วันพฤหัสบดีที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2555

Linus Torvalds ได้รับรางวัลมิลเลนเนียมเทคโนโลยี



สถาบันเทคโนโลยีฟินเเลนด์ ได้ประกาศ 2 รางวัล มิลเลนเนียมเทคโนโลยี ปี 2012 แก่ Linus Torvalds ซึ่งได้รับรางวัล Linux Kernel และการสร้างระบบ opensource สำหรับคอมพิวเตอร์ใหม่ เขาได้เข้าร่วมโดย ดร. . Shinya Yamanaka ประเทศญุี่ปุ่น ผู้เป็นที่รู้จักในเรื่องของพลูริโพเทนท์สเต็มเซลล์ รางวัลแกรนด์จะคัดเลือกจากผู้มีสิทธิ์ในการรับรางวัลและจะได้รับเมื่อ 13 มิถุนายน 2012



ผู้ชนะทั้งหมดจะได้รับรางวัลเป็นเงินมากกว่า 1 ล้าน ยูโร ซึ่งเงินล้านวัลจะถูกแบ่งอยู่ในรางวัลต่าง ๆ ที่รู้จักกันก่อนหน้านี้ เช่น มิลเลนเนียมเทคโนโลยีและเทคโนโลยีรางวัลฟินแลนด์



สถาบันฟินแลนด์เป็นกองทุนอิสระในการส่งเสริมประเทศฟินแลนด์ให้มีเทคโนโลยีที่สูงขึ้นและก่อตั้งโดยความร่วมมือระหว่างอุตสากรรมฟินแลนด์และรัฐฟินเเลนด์ ผู้ชนะใน grand prize ก่อนหน้านี้ประกอบไปด้วย Tim Berners-Lee ประดิษฐ์ World Wide Web Shuji Nakamura ประดิษฐ์ blue and white LEDs ศาสตราจารย์ Robert Langer controlled drugและ Michael Grätzel สร้างเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดสีย้อมไวแสง (dye-sensitised solar cells)


การพัฒนาแอพลิเคชั่นมือถือบน AWS cloud

การพัฒนาแอพลิเคชั่นมือถือบน AWS cloud



การพัฒนาแอพพลิเคชั่นบนมือถือให้ใช้ใน AWS cloud ก่อนที่เราจะพัฒนาเราควรจะดูเรื่องข้อมูลพื้นฐานก่อน คือ การเติบโตของมือถือคอมพิวเตอร์ (moblie computing) ในแต่ละประเทศ การใช้งานอินเตอร์เน็ต การใช้งาน 3g การนำเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และโทรศัพท์ไร้สายมาเชื่อมโยงกัน ทำให้สามารถใช้โทรศัพท์ไร้สายติดต่อทำงานร่วมกับระบบคอมพิวเตอร์ได้ การใช้มือถือมีการเจริญเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ ดูเรื่องของเวลาในการดาว์โหลด



มี 3 อย่างที่ท้าทาย
1. ความซับซ้อนของเว็บ การโหลดหน้าเว็ปที่นาน
2. ราคาของโทรศัพท์
3. ข้อจำกัดของโทรศัพท์ ปัญหาเรื่องของความจุ แบตเตอร์รี่



ตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จ



discovr app



1คุณทำมันจากที่ไหนก็ได้
2. พร้อมที่จะปรับขนาด Scaling
3. เริ่มต้นประหยัดด้วย Cloud



L&T Infotech####



สร้างแอพชื่อว่า smart miles มีการเข้าใช้งานได้หลายประเภท ได้แก่ smart phone เทเลป เลปท๊อป
-เวลาในการเข้าถึงข้อมูลที่แท้จริง
- ทำงานร่วมกับ SAP,Peoplesoft,JDE,Oracle,SQL server
-ระบบอิสระ (GSM,CDMA,WIFI)
-การเข้ารหัสข้อมูล รักษาความลับ
-ใช้ Amazon ElasticCache
-Integrated devic mangment & remote data wipe
-ฟังก์ชั่น SMS/WAP ทำงานกับ AWS 100 %



สิ่งที่ได้รับจากการเรียนรู้
-สามารถชนะอุปสรรคได้



v-serv



Mobile advertising marketplace
ต้องการ
1. ความยืดหยุ่นและวิธีที่หลากหลาย
2. การเริ่มต้นหลีกเลี่ยงการลงทุน
3. ลูกค้าทั่วโลก
ดังนั้นจึงมีการปรับใช้ AWS บริษัท เพราะ ตอบสนองได้ดังนี้
-AWS ยืดหยุ่นและปรับขนาดได้
-ไม่ต้องการเงินลงทุน
- ทำงานได้ทั่วโลกโดย AWS



ข้อดีคือ
- เข้าสู่ตลาดได้รวดเร็ว
-คุ้มค่ากับราคา



สิ่งที่ได้รับจากการเรียนรู้
- เวลาเข้าสู่ตลาดมีประสิทธิภาพ
-เรียนรู้วิธีการประหยัดเงิน เนื่องจากทำงานบน AWS



Praeket



ปัญหาการรักษาผู้ป่วยเรือรัง
- หลายคลีนิคพลาดการนัดจากลูกค้า
-การรักษาไม่ต่อเนื่อง
-ART เป็นปัญหา
-คนไข้และคลิกนิคไม่คุยกัน
-ภาระการบริหารคลีนิค
-ไม่มีการบันทึกการนัดหมายที่ผ่านมา ไม่มีประวัติยา



วิธีการแก้ปัญหา โดย Txt alert



การทำงานของ Txt alert


คนไข้นักหมายคลีนิคและจะได้รับข้อความว่าจะแจ้งเตือนการนัดหมายเมื่อใกล้เวลานัดหมาย อีก 2 อาทิตย์ต่อมาเมื่อใกล้เวลานัดหมาย ก็ส่งข้อความให้กับคนไข้ว่าวันที่เท่าไร และถ้าอยากจะเปลี่ยนการนัดหมายได้ฟรีโดยการมีข้อความ ให้โทรหาคลีนิค เพื่อยกเลิกการนัดหมาย ก่อนวันนัดหมาย 1 วันจะส่งเมจเสจมาเตือนว่าเจอกันพรุ่งนี้ที่คลีนิค



ผลของการแก้ปัญหา
-จำนวนพลาดการนัดหมายลดลง จาก 30% เป็น 4%
-คนไข้และคลีนิคคุยกับผ่านทาง SMS : “โปรดโทรหาฉัน”
-มีการบริหารงานที่ดีเป็นระบบมากขึ้น
สิ่งที่ได้รับจากการเรียนรู้
-SMS มีประโยชน์ถ้ารู้จักใช้มัน



สรุปจาก
http://www.youtube.com/watch?v=lOzXSStIPIU&feature=youtu.be


แนะนำ โปรแกรม Nuvola Player

โปรแกรม Nuvola player เป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับเล่นเพลงเปรียบเสมือนเครื่องเล่นเพลงที่ออกแบบมาโดยเฉพราะสำหรับการฟังเพลงที่ใช้เฉพาะกลุ่ม Nuvola player เป็นโปรแกรมที่แตกต่างจากโปรแกรมเครื่องเล่นเพลงปกติเพราะแทนที่ผู้ใช้จะเล่นเพลงโดยตรงจากเครื่องเล่นเพลงปกติของคุณแต่โปรแกรม nuvola player สามารถเล่นเพลงบนหน้าเว็บที่ใช้ได้เลย โดยเราสามารถฟังเพลงได้จากหน้าต่างเว็บของตัวเองได้เลยไม่ต้องเอาเพลงไปใส่ในเครื่องเล่นเพลงปกติและมีการทำงานร่วมกันกับ Desktop Linux เพื่อให้คุณสามารถฟังเพลงได้อย่างโดยตรงบนหน้า เดสก์ทอปของคุณได้เลยโดยที่ไม่ต้องเข้าไปในเว็บไซต์บนเบราว์เซอร์ของคุณทำให้ง่ายต่อการฟังเพลงเป็นอย่างมาก ด้วยการทำงานของ Nuvola player เมื่อผู้เล่นท่านใดเผลอไปกดปุ่มปิดหน้าเว็บเบราว์เซอร์ที่มีการเล่นเพลงของคุรอยู่หรือหน้าต่างที่มีเพลงของคุณอยู่เมือคุณมีโปรแกรมNuvola player คุณก็สามรถเข้าไปที่หน้าเว็บเบบราว์เซอร์เดิมที่ปิดไปแล้วของคุรได้อย่างง่ายดาย







การแจ้งเตือน โปรแกรมNuvola player ทำให้ผู้เล่นสามารถเห็นถึงการแจ้งเตือนในขณะที่กำลังเล่นเพลง(Ubuntu, GNOME Fallback mode, GNOME Shell) โปรแกรม Nuvola Player จะทำให้ผู้เล่นสามารถเพิ่มเมนูรายการพิเศษเพื่อเอามาควบคุมการเล่น เช่น (play/pause, previous/next song) มีคุณสมบัตืพิเศษในการเขียนสคริปต์ของผู้ใช้(เช่น last.fm scrobbling สำหรับเพลง Google, ฯลฯ )









เมือเร็วๆนี้ Nuvola Player ได้รับการสนับสนุนจาก Google Play,Grooveshark,Hype Machine 8trackและอื่นๆอีกมากมายจึงทำให้ Nuvola Player 1.0 ถูกปล่อยตัวออกมาวึ้งเป็นรุ่นที่ได้รับความเสถียรเพิ่มมากขึ้น



การเปลี่ยนแปลงในNuvola Player 1.0
จะมีแถบเมนูใหม่และแถบเครื่องมือเพื่อที่จะสามารถแสดงให้เห็นเพียงหนึ่งเดียวและมีการสนับสนุนSOCKS proxy servers มีตัวเลือกการกำหนดค่าต่างๆที่เราต้องการมีการปิดการแจ้งเตือน การแสดงผลของไอคอนของการกดปุ่มปิดเพื่อที่จะทำให้ง่ายสำหรับผู้ที่ใช้สคริป
การติดตั้งNuvola Player ให้เสถียรใน Ubuntu ถ้าเราได้เพิ่ม Nuvola Beta หรือPPA และเราต้องการติดตั้ง Nuvola 1.0 ให้เกิดความมั่นคงควรปิดการใช้งานและลบ Nuvola จากนั้นให้ใช้คำสั่งด้านล่าง (หรือการใช้ Purge PPA)แทน



โปรแกรม nuvolaมาพร้อมกลับตัวบ่งชี้ หรือ ไอคอนถาดระบบที่มีความสามรถในการควบคุมเพลงของคุณ คุณสามารถหยยุดการเล่นเพลงปัจจุบันชั่วคราวได้และสามรถไปเพลงถัดไปก่อนหน้าในรายการเพลงและแม้แต่มี UpThumb ลงปุ่ม





โดยร่วมแล้วโปรแกรมNuvola playerจะทำให้คุณสามารถที่จะเชื่อมโยงกับเบราว์เซอร์ได้และมีอะไรใหม่ๆที่คุณไม่สามรถทำใเบราว์เซอร์ปกติของที่คุณมี โปรแกรม Nuvola player จะเพิ่มความสพดวกสบายในเรื่องของการบริการด้านเสียงเพลงเพียงแค่ปลายนิ้วของคุณและความสามรถในการทำงานของ App ต่างในตัวโปรแกรมืทำให้เพิ่มความรวดเร็วและสพดวกสบายเพิ่มมากขึ้น


วันพุธที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2555

การย้ายไปใช้ cloud

1.รายละเอียด



Cloud computing จะเป็นเเทคโนโลยีที่สำคัญในการใช้งานด้านไอที ก่อนการตัดสินใจว่า จะย้ายไป cloud, จำเป็นที่ต้องเข้าใจศักยภาพและความสี่ยงของ cloud computing ความต้องการใช้ขององค์กร



3 ขั้นตอน สำหรับการประเมิน cloud computing




  1. การจัดประเภทข้อมูล : เข้าใจการทำงานและมูลค่าของการใช้งานขององค์กร ข้อมูลและความเสี่ยงขององค์กร หากสูญหาย

  2. กำหนดความต้องการและความเสี่ยง : กำหนดความต้องการขององค์กร และกำหนดว่าหากผู้ให้บริการ cloud ที่มีอยู่นั้นสามารถให้ความต้องการที่รักษาความเสี่ยงในระดับที่องค์กร์ยอมรับได้

  3. การคำนวนอัตราผลตอบแทนจากการลงทุน (ROI) ความต้องการการใช้งานขององค์กร, สินทรัพย์ และ ความต้องการ การประเมินราคาของการย้ายไปสู่ cloud และเปรียบเทียบกับราคาของเดิมที่องค์กรใช้งานอยู่



ก่อนการอธิบายกระบวนการ มี 2 หัวข้อที่สำคัญที่ครอบคลุม : มูลค่าของ cloud computing และ การพิจารณาที่ไม่ใช้ด้านเทคนิค



1.1 มูลค่าของ cloud computing



ก่อนการพิจารณาการย้ายไป cloud มันเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องมองที่ มูลค่าพื้นฐานของ cloud computing. NIST หน่วยงานกระทรวงพาณิชย์ของ USA ให้ความหมายของ cloud computing 5 ลักษณะสำคัญ




  • ยืดหยุ่น รวดเร็ว : ยืดหยุ่น หมายถึง ความสามารถที่ปรับขนาดของข้อมูลเพิ่มและลด

  • วัดการบริการ : การบริการ cloud ถูกควบคุม และ ตรวจสอบโดยผู้ให้บริการ และ การจ่ายเงินผู้ให้บริการ ลูกค้าจะจ่ายแค่ที่ลูกค้าใช้งาน

  • ความต้องการบริการตัวเอง : สามารถกำหนดความต้องการเองได้

  • การเข้าถึงเครือข่ายได้ทุกที่ : ผู้ใช้บริการต้องสามารถเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้ตลอดเวลาถ้าไม่มีการเชื่อต่อไม่สามารถใช้งานได้

  • ทรัพยากรร่วมกัน : ทรัพยากรร่วมกัน อนุญาตให้ผู้ให้บริการ cloud แบ่งปันแหล่งข้อมูลที่สำคัญตามความต้องการของลูกค้า



ลักษณะข้างต้นมีข้อดี 2 ข้อ




  1. ราคาถูก: ความสามารถเพิ่มเครื่องเสมือนการเก็บรักษาข้อมูล ได้ลดค่าใช่จ่ายในเรื่องการซื้อ Hardware และsoftware ลดค่าใช้จ่ายสำหรับการรักษาเครื่องจักรและการระบายความร้อน และลดค่าจ้างพนักงาน ไม่ต้องมีค่าอัพเกรดเครื่องและค่าเช่าคู่สาย

  2. องค์กรตอบสนองมากขึ้น : ในหลายองค์กร มีความต้องการเครื่องใหม่ , ข้อมูลหรือแหล่งข้อมูล ซึ่งจะใช้เวลาเป็นวัน สัปดาห์หรือกระทั่งเป็นเดือน ด้วยCloud computing แหล่งข้อมูลเหล่านั้นสามารถได้รับตามที่ต้องการ



1.2 การไม่ใช้เทคนิค



กฏข้อบังคับ
การไม่ใช้เทคนิคมีประเด็นในเรื่องกฏระเบียบของรัฐบาลและอุตสาหกรรม ในส่วนรัฐบาล จะมีกฏหมาย อย่างเช่น หลายประเทศมีกฏหมายข้อมูลส่วนบุคคลที่เคร่งครัดที่ห้ามนำข้อมูลออกนอกประเทศ องค์กรจากประเทศดังกล่าวต้องพิสูจณ์ได้ว่าผู้ให้บริการ cloud ทำตามกฏเหล่านั้น กฏหมายใหม่อาจจะจำเป็นต้องใช้จ่ายทรัพยากรที่มีอยู่เปลี่ยนโครงสร้างพื้นฐานของโปรแกรมแทนการเพิ่มคุณสมบัติ การเปลี่ยนกฏหมายใหม่จะมีมาเรื่อย ๆ ดังนั้นควร ติดตามและปรับตัวตามกฏหมายใหม่



2. การจัดหมวดหมู่ข้อมูล



ข้อมูลขององค์กรมักมีค่ามากกว่าสินทรัพย์ประเภทอื่นในองค์กร ข้อมูลขององค์กรประกอบด้วยสินทรัพย์ทางปัญญา,ความลับการค้า,การวิจัย,ข้อมูลการเงิน และข้อมูลบุคคล และอื่น ๆ บางส่วนของข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญต่อความสำเร็จขององค์กร ข้อมูลอื่น ๆ อาจจะเป็นเรื่องของลิขสิทธ์ ความเป็นส่วนตัว
เมื่อตัดสินใจว่าจะย้ายข้อมูลต่าง ขององค์กรไปยัง cloud จะมีความเสี่ยงกระบวนการจัดหมวดหมู่ทรัพยากร



มี 3 ส่วนของกระบวนการ




  1. การแยกแยะ : องค์กรต้องแยกข้อมูล แหล่งที่อยู่ของข้อมูลปัจจุบัน และนโยบาย ข้อบังคับ สำหรับการจัดเก็บ การเข้าถึงข้อมูล และการลบข้อมูล

  2. การจัดหมวดหมู่ องค์กรต้องจัดข้อมูลตามความคุ้มค่าและความสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นหากข้อมูลที่ได้สูญหายหรือการเข้าถึงข้อมูลไม่ได้อย่างเหมาะสม

  3. การป้องกัน องค์กรต้องสร้างระบบห่วงโซ่ป้องกันในแต่ละชั้นของข้อมูล



ห่วงโซ่การรักษาความปลอดภัยต้องปัองกันข้อมูลขององค์กรทุกระดับ รวมถึง การป้องกันทางกายภาพ, การป้องกันด้านความปลอดภัย และขั้นตอนกระบวนการกฏหมาย การรักษาความปลอดภัยทางกายภาพรวมถึงมาตรการ เช่น การป้องกันการเข้าถึงข้อมูลส่วนกลางป้องกันการทำลายเอกสารที่เป็นกระดาษและการทำลายเทปและอาร์ไดรฟ์ การป้องการด้านเทคนิครวมถึงทุกสิ่งที่เป็นพื้นฐานของ firewalls และการเข้าถึงระบบเทคนิคขั้นสูง เช่นการเปิด USB ports กระบวนการจัดการข้อมูลต้องได้รับการกำหนดอย่างชัดเจนและอธิบายให้กับพนักงานทั้งหมด ในบางกรณี กระบวนการอาจจะรวมถึงกฏหมาย เช่น กฏหมายที่ครอบคลุมการจัดเก็บรักษาหรือทำลายข้อมูล



3. การกำหนดความต้องการและความสี่ยง



3.1 การรักษาความปลอดภัย



การใช้งาน cloud มีระบบป้องกันความปลอดภัยในเรื่องของการควบคุมการเข้าถึงข้อมูล โครงสร้างพื้นฐาน หรือแอฟพลิเคชั่นอยู่ภายใต้การควบคุมโดยตรงของผู้ให้บริการ cloud
ความพอเพียงของระบบรักษาความปลอดภัย จำนวนของการรักษาความปลอดภัยเป็นสิ่งที่จำเป็น ส่วนที่พบมากที่สุดของการควบคุมความปลอดภัย คือ การรักษาข้อมูล ตัวเก็บข้อมูล ระบบเน็ตเวิกค์ การทำVirtualization โดยลูกค้ามีสิทธิ์เต็มที่ในลักษณะของผู้ดูแลระบบเพื่อการกำหนดความปลอดภัยให้กับเครื่อง หรือ Virtual Machine ของตน, การใช้ระบบแจ้งเตือนเมื่อมีผู้ดูแลระบบพยายามดูข้อมูลของลูกค้า และการ Monitoring ทั้งห้อง data center จนถึงขั้น capture หน้าจอ admin



3.2 ความเป็นส่วนตัว



ความเป็นส่วนตัวคำนึงถึงการใช้งานในข้อมูลที่สำคัญ หลายข้อมูลเป็น เรื่องกฏหมายความเป็นส่วนตัว การคุ้มครองลิขสิทธิ์และข้อจำกัดการส่งออก ผู้ให้บริการ cloud ให้การควบคุมปกป้องข้อมูลที่สำคัญ



3.3 ระบบแบบศูนย์รวมเพื่อลดความซ้ำซ้อนในการเข้าใช้และระบุเอกลักษณ์ความมีตัวตน####



ผ่านทางเครือข่ายขององค์กร และองค์กรย้ายการใช้งานและข้อมูลเข้าสู่ cloud ข้อมูลแต่ละผู้ใช้จะมาจากหลากหลายที แต่ละคนก็จะมีการเข้าถึงข้อมูลของตนเอง ระบบแบบศูนย์รวมเพื่อเป็นการรับรองว่าผู้ใช้ว่าได้รับอนุญาตในการเข้าถึงและข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้บริการจะถูกเก็บไว้เป็นความลับ



3.4 การทำงานร่วมกันและพกพา



การพกพาและการทำงานร่วมกันเป็นสิ่งสำคัญในการให้อิสระในการทำงานร่วมกันกับผู้ให้บริการ cloud ที่หลากหลาย การทำงานร่วมกันจะเกี่ยวข้องกับความสามารถของระบบการสื่อสาร ในโลกของ cloud computing นี้หมายถึงความสามารถในการเขียนโค้ดที่ทำงานร่วมกับผู้ให้บริการcloud มากกว่าหนึ่งพร้อมกัน โดยไม่คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างผู้ให้บริการ ในอีกด้านหนึ่ง
พกพา คือความสามารถในการทำงานส่วนประกอบหรือระบบที่เขียนขึ้น สำหรับอีกสภาพแวดล้อมหนึ่ง องค์กรตัดสินใจว่าจะย้ายไปยัง cloud เป็นสิ่งสำคัญที่จะพิจารณาเรื่องการทำงานร่วมกันและพกพา



3.5 กำหนดในของบริการที่ใช้บริการระดับสัญญา



SLA กำหนดสัญญาระหว่างผู้ให้บริการcloud และผู้ใช้บริการ cloud SLA เป็นรากฐานของความไว้วางใจของผู้ใช้ในผู้ให้บริการ SLA ประกอบด้วย




  • ผู้ให้บริการจะจะจัดส่งมอบด้วยความสมบูรณ์

  • ชุดของตัวชี้วัดเพื่อตรวจสอบว่าผู้ให้บริการจะส่งมอบตามสัญญา

  • ความรับผิดชอบของผู้ให้บริการและผู้บริโภค



ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการให้ประเภทของการบริการ cloud ผู้ให้บริการอาจจำเป็นต้องได้รับรองมาตรฐาน ISO หลายองค์กรจะต้องจำเป็นติดตามและตรวจสอบผู้ให้บริการเพื่อให้มั่นใจว่าพบ ในเรื่องของ SLA สุดท้าย cloud ต้องให้ความโปร่งใส แจ้งผู้ใช้บริการถึงปัญหาที่เกิดขึ้น องค์กรพิจารณาและตกลง SLA ควรรู้วัตถุประสงค์ของบริษัทก่อนทำข้อตกลงในการบริการ



3.6 การมีอยู่



การมีอยู่ คือ ข้อกำหนดที่ชัดเจนสำหรับระบบต่าง ๆ หนึ่งในความเสี่ยงของ cloud computing คือ คนรับผิดชอบในการวินิจฉัยปัญหาและการตอบสนองของระบบกับองค์กร มันสำคัญว่า SLA กำหนดการมีอยู่ของข้อมูล cloud ว่าจะถูกส่งไปที่ไหน เช่น เดียวกับขั้นตอนการกู้คืนในกรณีขัดข้อง ความต่อเนื่องทางธุรกิจและการกู้คืนความเสียหายเป็นส่วนหนึ่งของการมีอยู่ องค์กรควรเข้าใจเทคโนโลยี cloud มีการกู้ข้อมูลที่ล้มเหลวจะทำอย่างไร



3.7 ประสิทธิภาพ



ประสิทธิภาพที่เพียงพอเป็นสิ่งที่ทำให้ประสบความสำเร็จในการย้ายไป cloud ถ้าการย้ายไป cloud ประหยัดเงินในองค์กร ยังมีประสิทธิภาพในการทำงานช้าอยู่ในระดับที่ยอมรับไม่ได้ เป็นการประหยัดที่ไร้ความหมาย เมื่อย้ายไปใช้ cloud เป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องกำหนดการปฏิบัติงาน



3.6 การกำกับดูแล####



ทุกองค์กรมีนโยบายสำหรับการปรับใช้ การจัดการ การจัดเก็บและการลบของข้อมูล เมื่อย้ายไปcloud มันมีความสำคัญว่า cloud สนับสนุน นโยบายดังที่กล่าวไว้ก่อนหน้านี้ไหม ข้อมูลมักจะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับกฏหมายและระเบียบข้อบังคับ cloud เก็บรักษามาตรฐานขององค์กร และผู้ให้บริการต้องตรวจสอบและพิสูจน์มันได้ ความรับผิดชอบของผู้ให้บริการสำหรับการเปิดใช้การกำกับดูแลควรจะเป็นส่วนหนึ่งของ SLA



3.7 การทดสอบ####



cloud ยืดหยุ่น รวดเร็ว cloud ทำได้ค่อนข้างดีในการทดสอบโปรแกรมตอนที่ย้ายไปยัง cloud



หลายกรณีของการประยุกต์ใช้ภายใต้การใช้งานจำนวนมากสามารถทำได้โดยการเริ่มต้นโปรแกรมประยุกต์บนเครื่องสเมือนและเรียกการทดสอบ นี่เป็นสิ่งที่ทำได้ง่ายขึ้นและราคาถูกกว่าการสร้างเครื่องและการปรับใช้แหล่งข้อมูลภายใน เมื่อทดสอบเรียบร้อย ทุกระบบสเมือนจริงจะถูกปิด
โปรเเกรมประยุกต์ที่ใช้บริการโครงสร้างพื้นฐานสามารถทสอบง่ายเช่นกัน ตัวอย่าง ถ้าโปรแกรมประยุกต์ที่ใช้พื้นที่ในการจัดเก็บข้อมูลเปลี่ยนไปใช้cloud การจัดเก็บแทน การทดสอบสามารถตรวจสอบว่าการดำเนินการใด ๆ กับการให้บริการจัดเก็บทำงานอย่างถูกต้อง ผู้ทดสอบควรตระหนักว่าบริการ cloud มักจะดำเนินการช้ามากกว่าการใช้ข้อมูลในเครื่องของเราเอง การเขียนไปยังดิส cloud จะใช้เวลานานกว่าการเขียนไปยังดิสก์ในเครื่อง ผู้วัดควรทราบว่าผุ้บริการ cloud จะมีจำนวนมาก หมายความว่า การเปลี่ยนแปลงใด ๆ ที่เกิดขึ้นกับการบริการ cloud จะถูกจำลองเเบบอื่นผ่านพื้นฐานของ cloud เพราะการทำแบบจำลองจะใช้เวลาจำนวนหนึ่ง การประยุกต์ใช้มีการควบคุมไม่ซ้ำซ้อนเกินเครื่องเข้าถึงได้ การทดสอบควรใช้บัญชีจริงที่สามารถประยุกต์ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลเก่า



4. ผลตอบแทนการลงทุน




  • ประหยัด Hardware เมื่อย้ายไปยัง cloud ควรจะลด Hardware ในบางครั้งจะหมายถึงการเอาเครื่องเดิมออก หรือลดปริมาณการซื้อsofware และ hardware

  • พนักงาน cloud ได้สร้างการจัดเก็บรักษาข้อมูลพื้นฐานของบริษัท จึงมีการลดพนักงานในการดูแล

  • Power & cooling ช่วยลดค่าใช้จ่ายในเปิดเครื่องและระบายความร้อน

  • การเปลี่ยนแปลงการใช้งาน การย้ายไปสู่ cloud อาจจะต้องเปลี่ยนการใช้งาน สำหรับการใช้งานที่เป็นโฮสต์ในเครื่องเสมือนจริงเป็นโฮสต์ใน cloud อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย

  • ประสิทธิภาพขององค์กร ความสามารถจัดหาได้และไม่สามารถจัดหามาได้ของทรัพยากรที่สามารถตอบสนององค์กรอื่น ๆ และยืดหยุ่น องค์กรตอบสนองมากขึ้นมีโอกาสมากขึ้นในการสร้างสรรค์และแตกต่างในตลาด ถอดปลั๊กเครื่อง 20 เครื่อง จะลดค่าใช้จ่ายสำหรับพลังงานและการระบายความร้อน ความยืดหยุ่นจะช่วยให้องค์กรมีศักยภาพที่มีประสิทธิภาพทีดีกว่า

  • การกำกับดูแล การใช้ non-private cloud หมายถึง พนักงานของ cloud จะมีส่วนร่วมในการรักษาความปลอดภัยเครือข่ายที่ใช้เพื่อป้องกันการใช้งานขององค์กรและข้อมูล การตรวจสอบและติดตาม cloud จะมีความยากมากขึ้น องค์กรควรประเมินว่านโยบายที่ได้รับผลกระทบและค่าใช้จ่ายของการเปลี่ยนแปลง ค่าใช้จ่ายอื่นจะพิจารณาเรื่อง cloud อาจจะคิดค่าบริการในการตรวจสอบและติดตาม

  • ความเสี่ยง องค์กรสามารถทำการวิเคราะห์ต้นทุนและความเสี่ยงที่จะย้ายไป cloud



สรุป###



มีประโยชน์มากมายในการย้ายการใช้งานและข้อมูลไปยัง cloud แต่มีความเสี่ยงมากมายเช่นกัน ในเรื่องนี้จะครอบคลุมว่าองค์กรจะได้ประโยชน์ในการย้ายไปยัง cloud มี 3 ขั้นตอน คือ




  1. การจัดแยกข้อมูล

  2. กำหนดความเสี่ยงและความต้องการ

  3. คำนวนอัตราผลตอบแทนของการลงทุน



การเข้าใจการใช้งาน ข้อมูล ความต้องการ และความเสี่ยง องค์กรสามารถตัดสินใจเกี่ยวกับการคุ้มค่าของ cloud


แนะนำ Nitro โปรแกรม Todo list

โปรแกรม Nitro เป็นโปรแกรมที่ใช้บันทึกข้อมูลต่างๆของเราโดยมีการใช้ Eyecandy มาช่ายเพิ่มสีสันในการใช้งานมากยิ่งขึ้นและมาพร้อมกับอินเตอร์เฟซที่ทำให้ง่ายต่อการใช้งานและจัดรายการต่างๆได้อย่างถูกต้องได้อย่างรวดเร็วและสะดวกสบาย



โปรแกรม Nitro จะแบ่งหน้าต่างหลักออกเป็นแถบด้านซ้ายจะเป็นโฟกัส จะปรากฎหัวรายงานเริ่มต้นการทำงานโดยมีหมวดหมู่ Today, Next, Someday ถ้าเราคลิกเข้าไปจะพบงานต่างๆของเราในพื้นที่ด้านขวามือของโปรแกรม การที่เราจะสามารถเพิ่มรายการนอกเหนือจากที่มีมาให้แล้วได้ โดยการกดปุ่มบวกตรง Lists และถ้าเราต้องการตั้งค่าระดับความน่าสนใจของงาน เราสามารถดับเบิลคลิกที่งานโดยใส่สีสันที่แตกต่างกันออกไปตามระดับต่างๆตามความต้องการของเรา





Set due date ใช้ตั้งวันครบกำหนดสำหรับงานของเราและมีการเรียงลำดับงานของเราก่อนหลังตามวันเวลาได้อย่างมหัศจรรย์ของ Nitro และยังสามารถเรียงลำดับงานของคุณได้ตามความสำคัญต่างๆได้อย่างง่ายดายซึ้งดูว่างานต่างๆของคุณงานใดมีความสำคัญที่สุดโดย Nitro ได้มีการจัดเรียงลำดับความสำคัญไว้ให้แล้วอย่างถูกต้อง เป็นการช่วยให้เราสามารถตัดสินใจได้ว่าเราควรเริ่มทำงานสิ่งไหนก่อนดีและรู้ว่างานไหนสำคัญมากที่สุด



คุณสามารถลากและวางหรือเคลื่อนย้ายงานของคุณได้อย่างง่ายดายตามความต้องการของคุณ ใช้ Search ข้อมูลที่ได้ผ่านการบันทึกและค้นหางานของคุณได้อย่างรวดเร็วจากโปรแกรม Nitro พิเศษนี้ และงานที่เสร็จสำบูรณ์ทั้งหมดของคุณสามารถพบได้ใน Log book



โปรแกรม Nitro ใช้บันทึกงานต่างๆของเราได้อย่างง่ายดายโดยมีความคิดของคุณอยู่ร่วมกันในแถบเครื่องมือของ Nitro มีการเพิ่มตัวเลือกที่มีประโยชน์ เช่น Add, Edit, Delete, เมือเรากดไปที่ setting เราสามารถที่จะเลือก Theme ต่างๆตามที่เราต้องการได้เพื่อเพิ่มสีสันให้กับโปรแกรมของเรา





จากที่ได้ทดลองใช้โปรแกรม Nitro แล้วฉันคิดว่าเป็นโปรแกรมที่ช่วยเพิ่มความสะดวกสบายและรวดเร็วให้แก่เราได้มากและยังมีสีสันสวยงามในตัวโปรแกรมจะได้ไม่เกิดความน่าเบื่อและเราสามารถใช้ง่ายได้อย่างง่ายไม่วุ่นวายเป็นโปรแกรมที่ไม่ทำให้งานหรือข้อมูลสำคัญๆของเราหายไปและยังมีการจัดอันดับความสำคัญของงานให้แก่เราทำให้เราไม่ต้องมาเสียเวลามาจัดเรียงงานไหนก่อนงานไหนหลังด้วยตนเองเพราะโปรแกรม Nitro ได้จัดการไว้ให้หมดเรียบร้อย เพื่อนลองไปหามาเล่นดูน่ะค่ะน่าสนใจเหมือนกัน


วันอังคารที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2555

คุณรู้ไหมสร้าง Linux อย่างไร?

พอดีทาง Linux Foundation ได้อัพโหลด Video ขึ้นเผยแพร่ทาง Youtube ซึ่งนานๆ ทีจะมี Video ที่มีข้อมูลที่เป็น Infographic เนื้อหาที่เข้าใจง่าย เลยขอ Blog เก็บไว้หน่อย จากวิดีโอนี้คุณจะรู้ว่ามี Linux อยู่รอบตัวคุณ มีนักพัฒนาที่ร่วม Contribute เข้าไปใน Linux Kernel มากกว่าที่คุณคิด




Fedora 17 ออกรุ่น Beta แล้ว

Fedora Project ประกาศออกรุ่น Beta แรกของ Fedora 17 แล้ว ซึ่งรุ่น release จะออกในวันที่ 22 พฤษภาคม ในรุ่น Beta นี้มีการเปลี่ยนแปลงที่คำคัญคือ การย้าย Application และ Library ไปไว้ที่ /usr สำหรับ Linux Kernel ใช้รุ่น 3.3.1 แล้ว และเตรียม patch ไปเป็นรุ่น 3.4 ซึ่งจะช่วยให้การจัดการพลังงาใน CPU, Graphics Cores ที่ใช้ Sandy Bridge ของ Intel ดีมากขึ้น ที่สำคัญ Fedora ใช้ Gnome 3.4 เป็น Desktop Manager หลักอย่างแน่นอน สำหรับ Gimp อัพเกรดเป็นรุ่น 2.8rc เรียบร้อยแล้ว และจะรวมเอา OpenStack Essex Cloud Computing Platform เข้ามาด้วยใน Fedora 17 ด้วย สำหรับท่านที่ต้องการทดสอบ Fedora 17 Beta ดาวน์โหลดได้ที่ http://fedoraproject.org/get-prerelease


วันจันทร์ที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2555

Zarafa 1.0 พร้อมหน้าจอใหม่

Zarafa ออกรุ่น 1.0 แล้วพร้อมหน้าจอแบบใหม่ ใช้งานง่าย เป็นมิตรกับผู้ใช้มากขึ้นนอกจากนี้ยังสามารถเพิ่ม feature ใหม่ๆ ผ่านทาง Plugin เช่น Facebook, web meeting และ online chat สำหรับหน้าจอใหม่ของ Zarafa สนับสนุนปฏิทินแบบหลายผู้ใช้ แชร์เหตุการณ์ และทำงานได้รวดเร็วมากขึ้นกว่าเดิม Zarafa แสดงผลได้บน Mozilla Firefox, Internet Explorer และ Safari Zarafa ทำงานบน Linux และเป็น Groupware ที่ถือได้ว่าเป็นคู่แข่งของ Microsoft Exchange เลยทีเดียว



Zarafa Collaboration Platform (ZCP) เป็นซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สซึ่งมี Community Edition และ Commercial Professional and Enterprise Edition สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.zarafa.com


Canonical เปิดตัว AWSOME ย้าย Amazon ไป OpenStack

Canonical บริษัทผู้พัฒนา Ubuntu เปิดตัว AWSOME (Any Web Service Over Me) เครื่องมือที่ช่วยให้ผู้ใช้ Amazon Web Service (AWS) ย้ายมาใช้ OpenStack Cloud Computing Platform สำหรับ AWSOME จะมาพร้อมกับ Ubuntu Server รุ่น 12.04LTS ซึ่งจะออกในปลายเดือนนี้ ในรุ่น Beta มีฟังก์ชั่นการใช้งานพื้นฐานครบเรียบร้อยแล้ว ซึ่งใช้งานได้กับ AWS EC2 (Elastic Compute Cloud) และ S3 (Simple Storage Service) สามารถใช้เครื่องมือของ Canonical อย่าง Juju สั่งทำงานกับ instance ได้โดยตรง



ทางด้าน Eucalyptus ได้ร่วมมือกับ Amazon ด้าน Private Cloud ให้บริการควบคู่กับ Amazon Web Service ที่มีอยู่เดิม ซึ่ง Eucalyptus มี API ที่เข้ากันได้กับ Amazon มากกว่า และเคยเป็น Cloud Platform หลักของ Ubuntu ก่อนที่ Canonical เปลี่ยนใจไปใช้ OpenStack แทน



สำหรับ AWSOME สามารถดาวน์โหลดได้ที่เว็บโครงการใน Launchpad ใช้สัญญาอนุญาติแบบโอเพนซอร์ส GNU/AGPL3


วันเสาร์ที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2555

จับ traffic network ด้วย ntop

มาย้อนอดีตกันอีกรอบ สมัยก่อนเวลาจับ traffic เราพยายามจับเอาข้อมูลที่วิ่งผ่าน NIC แล้วเอามาวิเคราะห์และทำสถิติบนเครื่องนั้นๆ ซึ่งก็ทำให้ง่ายและดิบซึ่งเครื่องมือลักษณะนี้มีอยู่หลายตัว วันนี้มาย้อนอดีตกันกับเครื่องมือที่ชื่อว่า ntop ครับ วิธีการติดตั้งทำดังนี้



sudo apt-get install ntop



อย่าพยายาม start services ตอนนี้เพราะยังไม่มี config และยังไม่ได้ตังค่า password ให้กับ admin ให้ตั้งค่าดังนี้



sudo ntop --set-admin-password



จากนั้นสั่ง restart ntop ได้เลยดังนี้



/etc/init.d/ntop restart



เรียกดูข้อมูลโดยเปิด browser ไปที่ http://localhost:3000 ครับ


วันพฤหัสบดีที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2555

มาเล่น Moodle ผ่าน Android Tablet กัน

หลังจากโดนคณาจารย์รุมอัดเรื่อง Moodle บน iPad มาก็เลยได้มีโอกาสค้นหาข้อมูลเรื่องเหล่านี้บน Android Tablet บ้าง ก็พบว่า มีโครงการลักษณะเดียวกันนี้บน Android Tabet เหมือนกัน คือ เป็น Mobile Client ที่เชื่อมต่อกับ Moodle ผ่าน Service APIs ทำงานได้เหมือนกับ Client ที่อยู่บน iPad แต่เจ้าตัวนี้ทำงานได้บน Android Tabet/Mobile และ Black Berry ครับ โครงการนี้มีชื่อว่า umm : Unofficial Moodle Mobile App



ตัว umm พัฒนาบน Phonegap platform โดยหวังผลในการ port ไปยัง mobile platform อื่นๆ ได้ เช่น iOS, QNX, Android, Window Mobile เป็นต้น นอกจากนี้การใช้ HTML5 ในการพัฒนา App ทำให้ข้าม Platform ทำได้ง่ายมากขึ้น โดยผ่าน Phonegap Build นั่นเอง สำหรับตัวโครงการสามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ หน้าโครงการ umm: Unofficial Moodle Mobile app และแนวทางการพัฒนาต่อยอดการนำไปใช้งาน สำหรับซอร์สโค้ดของ App นี้สามารถ check out ได้ที่ GitHub ครับ


วันอังคารที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2555

บริการจัดการชั้นเรียน Moodle ผ่าน iPad

ช่วงนี้ต้อนรับกระแส Tablet กันหน่อย แต่ไม่ใช่ Tablet เด็ก ป.1 นะ แต่เป็น Tablet สำหรับ เด็ก ม.ต้น ม.ปลาย, ป.ตรี, ป.โท, ป.เอก ผู้มีอันจะกินละกันครับ :P เนื่องจากโดนแซวจากคณาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิที่โคราช ซึ่งหอบเอา iPhone + iPad มาแซวว่าเดี๋ยวนี้เค้าเรียน, สอบ, ทำการบ้าน, ดูคะแนนสอบ ผ่าน iPad กันแล้ว เล่นเอาผมเหวอไปเลย เป็นจริงครับ เดี๋ยวนี้เค้าเรียนผ่าน iPad กันจริงๆ เป็นที่ทราบกันอยู่แล้วว่า Moodle เป็นเครื่องมือจัดการชั้นเรียนหรือ Learning Management System ชั้นดีและเป็นที่นิยมสูง การพัฒนา Moodle ให้รองรับกับอุปกรณ์และซอฟต์แวร์ต่างๆ ในรูปแบบของ Plugin ก็มีมากขึ้นด้วย สำหรับท่านที่ต้องการใช้งาน Mooble บน iPhone/iPad ก็สามารถดาวน์โหลด App ชื่อ My Moodle ได้ที่ App Store ครับ












สร้าง Distributed Storage + HA ด้วย GlusterFS

อาทิตย์นี้ยังอยู่ในช่วงย้อนอดีตครับ ผมได้เล่น Gluster Platform ตั้งแต่ผลิตภัณฑ์นี้ยังไม่ได้โดนซื้อจาก RedHat ซึ่ง Gluster Platform ทำ Distributed Storage ได้ง่ายมาก และไม่ได้มีความซับซ้อนมากมายนัก เครื่องมือที่ใช้ก็แสนจะธรรมดา แต่ได้ผลลัพท์ที่ดีเยี่ยม ประกอบกับการประยุกต์ใช้งานได้หลากหลาย ทำให้ Gluster Platform เป็นเครื่องมือสร้าง Distributed Storage ที่เพิ่มจำนวนและขนาดได้ตามที่เราต้องการได้ง่ายและผมก็ชอบมากๆ ตอนนี้ Gluster Platform รวมอยู่ในผลิตภัณฑ์ของ RedHat เรียบร้อยแล้วในชื่อ RedHat Storage สำหรับชุมชนโอเพนซอร์สอาจไม่ได้จับ Gluster Platform ตรงๆ นัก เพราะเป็น Commercial แต่จะได้จับ GlusterFS แทน ซึ่งมีความยุ่งยากมากกว่ากันพอสมควร ซึ่งในปัจจุบันก็ไม่ได้ยุ่งยากมากเท่าไรนัก อ้อเกือบลืมไปในประเทศไทยมีคนใช้ GlusterFS เพิ่มขึ้นด้วย (Tarad.com และ AIT) ดูได้จากแผนที่ผู้ใช้งานครับ (http://www.gluster.org/gluster-users/#formHtml)



สำหรับการใช้งาน GlusterFS ก็เหมือนเดิมคือจะต้องมี Node ทำหน้าที่เป็นชุด Storage หากต้องการเพิ่มพื้นที่เก็บข้อมูลก็เพิ่ม Node ให้มากขึ้น และจะต้องมีส่วน Gluster Client เพื่อเป็นจุดเชื่อมต่อกับ Node ต่างๆ ที่มีอยู่ในระบบ ขอไม่เขียนแผนภาพนะครับ :P วิธีการติดตั้งก็ง่ายมาก เราต้องเริ่มต้นที่ Node ก่อน Node จะต้องมีอย่างต่ำ 2 ตัว และ Gluster Client อีก 1 ตัว ดังนั้นเราจะมีเครื่องดังนี้



gluster1.redlinesoft.net มี IP Address เป็น 192.168.10.13
gluster2.redlinesoft.net มี IP Address เป็น 192.168.10.14
client.redlinesoft.net มี IP Address เป็น 192.168.10.15



สำหรับเครื่องทุกเครื่องติดตั้ง Ubuntu Server มีแค่ openssh-server ก็พอครับ อย่าลืมแบ่งพื้นที่ /data ให้มีขนาดเท่าๆ กัน ทั้ง 2 เครื่อง เพื่อเอาไว้เก็บข้อมูล หากในระบบเครือข่ายมี Local DNS อยู่แล้วก็ง่ายครับ แต่ถ้าไม่มีเราก็ไปใส่ไว้ในไฟล์ /etc/hosts ดังนี้



192.168.10.13 gluster1.redlinesoft.net gluster1
192.168.10.14 gluster2.redlinesoft.net gluster2
192.168.10.15 client.redlinesoft.net client



เครื่อง Gluster 1 แลพ Gluster 2 ติดตั้ง glusterfs-server โดยใช้คำสั่ง



sudo apt-get install glusterfs-server



จากนั้นเราต้องบอกให้ Gluster 1 รู้ว่า Gluster 2 เป็น trusted storage ดังนี้



gluster peer probe gluster1.redlinesoft.net



จากนั้นดูสถานะของ trusted storage ด้วยคำสั่ง



gluster peer status



เราจะพบว่ามี trusted storage เพิ่มเข้ามาแล้ว ทีนี้มาสร้าง Volumn กันครับ ใช้คำสั่ง



gluster volume create testvol replica 2 transport tcp gluster1.redlinesoft.net:/data gluster2.redlinesoft.net:/data



คำสั่งข้างต้นจะสร้าง volume ชื่อ testvol เป็นแบบ replicate เลข 2 คือจำนวนเครื่องที่เป็น Node เมื่อสร้าง volume ได้แล้วให้เริ่มการทำงานของ volume นี้โดยใช้คำสั่ง



gluster volume start testvol



ให้ตรวจสอบการทำงาน daemon ของ glusterfs ด้วยคำสั่ง netstat ของทั้ง 2 Node ว่า glusterfsd ทำงานอยู่ หากไม่พบ glusterfsd ทำงานให้ restart glsterfs daemon ใหม่ที่ /etc/init.d/glusterfs-server



กลับมาที่เครื่อง Gluster 1 ให้ดูสถานะของ volume ของเราด้วยคำสั่ง



gluster volume info



จะพบว่าเรามี testvol เป็น volume หลักและมี brick 2 node คือ gluster1.redlinesoft.net:/data และ gluster2.redlinesoft.net:/data ถือว่าเป็นอันเสร็จเรียบร้อย



จากนั้นกำหนดสิทธิ์ให้เครื่อง client (192.168.10.15) เชื่อมต่อกับ volume ของเรากันครับ ใช้คำสั่ง



gluster volume set testvol auth.allow 192.168.10.15



ใช้คำสั่ง gluster volume info อีกรอบเราจะพบว่า เครื่อง client (192.168.10.15) ได้รับอนุญาติให้ใช้ volume ที่ชื่อ testvol นี้ได้แล้ว



กลับไปที่เครื่อง client ติดตั้ง glusterfs-client ดังนี้



sudo apt-get install glusterfs-client



สร้าง directory สำหรับเป็นจุด mount ที่ /mnt/glusterfs ให้ทดสอบ mount ดเวยคำสั่ง



mount -t glusterfs gluster1.redlinesoft.net:/testvol /mnt/glusterfs



ให้ใช้คำสั่ง mount เพื่อตรวจสอบว่าเครื่อง client ได้เชื่อมต่อไปยัง Gluster 1 เรียบร้อยแล้วหรือยัง และใช้คำสั่ง df เพื่อดูพื้นที่ที่สามารถใช้งานได้ สำหรับการ mount ไปที่ distributed storage ทุกครั้งที่ boot เครื่อง ให้แก้ไชไฟล์ /etc/fstab โดยเพิ่มข้อมูลลงไปดังนี้



gluster1.redlinesoft.net:/testvol /mnt/glusterfs glusterfs defaults,_netdev 0 0



เท่านี้เราก็ได้ Distributed Storage + HA เอาไว้ใช้งานแล้วครับ :)


มาเล่น Zenoss กัน

อาทิตย์นี้ยังอยู่ในช่วงรื้อฟื้นความหลังกันอยู่ครับ เรื่องของ Zenoss เจ้า Zenoss เป็นระบบ Network Monitoring และ System Management ที่ถึกมาก สมัยก่อน Zenoss มักโฆษณาว่าไม่ต้องติดตั้งโปรแกรม Agent ก็สามารถทำงานได้ สามารถใช้ข้อมูลจาก Ping, Traceroute, DNS Resolve ได้ ซึ่งดูไร้สาระดีแต่ผมก็ชอบครับ :P สำหรับการติดตั้งก็ง่ายมากครับ ดาวน์โหลด Zenoss Ubuntu/Debian Native Stack ดังนี้



wget http://downloads.sourceforge.net/project/zenoss/zenoss-3.2/zenoss-3.2.1/zenoss-stack_3.2.1_i386.deb



จะได้ไฟล์ zenoss-stack3.2.1i386.deb มาให้ติดตั้งโดยใช้ dpkg ดังนี้



sudo dpkg -i zenoss-stack_3.2.1_i386.deb



ทีนี้ก็นั่งรอครับ เมื่อติดตั้งเสร็จเรียบร้อยก็สั่ง start service ได้เลย โดยใช้คำสั่ง



sudo /etc/init.d/zenoss-stack start



เปิดเบราเซอร์ไปที่ http://localhost:8080 ตั้งค่า password และเพิ่ม user แล้ว config device ที่ต้องการ monitor ได้เลย ง่ายมั๊ย :)


มาเล่น MRTG กัน

วันนี้มารื้อพื้น MRTG ผมยังจำได้ว่าใช้ MRTG ในการ Monitor Switch 3com 36 ports เมื่อนานมาแล้ว ประมาณ 5 ปีได้ วันนี้เลยมารื้อฟื้นความจำกันนิดหน่อย มาเริ่มกันเลย ก่อนอื่นเราต้องมี Apache, MRTG และ Host ที่เราต้องการดูข้อมูล ยกตัวอย่างเป็นเครื่องเซิร์ฟเวอร์ ชื่อ www ipaddress 192.168.10.12 ละกันครับ มี community ชื่อ public :) พอทราบข้อมูลเบื้องต้นแล้วก็ลงมือกันได้ครับ ติดตั้งแบบรวดเดียวจบ



sudo apt-get install mrtg apache2



จากนั้นสร้างไดเรคทอรีชื่อ mrtg ไว้ที่ /var/www ดังนี้



mkdir /var/www/mrtg



สร้าง config ของ mrtg โดยการอ่านจาก SNMP ของ Host ปลายทาง ดังนี้



sudo cfgmaker --output /etc/mrtg.cfg public@192.168.10.12



เราจะได้ไฟล์ config อยู่ที่ /etc/mrtg.cfg ครับ จากนั้นสร้าง index ไฟล์จากไฟล์ config ด้วย indexmaker



sudo indexmaker /etc/mrtg.conf > /var/www/mrtg/index.html



จากนั้นใช้คำสั่ง mrtg เพื่อสร้างข้อมูลและกราฟ (ใช้คำสั่งนี้สัก 4 รอบจะได้ข้อมูลครบ)



sudo env LANG=C /usr/bin/mrtg /etc/mrtg.cfg



จากนั้นสร้าง cron job เพื่อให้อัพเดททุกๆ 5 นาที ใช้คำสั่ง



sudo crontab -e



ใส่ข้อมูลลงไปดังนี้



*/5 * * * * env LANG=C /usr/bin/mrtg /etc/mrtg.cfg



ดูผลลัพท์ที่ http://localhost/mrtg ง่ายๆ สบายๆ


มาเล่น snmpd กัน

ผมไม่ได้จับงานระบบเครือข่ายมานานมาก นานจนลืมไปเลยล่ะ วันนี้เลยได้มารือฟื้นความจำกันนิดหน่อย เริ่มจาก snmpd กันก่อน หากใครนึกไม่ออกให้ไปอ่านที่ Wikipedia นะครับ :P เมื่อก่อนใช้ RedHat จำได้ลางๆ กับ SNMP V1 กันเลยทีเดียว แต่เดี๋ยวนี้ใช้ Debian/Ubuntu เจอ SNMP V2 แล้วแปลกตาไป แต่ก็ง่ายต่อการเข้าใจมากขึ้นครับ วิธีการติดตั้ง snmpd อย่างลวกๆ



sudo apt-get install snmp snmpd



แก้ไข default config ที่ /etc/default/snmpd ตรงบรรทัด TRAPDRUN=no แก้เป็น TRAPDRUN=yes และตรวจดูว่า SNMPDRUN=yes แล้วหรือยัง จากนั้นแก้ไข /etc/snmp/snmpd.conf ให้เรียกข้อมูลจากเครื่องอื่นๆ ได้แก้ดังนี้



# Listen for connections from the local system only
#agentAddress udp:127.0.0.1:161
# Listen for connections on all interfaces (both IPv4 *and* IPv6)
agentAddress udp:161,udp6:[::1]:161



แก้ read only community จาก



rocommunity public localhost



เป็น



rocommunity public



จากนั้นก็ลองทดสอบด้วยคำสั่ง snmpwalk ดังนี้ ทดสอบด้วย localhost



snmpwalk -O s -v 1 -c public localhost



และทดสอบด้วย IP Address ดังนี้



snmpwalk -O s -v 1 -c public 192.168.10.1



ถ้าถูกต้องจะได้ข้อมูลยาวหลายหน้าถือว่าใช้ได้ครับ ส่วนเรื่อง Authen เดี๋ยวมาต่อตอนหน้าครับ :P