วันพฤหัสบดีที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

Unity Desktop ใช้งานบน Fedora ได้แล้ว

ไม่รู้ว่าเอาจริงแล้วจะมีคนใช้มากน้อยแค่ไหน แต่ตอนนี้ Unity Desktop ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของ Ubuntu (และมีทั้งคนรัก-เกลียด) สามารถใช้งานบนดิสโทรอื่นๆ อย่าง Fedora ได้แล้ว



งานนี้เป็นผลงานของทีม GNOME Ayatana ที่สนับสนุนโดยนักพัฒนาของ openSUSE และมีเป้าหมายเพื่อพอร์ตโค้ดโครงการ Ayatana (ชื่อโครงการ UI ของ Ubuntu) มายัง GNOME โครงการนี้ไม่ได้ดำเนินการจริงจังนัก และไม่ได้นำไปใช้ใน openSUSE ยังมีสถานะเป็นงานอดิเรกของนักพัฒนาเท่านั้น



ตอนนี้กระบวนการพอร์ตยังไม่สมบูรณ์ แต่ถ้าอยากลองบน Fedora 17 ก็อ่านรายละเอียดกันเองตามลิงก์ครับ



งานนี้จะเกิดขึ้นไม่ได้ถ้าหากโค้ดของ Unity ไม่ได้เป็นโอเพนซอร์ส



ที่มา: Blognone


วันอังคารที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

Clone VirtualMachine บน VirtualBox

เพิ่งรู้ว่า VirtualBox 4.1 สามารถ Clone Virtual Machine ได้แล้ว (ผมตกข่าว) ก็เลยได้โอกาสมาทดลองกับเครื่องตัวเอกสักหน่อย วิธีการก็ง่ายมากครับ อันดับแรกเราต้องมี VM ที่ยังไม่สั่ง Start หรือเป็น Snapshot ก็ได้ ขั้นตอนถัดมาก็สั่ง Clone ครับ :) การ Clone ผ่าน GUI ก็คลิกขวาที่ชื่อ Virtual Machine แล้วเลือก Clone





ง่ายมั๊ยครับ สำหรับคำสั่ง Clone ผ่าน command line สามารถทำได้ดังนี้



VBoxManage clonevm server1 --mode all --name server2 --register



ขอให้มีความสุขกับ VirtualBox ครับ เพราะ VirtualBox makes me happy!


วันอาทิตย์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

Scrum เร็วส์

พอดีว่ามีโอกาสได้ไปเรียน Scrum กับ Roofimon มา (อย่างไม่ได้ตั้งใจ) ก็เลยอยากจะเอาข้อมูลเกี่ยวกับ Scrum มาเล่าให้ฟังครับ



Scrum ออกเสียงตรงไปตรงมาว่า สกรัม แปลเป็นไทยง่ายๆ ก็คือการรุมสกรัม ซึ่งความหมายจริงๆ ก็คือแบบนั้น มันเป็นรูปแบบกระบวนการทำงานอย่างหนึ่งที่เริ่มมาจากการเป็นกระบวนการทำงานด้านงานพัฒนาซอฟต์แวร์ (Software development metedology) แต่จริงๆ ก็นำไปปรับใช้กับอย่างอื่นได้ครับ ไม่มีปัญหา



แนวคิดของ Scrum หลักๆ เลยคือ ทำงานเป็นทีม อะไรเสร็จเร็ว เอาขึ้นมาทำก่อน อะไรที่ลูกค้าต้องการ หยิบขึ้นมาทำก่อน เท่านี้เลยครับ โดยวิธีทำงานแบบ Scrum อธิบายง่ายได้ตามนี้ครับ



แบ่งคน



การทำงานแบบ Scrum จะแบ่งคนเป็น 3 กลุ่ม คือ




  1. Product Owner ซึ่งก็คือนายจ้าง หรือคนที่ได้รับมอบหมายมาจากนายจ้าง เป็นคนที่สามารถบอกได้ หรือฟันธงได้ ว่างานที่จ้างนี้ สุดท้ายแล้วจะเป็นอย่างไร ถ้าต้องแก้ไข จะอนุญาตไหม คือต้องมีสิทธิ์ขาดครับ

  2. Scrum Master คอยดูแลให้งานเป็นไปตามกรอบของระยะเวลา

  3. Scrum team ทีมงานที่คอยทำงานในโปรเจคนี้นั่นเองครับ โดยในทีมทุกคนจะมีศักดิ์และสิทธิ์เท่ากันหมด



วิเคราะห์งาน



ขั้นแรก เจ้าของงานจะเขียน User story มาให้เราก่อน ซึ่งมันจะคล้าย Requirment ครับ แต่จริงๆ แล้วต่างกันมากเลยล่ะ ตัวอย่างของ User story ง่ายๆ เช่น




  1. กรณีที่เป็นผู้ดูแลระบบ เมื่อ Login แล้ว ต้องเห็นรายงานประจำวันของเมื่อวานนี้

  2. กรณีที่เป็นเซลล์ เมื่อล๊อกอินแล้ว ต้องเห็นรายชื่อลูกค้าที่ค้างจ่ายค่าสินค้า



เป็นตัวอย่างง่ายๆ ของ User story ครับ โดยเมื่อรวม User story ทั้งหมดมันจะเป็น Requirement ครับ แต่จริงๆ แล้วมันใช้แทนกันไม่ได้นะครับ ถ้าได้ทำ Scrum แล้วจะพอเข้าใจ



เมื่อได้ User story มาแล้ว ทีมจะเอาแต่ละ Story นั้น มาช่วยกันวิเคราะห์ ว่า Story ไหนทำง่าย หรือทำยาก ซึ่งขั้นตอนนี้ทีมจะต้องคิดว่า แต่ละ Story นั้นเป็นการทำขึ้นมาตั้งแต่ต้น (ห้ามคิดว่า ถ้าได้ Story A ก็จะได้ Story B ด้วย) โดยจะให้เป็นแต้มไว้ โดยแต้มนี้จะแปรผันตามปัจจัยดังนี้ คือ ความยาก ระยะเวลา และมันจะพอบอกถึงงบประมาณได้ด้วย



เมื่อได้แต้มโดยอ้างอิง User story แล้ว Product Owner จะเป็นคนเลือก ว่าจะให้ทำ Story ไหนก่อน ตามที่ Owner อยากเห็น ซึ่งสุดท้ายแล้ว Scrum team อาจไม่ได้ทำทุก Story ครับ เป็นที่มาว่า ห้ามเขียนเป็น Requirement และ ห้ามคิดว่าได้ Story A ก็จะได้ Story B ด้วย เพราะ Owner อาจจ้างให้เราทำแค่ A ก็ได้



เมื่อ Owner เลือกแล้วว่างานในเฟสแรกอยากเห็นอะไรก่อน Scrum team ก็ต้องมาแตก Task-lisk ใน Story นั้นๆ ว่าจะต้องทำอะไรบ้าง เพื่อปิด Story ให้ลง



รุมสกรัม



มาถึงขั้นตอนของการทำงาน เมื่อได้ Story ที่แตก Task ออกมาแล้ว แต่ละคนในทีมก็จะมีหน้าที่เลือก ว่าจะเอา Story ไหนไปทำ โดยการทำงานแบบ Scrum เราจะต้องทำให้เสร็จ และทดสอบการทำงานให้เรียบร้อย คือ ถ้าบอกว่า Story นี้เสร็จแล้ว มันจะต้องเสร็จ และจะไม่ต้องกลับมายุ่งกับมันอีก โดยคนในทีมก็มารุมสกรัมกัน โดยหยิบ Story ไปทำกันเรื่อยๆ จนครบ



เมื่อถึงเวลาส่งงาน Owner จะเป็นคนบอกว่า โอเคไหม แล้วต่อไปจะทำอะไร



นี่ก็เป็นการทำงานแบบ Scrum อย่างคร่าวๆ ครับ ถ้าจะทำจริงๆ ยังมีรายละเอียดปลีกย่อยอีก ซึ่งสนุกมาก และจะทำให้ทำงานได้เร็วครับ



สนใจข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการทำงานแบบ Scrum ก็สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.scrumalliance.org/


วันพฤหัสบดีที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

เก็บตกเรียน Enterprise Linux ในโครงการ OSS Fast Track Programme

แอบเข้าไปนั่งเป็นเด็กหลังห้องในวิชา Enterprise Linux ในโครงการ OSS Fast Track Programme ที่เพิ่งจบวิชานี้ไปเมื่ออาทิตย์ที่แล้ว หลังจากไปนั่งเรียนทำให้ได้ความรู้สึกสมัยหัดเล่น Linux ใหม่ๆ กลับมา แถมได้ความรู้ใหม่ๆ ที่เพิ่งได้เรียนรู้กับอาจารย์กลับมาอีกเพียบเลย เรียกได้ว่าคุ้มค่ามากๆ สำหรับคอร์สนี้เราได้เรียนรู้วิธีการติดตั้ง Linux อย่าง CentOS การคอนฟิกเซิร์ฟเวอร์เบื้องต้นในสไตล์ CentOS เทคนิคต่างๆ ที่อาจารย์ถ่ายทอดมาให้ถือว่าเจ๋งมากๆ บางเรื่องสำหรับผมก็ลืมไปแล้วครั้งนี้ได้กลับมารื้อฟื้นความจำใหม่ ก็รู้สึกสนุกกับคอร์สนี้มากครับ คิดว่าหลายท่านที่ได้เข้าเรียนในคอร์สนี้ได้ความรู้กันไปเยอะมากเรียกได้ว่าสุดคุ้มเลยล่ะครับ



สำหรับอาทิตย์นี้เป็นคอร์ส Collaborative Development Environment with Agile Software Development Process ท่านที่เข้าในคอร์สนี้โดนล้างสมองไปเรียบร้อยแล้ว และอาทิตย์นี้จะได้ Scrum กันอย่างสนุกสนาน หากอยากรู้ว่า Scrum เป็นอย่างไร เหมือน Scrum ในรักบี้มั๊ย แล้ว Scrum เกี่ยวกับ Agile อย่างไร แก้ปัญหาเรื่องการบริการจัดการโครงการซอฟต์แวร์ได้อย่างไร ไม่จำเป็นต้องมี Project Manager อีกแล้วจริงมั๊ย **สำหรับท่านที่พลาดคอร์สนี้ ยังมีโอกาสอีกรอบ ในเดือนกันยายน สมัครได้ที่ http://www.sipa.or.th/ossfasttrack **


มาเรียนเขียนโปรแกรม Android ผ่าน Youtube กัน

ครั้งที่แล้วเคยเขียนว่าจะเริ่มต้นเขียน Android App ยังไง มีเว็บไซต์ให้ไปดูอยู่ 3 เว็บ แต่ก็มีหลายท่านอยากได้วิดีโอแบบนั่งเรียนไปด้วยทำตามไปด้วย เลยนึกขึ้นได้ว่ามีวิดีโออยู่ 2 ชุด ที่สามารถเรียนได้ที่บ้านง่ายๆ ผ่าน Youtube ได้เลย วิดีโอจะมีทั้งหมด 50 ตอน ดูข้างล่างเลยครับ :)






วันอังคารที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

อบรมฟรี! 15 หลักสูตรซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส เพื่อการต่อยอดธุรกิจ

พลาดไม่ได้กับ 15 หลักสูตรซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส เพื่อการต่อยอดธุรกิจ ในโครงการ Open Source Fast Track Programme จัดโดย ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมกับ สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) เพิ่มศักยภาพนักพัฒนาซอฟต์แวร์ไทย เพิ่มศักยภาพในการแข่งขันในตลาดอาเซียนและตลาดโลก



15 หลักสูตรที่พลาดไม่ได้ มีดังนี้




  1. Enterprise Linux System Administration

  2. การออกแบบรายงานและการสร้างรายงานด้วย iReport และ JasperServer

  3. Collaborative Development Environment with Agile Software Development Process

  4. Data Integration And Data Warehouse with JasperETL and Mondrian

  5. Developing Enterprise Applications with Groovy on Grails

  6. การบริหารจัดการเอกสารในองค์กรด้วย Alfresco

  7. Ruby on Rails

  8. Alfresco Development using Alfresco API

  9. PHP Framework – CakePHP

  10. Developing and deploying an application on Google App Engine

  11. Javascript และ ExtJS Framework

  12. Zimbra Collaboration Suite Administration

  13. การจัดการฐานข้อมูลด้วย Postgres

  14. MongoDB for Developers and Administrators

  15. Titanium Mobile Development



คุณสมบัติของผู้สมัคร




  1. ผู้สมัครจะต้องสมัครในนามของนิติบุคคล ผู้ประกอบการด้านซอฟต์แวร์จะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ

  2. แต่ละหน่วยงานสามารถเลือกลงทะเบียนได้ไม่เกิน 2 หลักสูตร แต่สามารถระบุหลักสูตรอื่นที่สนใจได้

  3. ผู้ผ่านการคัดเลือกจะต้องวางเงินมัดจำจำนวน 1,000 บาท/บริษัท/หลักสูตร และจะได้คืนเมื่อสิ้นสุดโครงการ

  4. ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าร่วมบนเว็บไซต์โครงการ



รายละเอียดเพิ่มเติมและสมัครเข้าร่วมโครงการ ที่ http://www.sipa.or.th/ossfasttrack


วันเสาร์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

เก็บตกประชุมระดมสมองเชิงปฏิบัติการพัฒนาภาษาไทยในซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส

ทีม NECTEC จัดกิจกรรม ประชุมระดมสมองเชิงปฏิบัติการพัฒนาภาษาไทยในซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส เมื่อวันที่ 6-7 กรกฎาคม ที่ผ่านมา โดยมีหัวข้อเรื่อง 3 หัวข้อด้วยกันคือ




  1. งานพัฒนาฟอนต์

  2. แก้บัก OpenOffice.org

  3. แก้บัก Firefox



สำหรับงานทำฟอนต์ภาษาไทยได้ผู้ทรงคุณวุฒิหลายหลายเช่น คุณศุภกิจ เฉลิมลาภ (ผู้พัฒนาฟอนต์ TH Sarabun PSK, TH Sarabun New) , อาจารย์ประชิต ทินบุตร, อาจารย์จาก ม.เชียงใหม่ ผู้ทำฟอนต์ตั๋วเมืองแบบ OpenType และอื่นๆ อีกหลายท่าน งานฟอนต์ได้ผลลัพท์ที่น่าพอใจโดยผู้เข้าร่วมที่เป็นมือใหม่เข้าใจวิธีการทำฟอนต์ที่เป็นระบบมากขึ้น สามารถใช้เครื่องมือในการทำฟอนต์ได้คล่องขึ้น



และที่สำคัญการประชุมครั้งนี้ได้ฟอนต์ Ubuntu ในส่วน glyph ภาษาไทย ซึ่งออกแบบกันสดๆ ร้อนๆ โดยคุณศุภกิจ และเป็นหัวข้อในการฝึกทำฟอนต์ในครั้งนี้ด้วย สำหรับฟอนต์ Ubuntu ในส่วน glyph ภาษาไทย ที่ได้ ขณะนี้มีเพียงส่วน Regular สำหรับส่วน Bold, Italic และ Bold Italic ต้องการการพัฒนาต่อ ซึ่งคุณศุภกิจได้ contribute ให้กับชุมชน สำหรับท่านที่ต้องการช่วยพัฒนาต่อ สามารถดูได้ที่หน้าเว็บโครงการที่ github ครับ


วันจันทร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

อบรมการใช้ซอฟต์แวร์การบริหารบุคลากร OrangeHRM

กล่าว เข้าร่วมอบรมเพื่อความเข้าใจในการใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมุ่งเน้นให้สามารถใช้งานได้จริง ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย โดจจะอบรมในหัวข้อ การใช้งานระบบ OrangeHRM Open Source 2.7 version ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย เดือนที่อบรม : กรกฎาคม, สิงหาคม, กันยายน, ตุลาคม, พฤศจิกายน, ธันวาคม 2555 อบรมทุกวันพุธที่ 3 ของเดือน เวลา 9.00 – 17.00 น. ณ อาคารสินสาธร ถนนกรุงธนบุรี คลองสาน (รถไฟฟ้าสถานีกรุงธนบุรี) จำนวนผู้อบรมในแต่ละครั้ง ขั้นต่ำ 10 ท่าน รายละเอียดเพิ่มเติม http://tinyurl.com/ca7czt6