ก่อนปีใหม่มีเรื่องประทับใจจากไมโครซอฟต์ที่จะขอเข้าตรวจสอบซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ของหน่วยงานราชการหน่วยงานหนึ่งซึ่งเป็นหน่วยงานระดับกระทรวงเลยทีเดียว ทำเอาหน่วยงานภายใต้สัดกัดและหน่วยงานภาครัฐอื่นๆ ร้อนๆ หนาวๆ การขอเข้าตรวจสอบครั้งนี้เป็นไปตามกฏหมายเนื่องจากมีผู้ร้องทุกข์ซึ่งก็คือไมโครซอฟต์นั่นเอง การที่ไม่โครซอฟต์มีหนังสือขาเข้าตรวจสอบละเมิดลิขสิทธิ์ในภาครัฐถือเป็นการก้าวข้ามขีดจำกัด เพราะลูกค้ารายใหญ่จริงๆ คือภาครัฐ ซึ่งภาครัฐเองก็ชอบใช้ซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์โดยอ้างว่า "ไม่มาตรวจภาครัฐหรอก" ครั้งนี้คงหาข้ออ้างไม่ออกแล้ว
สำหรับการตรวจสอบซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ในครั้งนี้ยังไม่มีกำหนดเวลาว่าจะเข้าตรวจช่วงไหนอย่างไร แต่หลายหน่วยงานก็พยายามแก้ปัญหาโดยการทำ Software Asset Management (SAM) เพื่อตรวจสอบว่ามีซอฟต์แวร์ที่มีลิขสิทธิ์ถูกต้องเป็นจำนวนเท่าไร ละเมิดหรือใช้เกินเท่าไร หมดอายุเท่าไร เพื่อหาทางแก้ไข จะตั้งงบจัดซื้อหรือใช้ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สก็ว่ากันไป ครั้งนี้คงไม่ใช่แค่กรณีซอฟต์แวร์ของไมโครซอฟต์เพียงบริษัทเดียวเพราะอโดบีรอจ่อคิวตามมาเร็วๆ นี้
จากปัญหาข้างต้นทำให้คิดถึงเมื่อหลายปีที่แล้วที่มีการเข้าตรวจค้นโรงงานแห่งหนึ่งที่ใช้ซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ซึ่งสร้างความเสียหายกว่า 200 ล้านบาท ครั้งนั้นถือว่ามูลค่ามากแล้ว ถ้าการตรวจสอบหน่วยงานภาครัฐทั้งหมดมูลค่าความเสียหายคงมากมหาศาล และไมโคซอฟต์เองคงได้ลูกค้ารายใหญ่อย่างภาครัฐกลับคืน เพราะภาครัฐคงทำอะไรไม่ได้นอกจากเอาเงินจ่ายเพื่อซื้อซอฟต์แวร์ เพื่อแก้ปัญหาอย่างที่ผ่านๆ มา พอได้ฐานลูกค้าแล้ว ปีต่อๆ ไปก็จะมีบิลจ่ายค่าซอฟต์แวร์ออกมาเรื่อยๆ และอย่างที่ทราบกัน ภาครัฐก็จะเอาเงินโกยไปให้อีกตามเคย "เป็นเรื่องที่น่าสงสาร"
งานเขียนนี้คงไม่ได้มาเยินยอซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส เพราะไม่มีค่าลิขสิทธิ์ ใช้ได้ฟรีไม่ต้องเสียเงิน จากการรณรงค์ให้ใช้ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สเพื่อเป็นทางออกจากการละเมิดลิขสิทธิ์และการแก้ปัญหาในทางอ้อมในลักษณะนี้คิดว่าพอแล้ว "ให้โดนจับกันบ้าง" จะได้เข้าใจว่าทำไมจะต้องรณรงค์เพื่อแก้ปัญหาเหล่านี้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น