่วยให้เราปรับตัวให้ทันกับ Technoloy ที่จะเกิดขึ้นและมองเห็นสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้อย่างแม่นยำ ข้อมูลเหล่านี้เป็นประโยชน์สำหรับองค์กรและผู้ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี ถ้าสนใจก็ตามอ่านงานวิจัยของ Gartner ในแต่ละ Trends บ้างก็ดีครับ
กลับมาเรื่อง Business Continuity อย่างที่บอกว่าน้ำท่วมกรุงเทพฯ ทำให้อะไรหลายๆ อย่างที่เรามองข้ามมันจะวนกลับมา อย่างเช่น Business Continuity เรื่องนี้สำคัญมาก หากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดอย่างน้ำท่วม เราจะดำเนินธุรกิจของเราอย่างเป็นปกติได้อย่างไร? ผมขอแบ่งปันประสบการณ์ที่พบมากับตัวเองก่อนช่วงน้ำท่วม ซึ่งส่งผลทำให้ผมต้องวางแผน เพื่อให้เว็บไซต์ Thai Open Source เปิดให้บริการได้อย่างต่อเนื่อง
เว็บไซต์ Thai Open Source ย้ายที่อยู่หลายครั้ง คือ ย้ายตาม Sever ว่ามันจะโดนโยกย้ายไปที่ไหน Server เราอยู่ที่สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ หรือที่เรารู้จักกันในชื่อ SIPA ซึ่ง SIPA ก็อยู่ในอาคาร B ศูนย์ราชการ การบริการ NOC ที่นี่ถือว่าอยู้ในระดับดี คือ บริการในเวลางานหลังจากเวลางานก็เจอกันอีกทีแปดโมงครึ่ง :) เหตุการณ์ที่ทำให้ผมตัดสินใจย้ายและทำ Disaster Recovery คือทางอาคารมีการซักซ้อมการรองรับสถานการณ์น้ำท่วมในแต่ละระดับความรุนแรง แต่หลังจากซ้อมเสร็จ พนักงานดันลืมเปิดวาล์วน้ำให้แอร์ที่จะส่งเข้ามายังห้อง Server ส่งผลให้เครื่อง Sever กว่า 50 เครื่อง อยู่ใน "เตาอบ" ใช่ครับ "เตาอบ" เหตุการณ์เกิดตอนวันศุกร์กว่าจะมีคนมาแก้ปัญหาก็เข้าสู่วันจันทร์แปดโมงเช้า ผมได้รายงานจาก Server ก่อนที่มันจะเดี้ยงผ่านทาง E-Mail มาว่า "ลาก่อน" นั่นหมายถึง "แย่แล้ว" มีใครดูเครื่องที่ NOC หรือยัง? และมันต้องแย่แล้วแน่ๆ วันจันทร์แปดโมงเช้าผมก็ตัดสินใจเด็ดขาดปรึกษากับคุณมะระ (@gumara) เราจะย้ายและหา "บ้านที่เหมาะสมและเราสามารถจัดการสถานการเหล่านี้ได้" โดยไม่ต้องรอใคร เราสามารถจัดการได้เอง ได้คุณมะระช่วยเหลือในเรื่องการทำ DR Site โดยเว็บไซต์ Thai Open Source และผองเพื่อน ไปไว้ที่ Virtual Private Cloud ในต่างประเทศ เพื่อ "หนีน้ำท่วม ไฟไหม้" หลังจากเหตุการครั้งนั้น ก็เจอเหตุการณ์น้ำท่วมตามมา แต่เว็บ Thai Open Source ไม่ได้อยู่ใน NOC ของ SIPA แล้ว ไม่ต้องกังวลว่าน้ำจะไม่ไหล ไฟจะดับ ห้อง NOC ไฟไหม้อีกต่อไป ที่เหลือก็คงต้องหาเงินช่วยคุณมะระจ่ายค่าพื้นที่ต่อไป :P
หากมองกลับกันว่าธุรกิจของคุณเป็นธุรกิจที่มี Critical สูง เกี่ยวกับเงินๆ ทองๆ มีมูลค่าความเสียหายมาก คุณจะป้องกันปัญหาเหล่านี้ได้อย่างไร ซึ่งสิ่งเหล่านี้ต้องคิดกันก่อน คิดให้ตกผลึกและหาวิธีการรองรับ เรื่อง Disaster Recovery อยู่ใน Trends ของ Gartner เมื่อตอน 911 ซึ่งตอนนั้น Trends นี้รุนแรงมากและเป็นกรณีศึกษาที่ดี หลังจากเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมในไทย Disaster Recovery และ Business Continuity ก็คงเป็น Trends ที่สำคัญอย่างหนึ่งที่หลายธุรกิจจะต้องหาวิธีการมารองรับ หากคุณยังไม่มีแผนการเหล่านี้ลองหาที่ปรึกษาเกี่ยวกับ Business Continuity ดูครับ ซึ่งปีนี้น้ำจะท่วม แผ่นดินจะไหว ปลาโค่ยยักษ์จะพลิกตัวอีกหรือเปล่าก็ยังไม่รู้ ;)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น