วันอาทิตย์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2554

เรียนออกแบบงาน 3D ด้วย Blender ภาค 2

เมื่อประมาณกลางปีได้มีโอกาสหัดเรียน Blender เพราะมีโครงการเล็กๆ ที่เกี่ยวกับ render farm บน cloud ที่ใช้ Blender เป็นตัว render ตอนนี้ Blender 2.6.1 ออกแล้วมาพร้อมกับ render engine ตัวใหม่ที่ชื่อว่า Cycles ก็เลยกลับมาเรียน Blender และหัดใหม่กันอีกรอบ แหล่งความรู้ที่สามารถช่วยในการเรียนของผมได้นอกจากที่แนะนำไว้เมื่อครั้งที่แล้ว มีแหล่งความรู้เพิ่มเติมอีก 5 แหล่งได้แก่





และผลงานจากการเรียนในรอบนี้ก็ต้องเอามาให้ดูกันอีกเช่นเคยครับ












วันจันทร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2554

Empathy พร้อมสนับสนุน MSN XMPP

ผู้ใช้ Empathy เผ้ารอคอยการมาของ MSN ที่ใช้โปรโตคอล XMPP (Jabber) ซึ่งเป็น Open Standard Protocol ซึ่ง Microsoft ได้ประกาศไปนานระยะหนึ่งแล้ว การเปลี่ยนมาใช้ XMPP นี้จะช่วยให้ผู้ใช้ IM ที่ใช้ภายใต้ XMPP อยู่แล้วเชื่อมต่อกันกับผู้ใช้ MSN ได้ทั่วโลก



Xavire Claessens นักพัฒนาจาก Gnome ได้บล็อกเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงนี้ไว้หลายอย่าง ในความสั้นๆ ที่หยิบมาให้มีดังนี้



Thanks to the advice of a Microsoft developer, I even fixed the legal issue that prevented us to enable this by default.



All patches got merged and released into empathy (>=3.3.2), telepathy-gabble (>= 0.15.0), and gnome-online-accounts(>=3.3.0).



MSN via XMPP (Jabber) now working and legal issues resolved, Empathy to officially rock for MSN users.



สำหรับ MSN ที่ใช้ XMPP ผ่าน Empathy นั้น บน Ubuntu 11.10 ต้องติดตั้งอัพเดทผ่าน PPA สำหรับ Ubuntu 12.04 นั้นสามารถใช้งานได้เลย สำหรับ PPA นั้นน่าจะมีเร็วๆ นี้ เดี๋ยวจะทะยอยอัพเดทข่าวคราวให้อีกครั้งครับ


Oracle Linux และ CentOS 6.2 ออกแล้ว

หลังจาก RedHat Enterprise Linux 6.2 ออกมาได้ 2 อาทิตย์ก็ได้เวลอ Oracle และ CentOS ออกรุ่น 6.2 บ้าง ในส่วนของ Oracle เพิ่มคุณสมบัติส่วนตัวเข้าไปใน Enterprise Kernel ถ้าเปรียบเทียบกับของ RedHat มีส่วนต่างตรงที่การปรับปรุง IRQ balancing, Network I/O และการจัดการ Memory และที่ขาดไม่ได้คือ OCFS2 cluster filesystem ของ Oracle นั่นเอง ข้อมูลเพิ่มเติมอ่านได้ที่บันทึกการออกรุ่นของ Oracle 6.2



ส่วน CentOS ถือว่าเป็นโครงการที่ Linux สำหรับ Enterprise ที่ Clone จาก RedHat Enterpeise Linux เป๊ะๆ ทำให้การออกรุ่นของ CentOS ไม่ค่อยมีปัญหามากนัก CentOS 6.1 ออกมาเมื่ออาทิตย์ที่แล้ว หลังจาก RHEL 6.1 ออกมาได้ 6 เดือน สำหรับซอฟต์แวร์ใหม่ๆ ได้ทะยอยอัพเดทที่ CentOS ไปเรียบร้อยแล้ว ใน CentOS 6.2 จึงสามารถดาวน์โหลดได้เลยที่ mirror server ในช่วง 2-3 วันนี้


วันอาทิตย์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2554

Google เปิดคอร์สเรียน Android Online

Google เปิดตัวบริการใหม่ชื่อ Android Training เรียการเขียนโปรแกรมบน Android แบบ Online ซึ่งเนื้อหามีความหลากหลายพร้อมคำอธิบายรวมไปถึงตัวอย่างโค้ด บริการเรียน Android แบบ Online นี้ มุ่งหวังให้นักพัฒนาแก้ปัญหาได้อย่างรวดเร็ว หรือพัฒนาคุณสมบัติใหม่ให้ Apps ที่คุณเขียนได้เร็วขึ้น ซึ่งในแต่ละบทเรียนมีตัวอย่างโค้ดที่สามารถนำเอาไปใช้งานกับ Apps ของคุณเองได้ ในแต่ละบทจะมีคำแนะนำการการออกแบบ App สำหรับหน้าจอหลายขนาด การประหยัดพลังงงาน แชร์เนื้อหา พัฒนา Apps สำหรับองค์กร และการหาเงินจากการพัฒนา Apps ในเดือนหน้าจะมีเนื้อหามากขึ้น ตลอดจนโค้ดและไลบรารีใหม่ๆ ก็จะเพิ่มมากขึ้นด้วย




วันเสาร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2554

Redirect เว็บไซต์สำหรับมือถือด้วย Apache mod_rewrite

ทุกวันนี้หลายเว็บคงจะมีเว็บสำหรับ Mobile เพื่อรองรับการเข้าชมของอุปกรณ์ประเภท Smart Phone และ Tablet ซึ่งหากท่านใช้ CMS ที่สามารถแปลงเว็บไซต์จากหน้าเว็บแบบเข้าชมจากเครื่อง PC ไปเป็น Mobile ได้ก็คงไม่เป็นปัญหาอะไรมากนัก แต่ถ้าไม่มีก็คงต้องหาวิธีเขียนโปรแกรมเพื่อตรวจสอบเว็บเบราเซอร์กันเอาเอง วันนี้ผมมีวิธีง่ายๆ ในการ Redirect เว็บไซต์ ให้ถูกต้องตามอุปกรณ์ที่เรียกใช้กันครับ วิธีง่ายๆ ที่ว่าก็คือการใช้ mod_rewrite นี่แหละครับ



มาทำความเข้าใจกันก่อน สมมุติว่าคุณมีเว็บไซต์ที่ให้บริการผู้เข้าชม 2 แบบ คือแบบปกติเข้าชมผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ และแบบ Mobile เข้าชมผ่าน Smart Phone/Tablet มีโดเมนดังต่อไปนี้




  • เว็บปกติ http://www.my-example.com

  • เว็บสำหรับ Mobile http://m.my-example.com



หากผู้เข้าชมเปิดด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ปกติให้ Apache redirect ไปยังเว็บปกติ หากเป็น Smart Phone ก็ redirect ไปยังหน้าเว็บสำหรับ Mobile เงือนไขมีประมาณนี้ครับ มาลงมือกันเลย



เริ่มจากหน้าเว็บปกติคือ www.my-example.com ให้เพิ่ม .htaccess ใน document root ของ virtual host นี้เพื่อสั่ง redirect หากเข้าชมผ่าน Mobile ให้ redirect ไปที่ m.my-example.com เขียน rewrite rules ได้ดังนี้



<IfModule mod_rewrite.c>
RewriteEngine On
RewriteCond %{HTTP_USER_AGENT} "android|blackberry|googlebot-mobile|iemobile|ipad|iphone|ipod|opera mobile|palmos|webos" [NC]
RewriteRule ^$ http://m.my-example.com/ [L,R=302]
</IfModule>



ในหน้าเว็บ Mobile คือ m.my-example.com ให้เพิ่ม .htaccess ใน document root ของ virtual host นี้เพื่อสั่ง redirect หากเข้าชมผ่านคอมพิวเตอร์ ให้ redirect ไปที่ www.my-example.com เขียน rewrite rules ได้ดังนี้



<IfModule mod_rewrite.c>
RewriteEngine On
RewriteCond %{HTTP_USER_AGENT} "!(android|blackberry|googlebot-mobile|iemobile|ipad|iphone|ipod|opera mobile|palmos|webos)" [NC]
RewriteRule ^$ http://www.example.com/ [L,R=302]
</IfModule>



เท่านี้ก็เรียบร้อยแล้ว :)


วันศุกร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2554

พัฒนา Web App บน Cloud ด้วย Zend Developer Cloud

ผมค้างบทความเรื่อง PaaS สุด Hit อีกตัวหนึ่งไว้ ดองไว้นานไม่ได้เขียนสักที PaaS ตัวนี้มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า Zend Developer Cloud หรือในชื่อที่คุ้นหูว่า PHP Cloud ใช่ครับ Platform as a Service โดย Zend บริษัทผู้พัฒนา PHP นั่นเอง ผมได้คำเชิญจากทีมพัฒนา PHP มาได้ 2 เดือนแล้ว พอมีเวลาว่างก็ได้ลองเล่นดู พบว่าสนุกและทำงานได้ง่ายกว่า Cloud ที่เป็น PaaS ของค่ายอื่นๆ มาก PHP Cloud คงไม่ต้องบอกว่าให้บริการ Platform ใด หลักๆ ก็เป็น PHP บน Zend Server มีเครื่องมือครบ ได้แก่ Zend Platform, Zend Optomizer, Zend Gard, MySQL, PHPMyAdmin เป็นต้น ในส่วนการเชื่อมต่อกับนักพัฒนามีได้หลายช่องทาง ไม่ว่าจะเป็น Zend Studio, Eclipse, Git และ SFTP ในส่วน Platform ยังมี App เพื่อรองรับการพัฒนาแบบสำเร็จรูปยังมี Zend Framework, Drupal, Joomla, WordPress, Magento, PHPBB ให้ด้วย สำหรับนักพัฒนาที่พัฒนา Mobule หรือใช้ App เหล่านี้ในการพัฒนาซอฟต์แวร์ต่อยอด





ในขณะที่เขียนบทความนี้ PHP Cloud ยังอยู่ในช่วงของ Technology Preview ซึ่งผู้ที่จะได้ใช้งานต้องได้รับการ Invite จาก Zend สำหรับท่านที่สนใจก็สามารถไปกรอกข้อมูลเอาไว้ก่อนได้เช่นกัน ลงทะเบียนได้ที่ http://www.phpcloud.com จากนั้นก็รอจดหมายตอบรับจาก Zend เมื่อได้จดหมายตอบรับแล้วจะมี Link ที่มี Invitation Key ให้ เมื่อคลิกแล้วก็จะกระโดดมาที่หน้า Login ของ Zend





กรอก Username และ Password ที่ได้ลงทะเบียนไว้ ก็จะเข้าสู่หน้าจอแนะนำ PHP Cloud การใช้งานและการเชื่อมต่อกับเครื่องมือพัฒนาซอฟต์แวร์ต่างๆ





PHP Cloud จะให้เราสร้าง Application Container สำหรับรองรับ App ต่างๆ ที่เราจะพัฒนา ใน Container จะมี Zend Server และ Git มาให้ มาสร้าง Container กันก่อน





เมื่อสร้างเสร็จจะพบว่ามี App Default มาให้ 1 ตัว เอาไว้ทดสอบพร้อม Public URL ผมสร้าง Application Container ชื่อ redlinesoft ก็จะมี Public URL เป็น http://redlinesoft.my.phpcloud.com







หากเพิ่ม App ลงไปก็จะเป็นชื่อ App URL ต่อท้าย เช่น WordPress ก็จะเป็น http://redlinesoft.my.phpcloud.com/wordpress เป็นต้น สำหรับวิธีการเอาไฟล์ขึ้นลงก็ใช้ผ่าน Zend Studio หรือไม่ก็ใช้ Git สำหรับ IDE ตัวอื่นๆ อย่าง Eclipse ก็ใช้ผ่าน Git Plugin สำหรับการทำงานผ่าน Git ก็ง่ายๆ ครับ ตรงปุ่ม Git Access จะมี Git URL ให้เอา Git URL มาใช้



ตัวอย่างเช่น ผมมี App ชื่อ I am Petdo - Jquery Feed อยู่ ก็ใช้ Git Clone เพื่อดึงโค้ดลงมา



git clone https://redlinesoft@redlinesoft.my.phpcloud.com/git/iampetdo.git iampetdo-jqfeed



โดยไดเรคทอรีที่ได้จะเป็น iampetdo-jqfeed มีไดเรคทอรี public อยู่ข้างใน หากต้องการเพิ่มไฟล์ใหม่ก็สั่ง



git add ชื่อไฟล์ที่ต้องการเพิ่ม



และ git commit เพื่อกำหนดว่า commit อะไร เขียน log ในการ commit แต่ละครั้งด้วย เช่น



git commit -m "fix feed via jqfeed plugin"



จากนั้นก็เอาไฟล์ขึ้น โดยสั่ง git push



git push



เป็นอันจบขั้นตอนการเอาไฟล์ขึ้นไปที่ Container สำหรับการทดสอบก็เข้าผ่าน Public URL ของ App แต่ละตัว สำหรับการเพิ่ม App เข้าไปยัง Container ก็กด Link add/remove more apps จะเข้าสู่หน้า App Catalog ดังนี้





อยากได้ตัวไหนก็กดเลยครับ ยกตัวอย่างเป็น WordPress นะครับ เมื่อกดปุ่ม Deploy Application ก็จะเข้าไปยังหน้าตั้งค่าดังนี้





ใส่ข้อมูลให้เรียบร้อยคุณก็จะได้ App WordPress มาอยู่ที่หน้า App Container ดังนี้







จากนั้นก็ทดสอบผ่านทาง Public URL ได้เลย





ในหน้า App Container คุณยังสามารถทำ Snapshot ของ Container ได้สามารถนำเอา Snapshot ไป Deploy ยัง Container ใหม่ได้เล่นกัน เหมาะกับการทำ HA ได้ง่ายๆ สำหรับการย้าย App จาก Container ไปยัง AWS EC2 และ Cloud Provider อื่นๆ ทาง Zend ยังไม่ได้มีการเปิดให้ทดสอบ ถ้าได้มีโอกาสได้ทดสอบก้อจะเอามาเล่าให้ฟังกันอีกรอบครับ สำหรับช่วง Technology Preview นี้ยังไม่มีค่าใช้จ่าย สร้าง App Container ได้เรื่อยๆ หลังจากนี้อาจได้แค่ 1 Container และซื้อเพิ่ม คงต้องรอข่าวจาก Zend กันอีกรอบครับ สำหรับท่านที่ได้ Invite แล้วก็อยากให้ลองเล่นลองทดสอบดูครับ อย่างน้อยก็ได้สัมผัส Zend Cloud ในรูปแบบ PaaS ซึ่งหาใช้กันไม่ได้ง่ายๆ


วันอังคารที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ทำ DVD Slideshow ด้วย Imagination

เมื่อสัปดาห์ก่อนมีคนแนะนำโปรแกรมทำ Video Slideshow แบบง่ายๆ คือ ง่ายแบบไม่ต้องคิดมาก เพิ่มภาพ ใส่ Effect ใส่ข้อความ กำหนดเวลา เพิ่มเพลง แล้วก็บรรเลงกันได้เลย อะไรประมาณนี้ ก็รู้สึกถูกใจเพราะส่วนตัวไม่ค่อยมีหัวด้าน Multimedia เท่าไรนัก อย่าว่าแต่โปรแกรมตัดต่อ Video เลยครับ ผมว่ามันยากไปสำหรับงานง่ายๆ แบบนี้ ท่านผู้นั้น (จำไม่ได้ว่าใครแนะนำมา) บอกว่าใช้ Imagination สิ โปรแกรมเล็กๆ กดๆ แล้ว export ออกมาเป็น .vob เอาไปเขียน DVD Movie ได้เลย ก็จริงอย่างที่ท่านผู้นั้นบอกครับ มันง่ายมากๆ ลองดูหน้าตาโปรแกรม





สำหรับท่านที่ใช้ Ubuntu ก็ติดตั้งผ่าน Software Center ได้เลย :) อันนี้ผลงานที่พยายามทำครับ :P





คิดว่าโปรแกรมนี้น่าจะได้ประโยชน์ตอนทำ DVD อัลบัมภาพแต่งงาน สำหรับชาว geek :P


วันจันทร์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ติดตั้ง Cloud Storage ส่วนตัวใช้งานกันเถอะ

เมื่อครั้งที่แล้วเขียน Blog เรื่อง Cloud Storage ส่วนตัว แต่ก็มีหลายท่านสอบถามมาว่าจะติดตั้งอย่างไร จะประยุกต์ใช้งานได้อย่างไร ครั้งนี้เลยมาแนะนำวิธีการติดตั้งและการประยุกต์ใช้กันครับ หากจำกันได้ Personal Cloud Storage ที่ผมแนะนำไปชื่อ ownCloud สนับสนุนการใช้งานผ่าน Web Browser, WebDev สามารถเชื่อมต่อจากอุปกรณ์และระบบปฏิบัติการต่างๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็น Windows, Mac OSX, iOS และ Android การแชร์ไฟล์สามารถทำได้ง่ายๆ ผ่านหน้าเว็บ แชร์แบบ Public หรือแชร์ให้กลุ่มหรือผู้ใช้ในระบบได้ มีปฏิทินและที่อยู่ติดต่อ ทำงานร่วมกับโปรแกรมอย่าง Thunderbird, Kontact และ Evolution ได้ ในส่วนเพลงและไฟล์มัลตอมีเดียต่างๆ สามารถเล่นเพลงแบบ Streamming ได้ผ่าน Ampache นอกจากนี้ ownCloud ยังสามารถเพิ่ม Plugin เพื่อเพิ่มความสามารถได้อีกหลายอย่าง เช่น การเชื่อมต่อกับ Directory Services, Bookmark, OpenID, remoteStorage เป็นต้น มาดูการติดตั้ง ownCloud กันครับ



ownCloud เป็น Web Application ทำงานบน Apache, PHP เก็บข้อมูลใน MySQL หรือ SQLite ได้ เพราะฉนั้นเราต้องมี Application Server เหล่านี้ เริ่มที่ Application Server กันก่อน



sudo apt-get install apache2 php5 php-pear php-xml-parser php5-sqlite php5-json sqlite php5-mysql mp3info curl libcurl3 libcurl3-dev php5-curl zip



จากนั้นดาวน์โหลด ownCloud แล้วติดตั้งลงใน /var/www



wget http://owncloud.org/releases/owncloud-2.tar.bz2
tar -xvf owncloud-2.tar.bz2
sudo mv owncloud /var/www/owncloud



จากนั้นกำหนด permission ให้ Apache สามารถจัดการไฟล์ได้



sudo chown -R www-data:www-data /var/www/owncloud



จากนั้นสั่ง restart Apache ดังนี้



sudo /etc/init.d/apache2 restart



เปิดเว็บเบราเซอร์ไปยัง http://localhost/owncloud จะเข้าสู่การติดตั้งโปรแกรม





กำหนดรหัสผ่านสำหรับผู้ดูแลระบบแล้วคลิกปุ่ม Finish Setup ได้เลย การใช้งานไฟล์ผ่าน WebDav บน Linux Desktop ผ่าน Nautilus ตั้งค่าดังนี้





ลองคัดลอกไฟล์ลงไปครับ





ในหน้าเว็บก็จะพบไฟล์ดังนี้





สำหรับการใช้บนระบบปฏิบัติการอื่นๆ ก็คอนฟิกผ่าน WebDav เช่นกันครับ ส่วนบน Android ก็มี WebDev Client ให้เล่นเหมือนกันลองค้นหาใน Android Market ครับ


จัดการมือถือผ่านเบราเซอร์ด้วย AirDroid

ช่วงนี้มี Apps ใหม่ๆ เยอะที่น่าสนุกหลายตัว วันนี้เลยหยิบโปรแกรมที่คิดว่าน่าจะมีประโยชน์สำหรับท่านที่ใช้มือถือและ Tablet ที่เป็น Android มาให้ได้ลองเล่นกัน หลายท่านมักจะลืมพกสาย USB หรือตัวแปลง Mini SD Card ทำให้การทำงานระหว่างเครื่อง PC Desktop กับมือถือหรือ Tablet เริ่มจะไม่ค่อยคล่องตัว ซึ่งผมเองก็มีปัญหานี้ประจำเพราะต้องใช้ Tablet ที่ไม่มี USB Adapter ในการแลกเปลี่ยนไฟล์ที่มีขนาดใหญ่กับเครื่องคอมพิวเตอร์จึงทำได้ลำบาก แต่ผมก็มี Apps ช่วยเลยได้เอามาแนะนำให้ได้ลองกันครับ Apps นี้ชื่อ AirDroid เป็นโปรแกรมเล็กๆ ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนที่จะให้คุณจัดการมือถือหรือ Tablet Android ได้ง่ายๆ ผ่านเว็บเบราเซอร์กันเลยทีเดียว มาดูคุณสมบัติของ Apps นี้กันครับ




  • จัดการไฟล์

  • จัดการ SMS

  • จัดการโปรแกรม

  • จัดการภาพถ่าย

  • แบ่งปันคลิปบอร์ดระหว่างมือถือกับคอมพิวเตอร์

  • จัดการข้อมูลติดต่อ

  • จัดการ Ringtone

  • จัดการเพลง



วิธีการใช้งานก็ง่ายมากครับ เพียงแต่ติดตั้ง AirDroid ลงมือถือหรือ Tablet ของคุณ จากนั้นเปิดโปรแกรมขึ้นมา โปรแกรมจะเริ่มต้น web services และแสดงข้อมูล URL ในการเชื่อมต่อพร้อมทั้ง password ในการล็อกอิน ตัวอย่างดังภาพ





จากนั้นเปิดเว็บเบราว์เซอร์ขึ้นมาเข้าตาม URL ที่โปรแกรมบอกจะได้หน้าจอประมาณนี้





ให้กรอก Password ก็จะเข้าหน้าจอหลัก





ที่เหลือก็จัดการไฟล์ รูปภาพ เพลง ฯลฯ ได้สบายขึ้นละครับ









ใครมีมือถือหรือ Tablet ที่เป็น Android ต้องลองครับ :)


แสดงการกดแป้นพิมพ์ด้วย Screen Key

Screen Key เป็นโปรแกรมแสดงแป้นพิมพ์ที่เรากดบนหน้าจอเหมาะสำหรับการทำ Video Tutorial เพราะไม่ต้องมานั่ง Insert คำสั่งหรือแป้นพิมพ์บนหน้าจอตอนตัดต่ออีกรอบ ทำให้ง่ายในการทำ Video Tutorial มากขึ้น หลายคนอาจประยุกต์ใช้ในงานอบรมกลุ่มใหญ่ๆ ก็ได้เช่นกัน มาดูการทำงานกันครับ





ติดตั้ง Screen Key ก็ง่ายมาก ดาวน์โหลดไฟล์ .deb ที่เว็บโครงการ แล้วติดตั้งกันได้เลย :)


วันอังคารที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2554

เทคนิคการเล่น Gnome Shell ให้สนุก

หลายคนพยายามหาวิธีใช้ Gnome Shell ซึ่งหน้าตาของ Desktop ออกจะแปลกจนหาวิธีใช้งานเองไม่ค่อยได้ สำหรับท่านที่ตาม Video Promote Gnome 3.0 ตั้งแต่ต้นก็จะทราบวิธีการเล่น Gnome Shell ไปในตัว เพราะจะมีการแนะนำคุณสมบัติใหม่ๆ และวิธีการใช้งานพร้อมกับเทคนิคเล็กๆ ซึ่งใครพลาดไม่ได้ดูหรือตามไม่ทัน ก็ตามอ่านจาก How To นี้ได้ครับ วิธีการเล่น Gnome Shell ให้สนุกต้องใช้ Mouse และ Keyboard ประกอบกันมันถึงจะสนุก มาลองกันเลยดีกว่า



ส่วน Desktop




  • กด Alt+Tab จะเป็นการแสดงรายการโปรแกรมที่เปิดอยู่ ถ้าใช้ปุ่มลูกศรซ้าย-ขวา-บน-ล่าง ร่วมด้วยก็จะสามารถเลื่อนและเลือกหน้าจอของโปรแกรมที่ต้องการได้ง่ายขึ้น


  • กด Alt+` (ปุ่มที่อยู่บนปุ่ม Tab) จะเป็นการเลือกหน้าต่างภายใต้หน้าต่างโปรแกรมนั้นๆ สำหรับโปรแกรมที่ทำงานอยู่ใน Workspace อื่นจะมีเส้นคั่นอยู่


  • กด Alt+F2 จะเปิดหน้าต่าง run command ถ้าคุณต้องการเปิด Terminal ให้กด Ctrl+Enter ใน Linux Distribution บางตัวใช้ปุ่ม Ctrl+Alt+Enter


  • ขยายหน้าต่างให้เต็มจอ ให้คลิกหน้าต่างแล้วลากหน้าต่างไปชนขอบบนของจอภาพ


  • แบ่งหน้าจอ 2 ฝั่ง ให้คลิกหน้าต่างแล้วลากหน้าต่างไปชนขอบซ้ายหรือขวาของจอภาพ




ส่วน Panel




  • แสดงหน้าต่างปฏิทิน Panel จะเป็นส่วนการแสดงผลปุ่ม Activity นาฬิกา Notification icons และ User menu คุณสามารถคลิกที่นาฬิกาเพื่อแสดงหน้าต่างปฏิทินได้


  • ปุ่ม Power Off... ที่หายไป หลายท่านพยายามหา Extension มาติดตั้งเพื่อแสดงผลปุ่ม Power Off... ซึ่งมันถูกซ่อนอยู่ หากต้องการให้ปุ่มนี้แสดงผลให้กดปุ่ม Alt ขณะที่อยู่ใน User menu ปุ่ม Power Off... ก็จะโผล่ออกมา




เปลี่ยนการทำงานไปยังโปรแกรมต่างๆ




  • Hot Corner เลื่อน mouse ไปชนมุมซ้ายบนจะแสดงหน้าต่างของโปรแกรมที่เปิดอยู่ คุณสามารถคลิกเลือกหน้าต่างโปรแกรมได้ หรือจะปิดโปรแกรมได้ง่ายๆ

  • Activity button ปุ่ม Activity นี้จะเปิดการแสดงผลหน้าต่างโปรแกรมที่เปิดอยู่และกลับมาแสดงผลหน้าจอ Desktop

  • ปุ่ม System (Windows) หรือ Alt+F1 ปุ่มนี้จะทำหน้าที่เหมือนกับการกด Activity Button และการใช้ Hot Corner



ปุ่มลัดที่น่าสนใจ




  • Restart Gnome Shell กด Alt+F2 พิมพ์ r หรือ restart

  • Reload Gnome Shell Theme กด Alt+F2 พิมพ์ rt

  • Looking Glass Javascript Console กด Alt+F2 พิมพ์ lg

  • Desktop Recording กด Shift+Ctrl+Alt+R ไฟล์ video ที่ได้จะอยู่ใน Home ในรูปแบบ webm



สำหรับเทคนิคอื่นๆ สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ Gnome Shell Cheat Sheet ครับ


มาเขียน Gnome Shell Extension ง่ายๆ กัน

ปัญหามีอยู่ว่าโปรแกรมที่เขียนบน Gnome 2 ที่ใช้การฝัง icon ในส่วน Notification Panel มันดันไม่แสดงผลบน Panel ข้างบนของ Gnome 3 เพราะของที่เคยอยู่ใน Notification Area มันไปฝังอยู่ด้านล่างขวาของจอภาพ จริงๆ ก็ไม่ใช้ความผิดของ Gnome 3 นะ -_-" แต่เราสามารถปรับแต่ง Gnome 3 ให้ถูกใจเราได้ โดยการเขียน Extension นั่นเอง สำหรับบทความนี้จะมาแนะนำการเขียน Gnome Extesion ในการแก้ปัญหานี้กันครับ :) ดูภาพประกอบครับ





แก้ไขแล้ว





ส่วนประกอบของ Gnome Extension ก็ง่ายมากครับมีอยู่ 3 ไฟล์




  • extension.js - เป็น script ที่เราจะเขียนกันครับ

  • metadata.json - เป็นข้อมูล metadata ของ extension เช่น จะใช้กับ gnome-shell รุ่นใดได้บ้าง extension นี้ชื่ออะไร เป็นต้น

  • stylesheet.css - กำหนดหน้าตา extenstion เป็น css นี่แหละครับ



มาลงมือกันเลย สร้าง dir ชื่อ gofris-hide-icon@redlinesoft.net เพื่อเป็นที่เก็บ extension จะตั้งชื่อเป็น ชื่อเรียก@โดเมนเนม ดังนี้



sudo mkdir /usr/share/gnome-shell/extensions/gofris-icon-hide@redlinesoft.net



จากนั้น ก็สร้างไฟล์ metadata.json ดังนี้



{
"shell-version": ["3.0.2","3.2", "3.2.1"],
"uuid": "gofris-icon-hide@redlinesoft.net",
"name": "Gofris Status Icon",
"description": "Integrates Gofris into System Status Icon"
}



แล้วก็มาเขียน extension.js กันดังนี้



const StatusIconDispatcher = imports.ui.statusIconDispatcher;

function enable() {
StatusIconDispatcher.STANDARD_TRAY_ICON_IMPLEMENTATIONS['gofris-en'] = 'gofris-en';
}

function disable() {
StatusIconDispatcher.STANDARD_TRAY_ICON_IMPLEMENTATIONS['gofris-en'] = '';
}

function init() {
}



จากนั้น chmod ให้ extension นี้สามารถทำงานได้



sudo chmod 755 -R /usr/share/gnome-shell/extensions/gofris-icon-hide@redlinesoft.net



เปิด gnome-tweak-tool ขึ้นมาแล้วกดเปิดการทำงานของ extension นี้





อ้ออย่าลืม restart gnome shell สักรอบครับ กด alt+f2 พิมพ์ r เท่านี้ก็ใช้งานได้แล้ว :) ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเขียน gnome-extension ลองดูได้ที่ลิงค์ข้างล่างครับ




วันจันทร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2554

แต่ง Gnome ให้โดนใจ

ความเปลี่ยนแปลงและการพัฒนา Desktop Manager ใหม่ๆ ทำให้เรียนรู้การใช้งานใหม่ ก็เป็นเรื่องปกติ แต่ Linux Distribution แต่ละตัวที่มี Gnome Shell มักจะเป็นแบบเรียบง่าย และแทบจะไม่มีอะไรเลยที่หยิบจับได้คล่องตัว เลยได้มีโอกาสพยายามปรับแต่งอย่างจริงจัง จากหน้าจอเดิมๆ







กลายมาเป็นแบบนี้







อาจดูไม่ค่อยแตกต่างซักเท่าไร แต่ผมชอบแบบเรียบๆ ใช้งานง่ายๆ ก็พอครับ สำหรับ "ของ" ที่เพิ่มเข้าไปดูเพิ่มเติมในลิงค์ข้างล่างครับ




Cloud Storage ส่วนตัวกับ ownCloud

หากพูดถึง Cloud Storage คิดว่าหลายคนอาจนึกถึง DropBox, Ubuntu One และบริการอื่นๆ ที่ให้คุณฝากไฟล์ได้ง่ายๆ วันนี้จะมาแนะนำ Cloud Storage ที่คุณสามารถทำได้ง่ายๆ ที่บ้านหรือที่สำนักงานกับโครงการโอเพนซอร์สที่ชื่อว่า ownCloud โครงการนี้เป็นการพัฒนา Cloud Storage สำหรับใช้งานส่วนตัว ownCloud มีคุณสมบัติที่น่าสนใจดังนี้




  • สนับสนุน WebDAV เชื่อมต่อได้จาก filemanager ใดๆ ก็ได้ ไม่ว่า Nautilus, Dolphin หรือแม้กระทั่ง iOS, Android, Windows

  • แชร์ไฟล์ได้ง่ายเพียงคลิก

  • Calendar และ Contact สามารถใช้งานร่วมกับ Thunderbird, Kontact หรือ Evolution

  • ใช้งาน Music streaming ได้ (ผ่าน Ampache)



เอาภาพ Screenshot มาฝากเล็กน้อย





หากท่านใดสนใจก็ดูรายละเอียดเพิ่มเติมกันได้ที่ http://www.owncloud.org


เชิญร่วมงานสัมนา ส่งเสริมการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาด้านซอฟต์แวร์ และการใช้ซอฟต์แวร์ให้ถูกต้องตามกฎหมาย

ขอฝากแจ้งข่าวครับ ด้วยสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) จัดสัมมนา “ส่งเสริมการคุ้ม ครองทรัพย์สินทางปัญญาด้านซอฟต์แวร์ และการใช้ซอฟต์แวร์ให้ถูกต้องตามกฎหมาย”เพื่อให้ผู้ประกอบการซอฟต์แวร์และดิจิทัลคอนเทนต์ นิสิต/นักศึกษา รวมถึงบุคคลทั่วไป ได้เกิดความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับประโยชน์การนำไปใช้ ของกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาด้านซอฟต์แวร์ พร้อมทั้งได้มีความรู้ เกี่ยวกับแนวทางการพิจารณาเลือกใช้ซอฟต์แวร์ทางเลือก และสร้างความตระหนักในการใช้ซอฟต์แวร์ที่ ถูกต้องตามกฏหมาย ซึ่งการจัดงานจะมีทั้งสิ้น 5 ครั้ง ได้แก่




  • ครั้งที่ 1 จังหวัดเชียงใหม่ วันศุกร์ที่ 16 ธันวาคม 2554 ณ ห้องประชุมเจนิวา ชั้น 2 โรงแรมเมอร์เคียว อ.เมือง จ.เชียงใหม่

  • ครั้งที่ 2 กรุงเทพมหานคร วันศุกร์ที่ 13 มกราคม 2555 ณ โรงแรมดิ เอมเมอรัลด์ ถนนรัชดาภิเษก กรุงเทพฯ

  • ครั้งที่ 3 จังหวัดขอนแก่น วันศุกร์ที่ 30 มกราคม 2555 ณ โรงแรมโฆษะ อ.เมือง จ.ขอนแก่น

  • ครั้งที่ 4 จังหวัดสงขลา (อำเภอหาดใหญ่) วันศุกร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 ณ โรงแรมโกล้เด้นคราวน์พลาซ่า อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา

  • ครั้งที่ 5 กรุงเทพมหานคร วันศุกร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2555 ณ โรงแรมดิ เอมเมอรัลด์ ถนนรัชดาภิเษก กรุงเทพฯ



โดยผู้เข้าร่วมงานไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น ผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ประสานงานโครงการฯ เบอร์โทรศัพท์ 02 – 949 – 5404 ต่อ 11, 12



สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ประสานงานโครงการฯ




  • คุณดารุณี 086 – 980 – 9999

  • คุณสรัญญา 083 – 292 - 8250


ClassStart.org ห้องเรียนออนไลน์บนกลุ่มเมฆ

เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 84 พรรษา 5 ธันวาคม 2554 ศูนย์พัฒนานวัตกรรมเพื่อการจัดการความรู้และการเรียนรู้ (UsableLabs) คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ผู้ให้บริการ GotoKnow.org) ขอแนะนำระบบจัดการชั้นเรียนออนไลน์ ClassStart.org เพื่อให้บริการฟรีแก่ทุกสถานศึกษาทั่วประเทศไทยในทุกระดับชั้น



ClassStart.org ได้รับการพัฒนาให้สอดคล้องกับรูปแบบการเรียนการสอนของไทย เพื่อให้ผู้สอนจัดการชั้นเรียนได้อย่างสะดวกขึ้นจริงและให้ผู้เรียนเข้าถึงการเรียนการสอนออนไลน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ความสามารถของระบบในปัจจุบัน ได้แก่




  • การให้การบ้านกลุ่มและเดี่ยว

  • การตรวจการบ้าน

  • การให้คะแนน

  • การดาวน์โหลดคะแนนรวมเพื่อการคำนวณเกรด

  • การจัดการเอกสารการสอน

  • การมีผู้ช่วยสอน

  • ข่าวประกาศของชั้นเรียน

  • เว็บบอร์ดสนทนาในชั้นเรียน

  • บันทึกการเรียนรู้ (Reflective journal)



ClassStart.org ให้บริการโดยใช้เทคโนโลยี Cloud Computing จากผู้ให้บริการชั้นนำระดับโลก ทำให้สามารถรองรับชั้นเรียนได้ไม่จำกัดจำนวนและไม่จำกัดปริมาณข้อมูล จากการเริ่มให้บริการในสี่เดือนที่ผ่านมา ClassStart.org มีสมาชิกแล้วประมาณ 7,000 คน และมีชั้นเรียนประมาณ 850 ชั้นเรียน ท่านสามารถทดลองใช้บริการ http://classstart.org/ โดยสามารถศึกษาการใช้งานได้ที่ http://help.classstart.org/ และหากท่านมีข้อเสนอแนะหรือพบปัญหาการใช้งานท่านสามารถส่งอีเมลมาได้ที่ support@classstart.org



ClassStart.org คือระบบจัดการชั้นเรียนออนไลน์ พัฒนาโดยทีมงาน GotoKnow.org ให้บริการโดย ศูนย์พัฒนานวัตกรรมเพื่อการจัดการความรู้และการเรียนรู้ (UsableLabs) คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สนับสนุนโดย ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สสส.


วันอังคารที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

สร้าง OpenSUSE service image สำหรับ OpenStack

บังเอิญได้มีโอกาสเล่น OpenStack ผ่าน Community Cloud เลยได้ลองทำ Services Image สำหรับ OpenStack ดูบ้าง ซึ่งวิธีการไม่แตกต่างจากการทำ Image สำหรับ Eucalyptus สักเท่าไร หลักการทำมีดังนี้




  • สร้าง Image แบบ qcow2 เพื่อใช้เป็น Disk Image

  • ใช้ kvm ติดตั้ง OpenSUSE ลงใน Disk Image

  • ปรับแต่ง Disk Image เพื่อติดตั้ง ssh key




มาลงมือกันเลยครับ เริ่มจากสร้าง Disk Image ให้พอสำหรับติดตั้ง OpenSUSE



kvm-img create -f qcow2 opensuse.img 5G



จากนั้นก็ติดตั้ง OpenSUSE ลงไปใน Disk Image



kvm -m 512 -cdrom openSUSE-11.4-DVD-x86_64.iso -drive file=opensuse.img,if=virtio,index=0 -boot d -net nic -net user -nographic -vnc :1



ใช้ VNC ต่อไปยัง VM ที่เรา run ดังนี้



vncviewer 10.10.10.1 :1



เลือกติดตั้ง SSH Server, CURL และ package ที่ต้องการ หลังจากติดตั้งเสร็จให้ shutdown VM และ boot เพื่อปรับแต่งดังนี้



kvm -m 512 -drive file=opensuse.img,if=virtio,index=0,boot=on -boot c -net nic -net user -nographic -vnc :1



ให้ VNC เชื่อมต่อเหมือนเดิม ใช้ zypper ติดตั้ง openssh, curl ดังนี้



zypper install openssh curl



เพิ่ม ssh key อัตโนมัติเมื่อ start instance ให้สร้างไฟล์ /etc/init.d/sshkey แล้วใส่ config ลงไปดังนี้



echo >> /root/.ssh/authorized_keys
curl -m 10 -s http://169.254.169.254/latest/meta-data/public-keys/0/openssh-key | grep 'ssh-rsa' >> /root/.ssh/authorized_keys
echo "AUTHORIZED_KEYS:"
echo "************************"
cat /root/.ssh/authorized_keys
echo "************************"



เปลี่ยน permission ให้ execute ได้ดังนี้



chmod 755 /etc/init.d/sshkey



จากนั้น config ให้เริ่มทำงานทุกครั้งเมื่อ boot เครื่องดังนี้



chkconfig sshkey on



ตั้งค่า firewall ให้ ssh เข้ามาได้ ใช้ yast2 ไม่ใช่ iptable นะจ๊ะ



yast2



จากนั้นลบ network persistance rules ออก เพื่อให้ instance จัดการ network insterface ได้ถูกต้อง



rm -rf /etc/udev/rules.d/70-persistent-net.rules



เท่านี้ก็เรียบร้อยแล้ว :) shutdown VM แล้ว



หากต้องการใช้งานก็ Upload Image ไปยัง OpenStack ได้เลย โดยใช้คำสั่ง



cloud-publish-image amd64 opensuse.img opensusebucket



หลังจาก Upload Image เสร็จเรียบร้อยแล้ว เราจะได้หมายเลข ami กับไฟล์ image manifest ดังนี้



ami-00000001 opensusebucket/opensuse.img.manifest.xml



หากต้องการ start instance ก็สามารถสั่ง run ได้เลย โดยใช้คำสั่ง



euca-run-instances ami-00000001 -k mykey -t m1.tiny



สำหรับการทำ Service Image จาก Linux Distribution อื่นๆ ก็ใช้วิธีการคล้ายๆ กันนี้ครับ


วันอังคารที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

Suriyan 54.10+1 มีอะไรบ้าง?

ช่วงน้ำท่วมนี้ยังมีงานพัฒนาที่ค้างมาจากเดือนตุลาคม นั่นคือ Suriyan 54.10 Thousand Sunny ซึ่งออกไม่ตรงเวลา เนื่องจากความไม่แน่นอนของหน่วยงานว่าจะให้ออก หรือจะให้หยุด แต่ก็ได้ทำมาครึ่งทางแล้ว ก็ขอออกรุ่นในช่วงเดือนพฤษจิกายนนี้ก็แล้วกัน เป็นที่รู้กันอยู่แล้วว่า Suriyan พัฒนาต่อยอดมาจาก Ubuntu ซึ่งรุ่นนี้ก็ใช้ Ubuntu 11.10 Oneric Ocelot เป็นฐาน ซึ่งมาพร้อมกับ Unity Desktop และ Gnome 3 ซึ่งผู้ใช้สามารถเลือกได้ว่าจะใช้ Desktop แบบไหน สำหรับซอฟต์แวร์ที่เพิ่มเติมเข้าไป ได้แก่ Multi Media Codec, Flash Player 11 , Firefox 8, Chrome 15, Libre Office 3.4.4 เป็นต้น



ในรุ่นนี้มีความเปลี่ยนแปลงนิดหน่อยคือ มีโครงการ Chantra เข้ามาร่วมด้วย นั่นหมายความว่า ถ้าเอาแผ่นไป Boot เครื่อง จะกลายเป็น Suriyan ถ้าเอาแผ่นใส่ใน Windows จะกลายเป็น Chantra 54.10 ที่ต้องทำแบบนี้ก็เพราะว่าใช้พื้นที่ในแผ่น DVD ให้คุ้มค่านั่นเอง สำหรับ Suriyan, Chantra จะไม่มีการปั๊มแจกอีกต่อไป หากท่านใดต้องการสามารถดาวน์โหลดได้ที่ pub.thaiopensource.org ครับ เอา Screen Shot มาฝากเล็กน้อย




















วันพุธที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ขอเชิญทุกท่านอบรมหลักสูตร OpenOffice.org/Libreoffice รายได้ทั้งหมดไม่หักค่าใช้จ่ายช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม

นิตยสารโอเพนซอร์สทูเดย์ ขอเชิญผู้สนใจทุกท่าน เข้ารับการอบรมในหลักสูตร "การใช้งาน OpenOffice.org/Libreoffice ในองค์กร" เพื่อร่วมทำบุญด้วยการนำรายได้ทั้งหมดจากการอบรมโดยไม่หักค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น นำไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม โดยหลักสูตร OpenOffice.org/Libreoffice รุ่นน้ำท่วมนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อนำรายได้ทั้งหมดไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม จึงไม่สามารถออกใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษีได้ แต่จะออกเป็นบิลเงินสดแทน เพื่อให้ท่านนำไปเบิกเป็นค่าใช้จ่ายภายในองค์กรของท่าน นอกจากนี้ ท่านจะได้รับเกียรติบัตรในการเข้ารับการอบรมครั้งนี้จากนิตยสารโอเพนซอร์สทูเดย์อีกด้วย ดำเนินการสอนโดย ภาณุภณ พสุชัยสกุล บรรณาธิการบริหารนิตยสารโอเพนซอร์สทูเดย์ ค่าใช้จ่ายเพียงท่านละ 1,000 บาทเท่านั้น ด่วน! รับจำนวนจำกัด เพียงรุ่นละ 20 คน จำนวน 5 รุ่น รุ่นละ 1 วัน ตั้งแต่เวลา 9.00-16.00 น. ณ ห้องอบรมของนิตยสารโอเพนซอร์สทูเดย์ อาคารอโศกทาวเวอร์ส ชั้น 4 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 08-7099-0005
รุ่นที่ 1 วันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554
รุ่นที่ 2 วันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2554
รุ่นที่ 3 วันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2554
รุ่นที่ 4 วันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2554
รุ่นที่ 5 วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2554



ลงทะเบียนได้ที่ http://tinyurl.com/75xk48k


วันจันทร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

Firefox 8 ออกแล้ว

หลังจากรอ beta มาหลายเดือนวันนี้ FIrefox 8 ก็เผยโฉมหน้าออกมาแล้ว โดยในรุ่นนี้มีการเปลี่ยนแปลง ได้แก่




  • Search Bar ที่มี twitter โผล่มาด้วย

  • ไม่อนุญาติให้ติดตั้ง add-on จากเว็บภายนอก ต้องติดตั้งจากเว็บ Mozilla เท่านั้น

  • เว็บที่เป็น HTML5 กิน resource น้อยลง

  • ปรับปรุงเรื่องการแสดงแอนิเมชั่นของ Tab

  • สนับสนุน Tag menu

  • สนับสนุน insertAdjacentHTML

  • ปรับปรุง CSS hyphen

  • ปรับปรุง WebSocket



ใครเป็นแฟนคลับ Firefox สามารถดาวน์โหลดได้ที่ ftp.mozilla.org ดังนี้





ส่วนวันที่เปิดให้อัพเดทผ่านทางตัวโปรแกรมจะเริ่มในวันอังคารที่ 8 พ.ย. นี้


วันพุธที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2554

วิธี Login เข้า GNOME ใน 11.10

หลังจาก 11.10 ออกมาแล้ว คิดว่าผู้ใช้ส่วนหนึ่งคงไม่ชอบกับการถูกบังคับให้ใช้ Unity สักเท่าไหร่ (ถ้าอยากใช้แนะนำให้อ่านวิธีใช้งาน Ubuntu 11.04 และ Unity) แต่ไม่ต้องห่วงเพราะเมื่อมันเป็นโอเพนซอร์ส เราย่อมมีทางเลือกเสมอ วิธีง่ายๆ ก็ Login กลับเข้าไปใน GNOME แบบเดิม สิ่งที่ต้องทำก็แค่ติดตั้งแพกเกจเพิ่มเติมนิดหน่อย



แพกเกจที่เราต้องติดตั้งเพิ่มคือ gnome-session-fallback และ gnome-shell สามารถค้นหาในโปรแกรมศูนย์ซอฟต์แวร์ Ubuntu ได้เลย



เมื่อติดตั้งแพกเกจทั้งคู่แล้ว ครั้งต่อไปที่เข้าระบบ ให้คลิกที่ไอคอนรูปเฟืองที่หน้าจอเข้าระบบจะพบตัวเลือก GNOME ให้เลือก





เพียงเท่านี้คุณก็จะมีความสุขกับ GNOME ดั้งเดิมของคุณได้แล้วครับ



ที่มา - ubuntuclub


SUSE เปิดตัว SUSE Cloud ขับเคลื่อนโดย OpenStack

SUSE (ในแผนกหนึ่งของ Attachmate) ประกาศการออกรุ่น development snapshot ของ SUSE Cloud Solution โดยใช้ OpenStack ในรุ่น development preview ใช้ OpenStack รุ่นที่ 4 (2011.3) รหัสพัฒนา Diablo ทำงานบน SUSE Linux Enterprise Server 11 SP1 ในส่วนของ OpenStack ที่ถูกรวมเข้าไปนั้นมี OpenStack Dashboard รวมอยู่ด้วย สำหรับรายละเอียดของ SUSE Cloud สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ press release และดูการทำงานของ SUSE Cloud ได้ที่ Youtube ขณะนี้ SUSE Cloud ยังอยู่ในรุ่น Alpha ซึ่งนักพัฒนาสามารถสร้างและดาวน์โหลดผ่านทางบริการของ SUSE Gallery ได้


บริการจัดการ Cloud ของคุณด้วย Aeolus

Aeolus เป็นโครงการโอเพนซอร์สตัวใหม่ล่าสุด ที่เกี่ยวกับ Cloud โดยทำหน้าที่เป็นตัวบริหารจัดการไม่ได้เป็นตัวสร้าง Cloud แต่อย่างใด โดยโปรแกรมนี้สามารถจัดการทั้ง Private Cloud และ Public Cloud ได้ง่ายเพียงคลิกเมาส์





ส่วนประกอบของ Aeolus มีดังนี้




  • Aeolus Conductor : เป็นส่วนติดต่อผู้ใช้ที่สามารถจัดการผู้ใช้ ทรัพยากร รวมไปถึง instance (VM) ของผู้ใช้ที่อยู่บน Cloud Provider ต่างๆ

  • Aeolus Composer : เป็นตัวสร้าง image จาก template ที่ผู้ใช้กำหนด สามารถเลือกสร้าง Image ได้ตรงกับ Cloud Provider ที่เราต้องการได้

  • Aeolus Orchestrator : เป็นส่วนบริหารจัดการ instance ซึ่งผู้ใช้สามารถสร้าง instance อื่นๆ ได้ จาก instance บน Cloud หนึ่งหรือ Cloud หลายๆ ที่ได้

  • Aeolus HA Manager : เป็นส่วนที่ทำ HA ให้ instance หรือกลุ่มของ instance



สิ่งต่างๆ เหล่านี้ได้มาจาก abstract library ของโครงการ Deltacloud สำหรับท่านที่ต้องการทดสอบ Aeolus สามารถดาวน์โหลดได้ที่ เว็บไซต์โครงการ Aeolus * ข้อควรระวัง การทดสอบ Aeolus บน Amazon EC2 จะมีค่าใช้จ่าย


วันอังคารที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ประกาศเลื่อนการจัดงาน Joomladay Bangkok 2011

JoomlaCorner.com ในฐานะผู้จัดงาน ขอประกาศเลื่อนกำหนดการจัดงาน "Joomla Day Bangkok 2011" จากเดิม วันเสาร์ที่ 29 ตุลาคม 2554 ไปเป็น วันเสาร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ 2555 โดยยังจัดที่สถานที่เดิม คือ โรงแรมเอเชีย เนื่องด้วยภาวะน้ำท่วมที่กำลังวิกฤตอยู่ในขณะนี้ ทำให้หลายท่านไม่สะดวกในการเดินทาง และไม่สามารถเข้าร่วมงานในครั้งนี้ได้ ทีมผู้จัดงานจึงขออนุญาตเลื่อนการจัดงานในครั้งนี้ออกไปก่อน สำหรับทุกท่านที่ได้ชำระเงินแล้ว ท่านสามารถเข้าร่วมงานในวันดังกล่าวได้ทันที และสำหรับท่านที่ยังไม่ได้ลงทะเบียน ท่านสามารถลงทะเบียนได้จนถึงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2555 จึงเรียนมาเพื่อทราบและขออภัยในความไม่สะดวกมา ณ โอกาสนี้ ต้องการสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 02 717 1120 หรือ http://www.joomladay.in.th


วันพฤหัสบดีที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2554

Ubuntu 11.10 "Oneiric Ocelot" ออกแล้ว

รุ่นนี้ไม่มีการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่แบบรุ่นก่อน แต่เป็นการปรับปรุง Unity ให้สมบูรณ์มากขึ้น



การเปลี่ยนแปลงหลักๆ ได้แก่




  • ปรับปรุง Unity อีกหลายจุด โดยเฉพาะการรวม Dash/Lenses เข้ามาอยู่ในหน้าหลักของ Unity

  • เปลี่ยนหน้าจอล็อกอินจาก GDM มาเป็น LightDM

  • Thunderbird, Firefox 7, LibreOffice

  • Software Center ปรับปรุงใหม่



รายละเอียดอ่านได้จาก OMG Ubuntu และรุ่นนี้พิเศษหน่อย Canonical มีหน้าจำลองเดสก์ท็อปของ Ubuntu 11.10 ให้เล่นกันด้วย



สนใจดาวน์โหลดได้ที่ ubuntu.com, pub.thaiopensource.org



ที่มา: Blognone


5 ขั้นตอนหลังติดตั้ง Ubuntu 11.10

Ubuntu 11.10 Oneiric Ocelot ออกแล้วหลังติดตั้งคงต้องมาปรับแต่งกันอีกนิดหน่อยเพื่อความสมบูรณ์ในการใช้งาน วันนี้จะมาแนะนำขั้นตอนการติดตั้งโปรแกรมเพิ่มเติมที่จำเป็นต้องใช้ดังนี้




  • GIMP

  • Inkscape

  • VLC

  • Shutter

  • Sound Converter

  • Sound Juicer

  • Easy Tag

  • Font Thai

  • MP3 Codec, Flash Player, Mozilla Plugin



เอาเท่านี้ก่อนละกัน :) หลังจากติดตั้ง Ubuntu 11.10 ในโหมดภาษาไทย ตัวโปรแกรมจะ config keyboard ภาษาไทยให้อัตโนมัติ หากท่านใดที่ติดตั้งในโหมดภาษาอังกฤษต้องไป config เพิ่มเอาเองนะครับ



1. หลังติดตั้งให้อัพเกรดซักรอบ



อัพเดท package cache ก่อนด้วยคำสั่ง



sudo apt-get update



จากนั้นสั่งอัพเกรดด้วยคำสั่ง



sudo apt-get upgrade



2. ติดตั้งคลังซอฟต์แวร์ของ Suriyan เพิ่มเติม



ติดตั้งคลังซอฟต์แวร์ของ Suriyan ใช้คำสั่ง



sudo wget http://pub.thaiopensource.org/suriyan-repo/pool/main/s/suriyan-repository/suriyan-repository_1.1-4_all.deb



จากนั้นติดตั้งคลังซอฟต์แวร์เพิ่มเติมด้วยคำสั่ง



sudo dpkg -i suriyan-repository_1.1-4_all.deb



อัพเดท package cache อีกรอบด้วยคำสั่ง



sudo apt-get update



3. ติดตั้ง Font ภาษาไทยเพิ่มเติม



ติดตั้ง Font ภาษาไทยเพิ่มเติมโดยใช้คำสั่ง



sudo apt-get install ttf-ftpi ttf-sarabun-new ttf-sipa-dip ttf-tepc ttf-thai-siampradesh ttf-thaifont-abc ttf-sarabun-new



4. ติดตั้ง Multimedia Codec เพิ่มเติม (กรณีที่ลืมกดให้ติดตั้งพร้อมกับตอนที่ติดตั้ง)



sudo apt-get install ubuntu-restricted-extras ubuntu-restricted-addons



5. ติดตั้งโปรแกรมที่ต้องการเพิ่มเติม



sudo apt-get install gimp inkscape shutter vlc soundconverter sound-juicer easytag



เท่านี้ก็ได้ Ubuntu 11.10 ที่ตรงกับความต้องการละ :)


วันจันทร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2554

มาใช้ Thai Open Source App กัน

สืบเนื่องจากเรียนเขียนโปรแกรมบน Android ไม่จบคอร์ส เพราะตื่นสาย (เรียนตอนตี 3 กว่าๆ) เลยทำให้เรียนไม่ทันเพื่อนๆ ในชั้นเรียน ก็เลยคิดว่าหลังจากที่ได้เรียน 2 บทแรกก็คิดว่าน่าจะเขียน App บน Android แบบเบื้องต้นได้แล้วล่ะน่า อย่างเช่น HelloWorld :P อะไรทำนองนี้ แต่เราเป็นศิษย์มีครูอยู่ต่างประเทศ เราจะเขียน Hello World เป็นอย่างเดียวได้อย่างไร ก็เลยเขียน Mobile App ขึ้นมาเล่นๆ ตัวนึงแบบง่ายนะไม่ซับซ้อน...คือเรียนไม่จบคอร์ส จะเอาอะไรยากนักหนา โปรแกรมนี้ชื่อ Thai Open Source App เจ้าตัวนี้เป็นลูกครึ่งระหว่าง Web Application + Web Service + Android App จะอธิบายง่ายๆ ก็คือ มันเป็น App เอาไว้เข้าหน้าเว็บ Thai Open Source แบบ Mobile คือเนื้อหาจะไม่ครบตามเว็บ เนื่องจากมันเป็น Mobile ใช่ป่ะ มันก็เลยมาเท่าที่ XML Feed จะให้ได้ (แก้ตัวน้ำขุ่นๆ อ่ะนะ) อ่ะ เอาจริงๆ ละ ก็อย่างที่บอกครับ โปรแกรมมี 3 ส่วน




  1. Web Service ที่บอกว่าเป็น Web Services ก็เนื่องจาก Web Application ข้างต้นใช้ข้อมูล YQL จาก RSS Feed ที่ได้มาจาก Thai Open Source เจ้า YQL จะเป็นตัว Query และแปลงผลลัพท์ออกมาเป็น json เอาไปให้ Web Application อีกที

  2. Web Application เป็นเว็บที่พัฒนาด้วย jQuery Mobile ทำให้เว็บเล็กเร็วและสวยงาม เล่น Effect ได้เหมือนเขียน App จริงๆ

  3. Mobile App เขียนบน Android มี WebView อยู่ตัวนึงเปิดเว็บ Web Application งี่เง่าตัวนึงไว้



จริงๆ แล้วไม่ต้องทำอะไรให้มันดูยุ่งยากขนาดนี้ก็ได้ เช่นเขียน RPC ต่อกับ Drupal โดยตรงอะไรอย่างนี้ แต่ด้วยความที่เป็นศิษย์มีครูอยู่ต่างประเทศก็เลยเล่นท่ายากส์นิดนึง สำหรับหน้าจอโปรแกรมดูด้านล่างเลยครับ ผมมีแต่ tablet บ้านยากจนไม่มีตังค์ซื้อมือถือ Android น่ะครับ :P









สำหรับท่านที่ต้องการทดสอบดาวน์โหลดได้ที่ http://thaiopensource.googlecode.com/files/toss-mobile-app_1.3.apk หรือจาก QR Code ข้างล่าง





สำหรับในอนาคตคงได้เขียน Android App ที่เป็นเรื่องเป็นราวมากกว่านี้ครับ ;)