วันเสาร์ที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2555

LibreOffice สำหรับหน่วยงานราชการ

เผอิญได้มีประชุมเกี่ยวกับการช่วยแก้ปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ ในหน่วยงานภาครัฐและได้มีการหยิบยกเอาเรื่อง LibreOffice ขึ้นมาหารือเนื่องจากเป็นทางออกเดียวที่จะทำให้อัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ลดลงไปได้ เพราะหน่วยงานส่วนใหญ่จะซื้อ Windows และไม่ยอมใช้ Linux Desktop ดังนั้นการลดรายจ่ายในเรื่องของ Microsoft Office จึงทำได้ง่ายกว่า ประเด็นที่หยิบยกขึ้นมาพูดคุยได้แก่เรื่อง




  • แหล่งเรียนรู้การใช้งาน LibreOffice

  • Extension เพิ่มเติมสำหรับภาครัฐ

  • LibreOffice รุ่นพิเศษ



จากการประชุมพบว่าประเด็นปัญหาเหล่านี้ได้ทำมาเกือบหมดแล้ว ได้แก่ แหล่งเรียนรู้ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส





ส่วน Extension เสริมสำหรับภาครัฐ




ตรวจละเมิดลิขสิทธิ์ภาครัฐ

ก่อนปีใหม่มีเรื่องประทับใจจากไมโครซอฟต์ที่จะขอเข้าตรวจสอบซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ของหน่วยงานราชการหน่วยงานหนึ่งซึ่งเป็นหน่วยงานระดับกระทรวงเลยทีเดียว ทำเอาหน่วยงานภายใต้สัดกัดและหน่วยงานภาครัฐอื่นๆ ร้อนๆ หนาวๆ การขอเข้าตรวจสอบครั้งนี้เป็นไปตามกฏหมายเนื่องจากมีผู้ร้องทุกข์ซึ่งก็คือไมโครซอฟต์นั่นเอง การที่ไม่โครซอฟต์มีหนังสือขาเข้าตรวจสอบละเมิดลิขสิทธิ์ในภาครัฐถือเป็นการก้าวข้ามขีดจำกัด เพราะลูกค้ารายใหญ่จริงๆ คือภาครัฐ ซึ่งภาครัฐเองก็ชอบใช้ซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์โดยอ้างว่า "ไม่มาตรวจภาครัฐหรอก" ครั้งนี้คงหาข้ออ้างไม่ออกแล้ว



สำหรับการตรวจสอบซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ในครั้งนี้ยังไม่มีกำหนดเวลาว่าจะเข้าตรวจช่วงไหนอย่างไร แต่หลายหน่วยงานก็พยายามแก้ปัญหาโดยการทำ Software Asset Management (SAM) เพื่อตรวจสอบว่ามีซอฟต์แวร์ที่มีลิขสิทธิ์ถูกต้องเป็นจำนวนเท่าไร ละเมิดหรือใช้เกินเท่าไร หมดอายุเท่าไร เพื่อหาทางแก้ไข จะตั้งงบจัดซื้อหรือใช้ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สก็ว่ากันไป ครั้งนี้คงไม่ใช่แค่กรณีซอฟต์แวร์ของไมโครซอฟต์เพียงบริษัทเดียวเพราะอโดบีรอจ่อคิวตามมาเร็วๆ นี้



จากปัญหาข้างต้นทำให้คิดถึงเมื่อหลายปีที่แล้วที่มีการเข้าตรวจค้นโรงงานแห่งหนึ่งที่ใช้ซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ซึ่งสร้างความเสียหายกว่า 200 ล้านบาท ครั้งนั้นถือว่ามูลค่ามากแล้ว ถ้าการตรวจสอบหน่วยงานภาครัฐทั้งหมดมูลค่าความเสียหายคงมากมหาศาล และไมโคซอฟต์เองคงได้ลูกค้ารายใหญ่อย่างภาครัฐกลับคืน เพราะภาครัฐคงทำอะไรไม่ได้นอกจากเอาเงินจ่ายเพื่อซื้อซอฟต์แวร์ เพื่อแก้ปัญหาอย่างที่ผ่านๆ มา พอได้ฐานลูกค้าแล้ว ปีต่อๆ ไปก็จะมีบิลจ่ายค่าซอฟต์แวร์ออกมาเรื่อยๆ และอย่างที่ทราบกัน ภาครัฐก็จะเอาเงินโกยไปให้อีกตามเคย "เป็นเรื่องที่น่าสงสาร"



งานเขียนนี้คงไม่ได้มาเยินยอซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส เพราะไม่มีค่าลิขสิทธิ์ ใช้ได้ฟรีไม่ต้องเสียเงิน จากการรณรงค์ให้ใช้ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สเพื่อเป็นทางออกจากการละเมิดลิขสิทธิ์และการแก้ปัญหาในทางอ้อมในลักษณะนี้คิดว่าพอแล้ว "ให้โดนจับกันบ้าง" จะได้เข้าใจว่าทำไมจะต้องรณรงค์เพื่อแก้ปัญหาเหล่านี้


วันพฤหัสบดีที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ตัดสินงานประกวดแข่งขันงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 62 ที่ จ.ระยอง

เมื่อวันที่ 9-13 ที่ผ่านมาเป็นกรรมการตัดสินการแข่งขันงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 62 ที่ จ.ระยอง เป็นการทำงานที่ขลุกขลักเพราะเหมือนไม่ค่อยมีความพร้อมและเจ้าภาพจัดงานก็ดูไม่ค่อยมีประสบการณ์ในการจัดการแข่งขันมากนัก ทำให้ดูยุ่งและวุ่นวาย สำหรับผมได้ออกโจทย์การแข่งขันเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ระดับม.ปลาย และได้ไปเป็นกรรมการตัดสินในโค้งสุดท้ายด้วย ซึ่งจริงๆ ต้องได้ตัดสินแข่งขันเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ แต่โดนย้ายไปตัดสินเขียนเกมส์ ม.ปลาย แทนซึ่งเจ้าภาพจัดงานย้ายกรรมการตัดสินโดยไม่แจ้งล่วงหน้า พอไปประชุมก็โดนย้ายไปตัดสินโครงการคอมพิวเตอร์แทน โดนย้ายไปมาจนมึนไปหมด สรุปว่าได้เป็นกรรมการตัดสิน




  • โครงการคอมพิวเตอร์ระดับ ม.ปลาย

  • เขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ระดับ ม.ปลาย



สำหรับการตัดสิน โครงการคอมพิวเตอร์ระดับ ม.ปลาย คงไม่ต้องพูดถึงเพราะผม "โหด" อยู่แล้ว ซึ่งกรรมการท่านอื่นๆ "ไม่โหด" เท่าไร ให้คะแนนเต็มกันเยอะพอสมควร โครงงานส่วนใหญ่ยังเป็นการพัฒนาโปรแกรมบนระบบปฏิบัติการ Windows เป็นโปรแกรมการเรียนรู้ มีเกมส์บ้าง และ Mobile App มีกลุ่มแหวกแนวทำหุ่นยนต์เต้นๆ พัฒนาฟอนต์ และตัดต่อวิดีโอ ทำให้รู้สึกงงๆ ว่าโครงการคอมพิวเตอร์ทำไมไม่แบ่งไปเป็นหมวดๆ เพราะงานออกมาหลากหลาย สุดท้ายก็ตัดสินบนเนื้องานที่ควรจะเป็น และแน่นอนว่า โครงงานส่วนใหญ่อยู่ในขั้นพอใช้



สำหรับการตัดสินการแข่งขันเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ระดับ ม.ปลาย คงไม่ต้องพูดถึงเพราะทุกโรงเรียนก็กระอักพอสมควร เพราะโจทย์ไม่ได้อยู่ใน หนังสือติวคอมพิวเตอร์โอลิมปิก และไม่มีโจทย์ในลักษณะนี้ออกมาให้แข่งขันมากนัก ทำให้โจทย์ในข้อวิชาการด้านคณิตศาสตร์เด็กส่วนใหญ่ทำได้ มีลักไก่บ้างประมาณ 90% ส่วน 10% พยายามเขียนโค้ดให้ได้ ส่วนข้อยากไม่ค่อยมีคนทำได้ ส่วนคนที่ทำได้ก็มักจะลักไก่ไม่ได้เขียนโปรแกรมเพื่อคิดหาคำตอบ แต่คิดในกระดาษแล้วเขียนโปรแกรมพิมพ์คำตอบออกมา ซึ่งทำให้รู้เลยว่า




  • ตีโจทย์ไม่ออก

  • คิดแก้ปัญหาไม่ได้

  • เขียนโปรแกรมได้เฉพาะที่เตรียมมา

  • ลักไก่ไม่เขียนโปรแกรมเพื่อหาคำตอบ เอาผลลัพท์มาแสดงผลเฉยๆ


วันอาทิตย์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ประสบการณ์ใหม่เรียนผ่าน Facebook

บังเอิญได้เห็น Timeline ของคุณอ้นแห่ง Infotronics ผ่านทาง Facebook ว่ามีเรียน Enterprise Web Application Development ซึ่งน่าสนใจดีก็เลยขอร่วม Join Group ด้วย พบว่าเป็น Class เรียนของ น้องนักศึกษา ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ซึ่งกำลังเรียนกันอยู่เลยทีเดียว ผมไม่ค่อยแน่ใจว่า คุณอ้นอยู่ที่ปัตตานีหรือเปล่าแต่เห็นน้องๆ อัพเดทกันใน Timeline เรียนทันบ้าง ไม่ทันบ้าง หรือสอบถามปัญหากันผ่านทาง Group ก็เห็นว่าน่าสนุกดี ช่วงแรกๆ ก็ตั้งใจเรียนอยู่ พอมีประชุมครึ่งวันก็เลยไม่ได้เรียนต่อ T_T



ผมมักจะใช้เวลาว่างช่วงกลางดึกเรียนหนังสือกับเพื่อนๆ ต่างประเทศไม่ว่าจะเป็น Online training ของ O'Reilly หรือเรียนด้วยตัวเองผ่าน Code Academy บ้างในบางครั้ง สมัยก่อนเคยเรียน Linux Command Line ผ่าน mIRC แต่การเรียนผ่าน Facebook นี่ครั้งแรกของผมเลยครับ ผมได้ยินหลายครั้งที่อาจารย์มหาวิทยาลัย หรือครูโรงเรียนประถม มัธยม ต้องตามทันเด็กๆ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์ ในกรณีนี้ผมเห็นว่า "เจ๋งดี" ครับ หวังว่าจะได้เรียน Class นี้ซ้ำอีกรอบ


วันพฤหัสบดีที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2555

เขียน App ขายบน Windows Store ต้องเรียนรู้อะไรบ้าง

คำถามยอดฮิต "เขียน App ขายบน Windows Store ต้องเรียนรู้อะไรบ้าง" เนื่องจากเสียค่า Windows Store Developer ไป 1,500 ด้วยความเสียดายเงินและต้องหาทุนคืน 1,500 ก็เลยหาข้อมูลเพื่อเรียนเขียน Windows App บ้าง แหล่งเรียนรู้ก็มาจาก Windows Dev Center ดังนี้





นี่คือสิ่งใหม่ที่ต้องเรียนรู้ ผมพบว่าเอกสารของ Microsoft ทำออกมาได้ดีเข้าใจง่ายครับ


เขียน App ขายบน Windows Store ต้องจ่ายอะไรบ้าง

เนื่องจากกำลังย้ายค่าย และย้าย Platform เลยเอาตัวเข้าแลกกับ Microsoft อีกครั้งเพราะอยากรู้ว่า เขียนโปรแกรมบน Windows 8 และขายบน Windows Store ต้องจ่ายอะไรบ้าง




  1. Windows 8 แบบกล่อง = 5,200 บาท

  2. Vistual Studio 2012 + MSDN = 40,719 บาท

  3. Windows Store Developer = 1,500 บาท



สรุปรายจ่าย = 47,419 บาท หลายคนถามว่าอยากลองแบบจ่ายน้อยๆ ได้มั๊ยตอบว่าได้ครับ ราคาเป็นดังนี้




  1. Windows 8 Enterprise RTM = 0 บาท

  2. Vistual Studio Express 2012 = 0 บาท

  3. Windows Store Developer = 1,500 บาท



สรุปรายจ่าย = 1,500 บาท ต้องบอกข้อมูลเพิ่มเติมอีกนิดหน่อยคือ Windows 8 RTM ใช้ได้ 90 วัน ส่วน Vistual Studio Express 2012 ใช้ได้ 30 วัน ส่วนรายจ่ายค่า Windows Store Developer จ่ายไปฟรีๆ :P


วิเคราะห์ตลาดซอฟต์แวร์บน Play Store

ผมเอาตัวเองเป็นหนูทดลองเพื่ออยากรู้อะไรบางอย่างในการทำตลาดซอฟต์แวร์บน Android Market แบบซื่อๆ ไม่ได้มี Business Model อะไรซับซ้อน ผมพยายามเขียน App เอาไปวางได้ประมาณ 12 ตัว ตอนนี้กระจายอยู่ในกลุ่ม การศึกษา, เอนเตอร์เทนเม้น โดยตั้งกลุ่มประเทศเป้าหมายแบบรวมๆ ไม่ได้เจาะไปยังกลุ่มเป้าหมายประเทศใดประเทศหนึ่ง เลยเอา App ที่มีสถิติยอดดาวน์โหลดมากกว่า 10,000 ครั้ง เอามาให้ดูซัก 2 App ผลออกมาดังนี้



การศึกษา



เอนเตอร์เทนเม้น



เนื่องจากยอดดาวน์โหลดในกลุ่มเกมส์ยังมีน้อยมาก เลยยังไม่มีตัวเลขมาให้ดู อ้อลืมบอกไปว่าให้ดูช่องสุดท้ายนะครับ สรุปประเด็นง่ายๆ




  • ถ้ามีสถิติเบื้องต้น ในแต่ละกลุ่ม Education เช่น ลูกค้าที่เกาหลีเยอะกว่าญี่ปุ่น การเลือกตลาด/เลือกทำ App ได้ง่ายมากขึ้น ในกรณีไม่รู้จะทำ App อะไรขาย ซึ่งมีประโยชน์มาก

  • Business Model, Innovation, Idea เป็นสิ่งจำเป็นมากในการทำตลาดบน Online Store อื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น Play Store, Windows Store, App World หรือแม้กระทั่ง App Store



ทิ้งท้ายอีกหน่อย เพราะว่ายังรู้สึกเสียใจที่คนไทยยังค่าบัญชีเป็น "คนขาย" ไม่ได้ดังนั้น Business Model จึงต้องเปลี่ยนเป็นลักษณะอื่นมากกว่าการขาย App ซึ่งถ้าคิดจากยอดดาวน์โหลด App ของผม โดยรวมมากกว่า 80,000 ครั้ง ก็น่าจะได้เงิน (แบบตรง) ประมาณ 80,000x30=2,400,000 บาท หัก 30% เหลือสุทธิที่จะได้ 1,680,000 บาท แต่ตอนนี้ผมได้เงินจาก App (Business Model แบบโง่ๆ) แค่ 4,539.36 บาท ห่างไกลจากความเป็นจริงมาก :P


วันอาทิตย์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2555

มาเรียกใช้ Score Online บน Cloud กัน

เนื่องจากโครงการเขียนเกมส์บวกเลขที่ผ่านมาได้วางโครงสร้างของ Score Service เป็น Web Service เพื่อเก็บคะแนนของผู้เล่นแบบ Online ให้บริการบน Cloud ของ OpenShift ซึ่งวางโครงสร้างของ Service แบบลวกๆ แต่สามารถรองรับการใช้งานจากนักพัฒนาอื่นได้ ผมเห็นว่าน่าจะมีประโยชน์สำหรับผู้ที่ต้องการใช้ Score Service ลักษณะนี้ อีกอย่างผมอยากหาใครสักคนมาพัฒนาบริการนี้ต่อ อยากพัฒนาให้ได้แบบ Score Loop หรือ GREE อะไรทำนองนั้น แต่ตอนนี้ยังไม่ไปถึงไหน T_T แต่สามารถเรียกใช้งานได้ครับ ขั้นตอนมีดังนี้




  1. ลงทะเบียนนักพัฒนา

  2. เข้าสู่ระบบ

  3. ลงทะเบียนแอพลิเคชั่น



วิธีการใช้งานออกจะ Geek หน่อยเนื่องจากไม่มี Web User Interface จะต้องใช้ REST Client เท่านั้น หากท่านใช้ Google Chrome อยู่แล้วสามารถติดตั้ง Advance Rest Client และลงทะเบียนแอพลิเคชั่นได้ดังนี้




  • ลงทะเบียนนักพัฒนา




    • Service URL : https://rest-redlinemobi.rhcloud.com/score/user/signup.json

    • Content-Type : application/x-www-form-urlencoded

    • Method : POST

    • ค่าที่ต้องส่งให้ email, password

    • ค่าที่ได้กลับมา pubkey


  • เข้าสู่ระบบ




    • Service URL : https://rest-redlinemobi.rhcloud.com/score/user/signin.json

    • Content-Type : application/x-www-form-urlencoded

    • Method : POST

    • ค่าที่ต้องส่งให้ email, password

    • ค่าที่ได้กลับมา sesskey


  • ลงทะเบียนแอพลิเคชั่น




    • Service URL : https://rest-redlinemobi.rhcloud.com/score/application/register.json

    • Content-Type : application/x-www-form-urlencoded

    • Method : POST

    • ค่าที่ต้องส่งให้ name, package, sesskey, pubkey

    • ค่าที่ได้กลับมา appkey




เมื่อได้ appkey ให้จดเอาไว้นะครับ เพราะเราจะเอามาให้ตอนที่เราใช้ส่งคะแนนดังนี้




  • ส่งคะแนน


    • Service URL : https://rest-redlinemobi.rhcloud.com/score/score/push.json

    • Content-Type : application/x-www-form-urlencoded

    • Method : POST

    • ค่าที่ต้องส่งให้ name, score, appkey

    • ค่าที่ได้กลับมา data



แผ่นรวมซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สและฟรีแวร์ สำหรับ SME

เนื่องจากโครงการ Suriyan และ Chantra ถูกยุบไปแล้ว แต่ยังคงมีคนส่งแผ่น DVD เข้ามาขอแผ่น Suriyan และ Chantra อยู่ ผมก็เลยได้ทะยอยเขียนแผ่นส่งกลับไปให้เรื่อยๆ สำหรับท่านที่ส่งแผ่น DVD เปล่ามาแลกแผ่นซอฟต์แวร์ในช่วงนี้ จะได้แผ่น Write กลับไปนะครับ T_T เนื่องจากไม่มีงบประมาณปั๊มแผ่นให้ ใครอยากได้ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สและฟรีแวร์ก็สามารถส่งแผ่นเปล่ามาแลกได้ ขอเป็นแผ่น DVD ที่เขียนได้นะครับไม่ใช่แผ่นเสีย สำหรับแผ่นที่จะมาแทน Suriyan และ Chantra มีดังนี้




  1. Ubuntu รุ่นล่าสุด ไม่มี Package เสริมจาก Suriyan นะครับ เป็น Ubuntu เพียวๆ จำนวน 1 แผ่น DVD

  2. Open Disc รุ่นพิเศษ รวมซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สบน Windows และ Linux มากกว่า 50 ตัว จำนวน 2 แผ่น DVD



กติกาเหมือนเดิมคือส่งแผ่น DVD เปล่าตามจำนวนแผ่นที่ท่านต้องการแลก วงเล็บมุมซองด้วยนะครับว่าแลกแผ่นอะไร พร้อมซองเปล่าติดแสตมป์ 9 บาท จ่าหน้าซองถึงตัวท่านเอง วงเล็บมุมซองว่า "Disc2Disc ขอแผ่น ..." ส่งมาที่



ฝ่ายส่งเสริมและพัฒนาเทคโนโลยี (โอเพนซอร์ส)
สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)
เลขที่ 120 หมู่ที่ 3 ชั้น 9 อาคารรัฐประศาสนภักดี ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐
ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่
กรุงเทพมหานคร
1 0 2 1 0


เก็บตกออกแบบผลิตภัณฑ์ด้วยซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส

เนื่องจากมีเรื่องให้ต้องกลับไปทำงานออกแบบผลิตภัณฑ์อีกครั้ง แต่ไม่ได้เกี่ยวกับงานออกแบบสินค้าหรือตราสินค้าด้านไอที คราวนี้เป็นงานออกแบบสินค้าประเภทสบู่สมุนไพร เป็นสินค้า SME ครับ การออกแบบผลิตภัณฑ์รวมไปถึงตราสินค้าและออกแบบรูปลักษณ์ผลิตภัณฑ์เบื้องต้น เครื่องมือที่ใช้ก็เป็นเครื่องมือด้านเวกเตอร์อย่าง Inkscape อ้อเกือบลืมไปต้องใช้ GIMP ในการตัดใบไม้มาทำภาพเวกเตอร์ด้วยการ Trace Bitmap ด้วย หลังจากนั้นค่อยเอามาประกอบเป็นตราสินค้าแบบนี้







พอจะขึ้นโครงร่างกล่องก็โดนดุมาว่าเปลือง เพราะต้นทุนมีน้อยอยากให้งานออกมาแบบใช้ทุนน้อยที่สุด ก็ได้คำแนะนำมาว่าสินค้าจะห่อด้วยพลาสติกใสและติดตราสินค้าเอาแค่นี้พอ แต่ยังเลือกตราสินค้าไม่ได้ ก็เลยจัดการ render งาน 3D ออกมาให้ดูโดยใช้เครื่องมือ 3D อย่าง blender เข้ามาช่วย ได้ภาพสินค้าออกมาอย่างนี้















หลังจากทำ 3D Model ก็ทำให้เห็นภาพสินค้าได้ชัดเจนมากขึ้น เห็นไหมครับ ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สช่วยงานออกแบบผลิตภัณฑ์ สำหรับ SME ได้ง่ายๆ เลยทีเดียว และไม่ต้องซื้อซอฟต์แวร์ราคาแพงมาใช้ ช่วยลดต้นทุนให้ SME ได้อีกด้วย