วันพุธที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2554

วิธี Login เข้า GNOME ใน 11.10

หลังจาก 11.10 ออกมาแล้ว คิดว่าผู้ใช้ส่วนหนึ่งคงไม่ชอบกับการถูกบังคับให้ใช้ Unity สักเท่าไหร่ (ถ้าอยากใช้แนะนำให้อ่านวิธีใช้งาน Ubuntu 11.04 และ Unity) แต่ไม่ต้องห่วงเพราะเมื่อมันเป็นโอเพนซอร์ส เราย่อมมีทางเลือกเสมอ วิธีง่ายๆ ก็ Login กลับเข้าไปใน GNOME แบบเดิม สิ่งที่ต้องทำก็แค่ติดตั้งแพกเกจเพิ่มเติมนิดหน่อย



แพกเกจที่เราต้องติดตั้งเพิ่มคือ gnome-session-fallback และ gnome-shell สามารถค้นหาในโปรแกรมศูนย์ซอฟต์แวร์ Ubuntu ได้เลย



เมื่อติดตั้งแพกเกจทั้งคู่แล้ว ครั้งต่อไปที่เข้าระบบ ให้คลิกที่ไอคอนรูปเฟืองที่หน้าจอเข้าระบบจะพบตัวเลือก GNOME ให้เลือก





เพียงเท่านี้คุณก็จะมีความสุขกับ GNOME ดั้งเดิมของคุณได้แล้วครับ



ที่มา - ubuntuclub


SUSE เปิดตัว SUSE Cloud ขับเคลื่อนโดย OpenStack

SUSE (ในแผนกหนึ่งของ Attachmate) ประกาศการออกรุ่น development snapshot ของ SUSE Cloud Solution โดยใช้ OpenStack ในรุ่น development preview ใช้ OpenStack รุ่นที่ 4 (2011.3) รหัสพัฒนา Diablo ทำงานบน SUSE Linux Enterprise Server 11 SP1 ในส่วนของ OpenStack ที่ถูกรวมเข้าไปนั้นมี OpenStack Dashboard รวมอยู่ด้วย สำหรับรายละเอียดของ SUSE Cloud สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ press release และดูการทำงานของ SUSE Cloud ได้ที่ Youtube ขณะนี้ SUSE Cloud ยังอยู่ในรุ่น Alpha ซึ่งนักพัฒนาสามารถสร้างและดาวน์โหลดผ่านทางบริการของ SUSE Gallery ได้


บริการจัดการ Cloud ของคุณด้วย Aeolus

Aeolus เป็นโครงการโอเพนซอร์สตัวใหม่ล่าสุด ที่เกี่ยวกับ Cloud โดยทำหน้าที่เป็นตัวบริหารจัดการไม่ได้เป็นตัวสร้าง Cloud แต่อย่างใด โดยโปรแกรมนี้สามารถจัดการทั้ง Private Cloud และ Public Cloud ได้ง่ายเพียงคลิกเมาส์





ส่วนประกอบของ Aeolus มีดังนี้




  • Aeolus Conductor : เป็นส่วนติดต่อผู้ใช้ที่สามารถจัดการผู้ใช้ ทรัพยากร รวมไปถึง instance (VM) ของผู้ใช้ที่อยู่บน Cloud Provider ต่างๆ

  • Aeolus Composer : เป็นตัวสร้าง image จาก template ที่ผู้ใช้กำหนด สามารถเลือกสร้าง Image ได้ตรงกับ Cloud Provider ที่เราต้องการได้

  • Aeolus Orchestrator : เป็นส่วนบริหารจัดการ instance ซึ่งผู้ใช้สามารถสร้าง instance อื่นๆ ได้ จาก instance บน Cloud หนึ่งหรือ Cloud หลายๆ ที่ได้

  • Aeolus HA Manager : เป็นส่วนที่ทำ HA ให้ instance หรือกลุ่มของ instance



สิ่งต่างๆ เหล่านี้ได้มาจาก abstract library ของโครงการ Deltacloud สำหรับท่านที่ต้องการทดสอบ Aeolus สามารถดาวน์โหลดได้ที่ เว็บไซต์โครงการ Aeolus * ข้อควรระวัง การทดสอบ Aeolus บน Amazon EC2 จะมีค่าใช้จ่าย


วันอังคารที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ประกาศเลื่อนการจัดงาน Joomladay Bangkok 2011

JoomlaCorner.com ในฐานะผู้จัดงาน ขอประกาศเลื่อนกำหนดการจัดงาน "Joomla Day Bangkok 2011" จากเดิม วันเสาร์ที่ 29 ตุลาคม 2554 ไปเป็น วันเสาร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ 2555 โดยยังจัดที่สถานที่เดิม คือ โรงแรมเอเชีย เนื่องด้วยภาวะน้ำท่วมที่กำลังวิกฤตอยู่ในขณะนี้ ทำให้หลายท่านไม่สะดวกในการเดินทาง และไม่สามารถเข้าร่วมงานในครั้งนี้ได้ ทีมผู้จัดงานจึงขออนุญาตเลื่อนการจัดงานในครั้งนี้ออกไปก่อน สำหรับทุกท่านที่ได้ชำระเงินแล้ว ท่านสามารถเข้าร่วมงานในวันดังกล่าวได้ทันที และสำหรับท่านที่ยังไม่ได้ลงทะเบียน ท่านสามารถลงทะเบียนได้จนถึงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2555 จึงเรียนมาเพื่อทราบและขออภัยในความไม่สะดวกมา ณ โอกาสนี้ ต้องการสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 02 717 1120 หรือ http://www.joomladay.in.th


วันพฤหัสบดีที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2554

Ubuntu 11.10 "Oneiric Ocelot" ออกแล้ว

รุ่นนี้ไม่มีการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่แบบรุ่นก่อน แต่เป็นการปรับปรุง Unity ให้สมบูรณ์มากขึ้น



การเปลี่ยนแปลงหลักๆ ได้แก่




  • ปรับปรุง Unity อีกหลายจุด โดยเฉพาะการรวม Dash/Lenses เข้ามาอยู่ในหน้าหลักของ Unity

  • เปลี่ยนหน้าจอล็อกอินจาก GDM มาเป็น LightDM

  • Thunderbird, Firefox 7, LibreOffice

  • Software Center ปรับปรุงใหม่



รายละเอียดอ่านได้จาก OMG Ubuntu และรุ่นนี้พิเศษหน่อย Canonical มีหน้าจำลองเดสก์ท็อปของ Ubuntu 11.10 ให้เล่นกันด้วย



สนใจดาวน์โหลดได้ที่ ubuntu.com, pub.thaiopensource.org



ที่มา: Blognone


5 ขั้นตอนหลังติดตั้ง Ubuntu 11.10

Ubuntu 11.10 Oneiric Ocelot ออกแล้วหลังติดตั้งคงต้องมาปรับแต่งกันอีกนิดหน่อยเพื่อความสมบูรณ์ในการใช้งาน วันนี้จะมาแนะนำขั้นตอนการติดตั้งโปรแกรมเพิ่มเติมที่จำเป็นต้องใช้ดังนี้




  • GIMP

  • Inkscape

  • VLC

  • Shutter

  • Sound Converter

  • Sound Juicer

  • Easy Tag

  • Font Thai

  • MP3 Codec, Flash Player, Mozilla Plugin



เอาเท่านี้ก่อนละกัน :) หลังจากติดตั้ง Ubuntu 11.10 ในโหมดภาษาไทย ตัวโปรแกรมจะ config keyboard ภาษาไทยให้อัตโนมัติ หากท่านใดที่ติดตั้งในโหมดภาษาอังกฤษต้องไป config เพิ่มเอาเองนะครับ



1. หลังติดตั้งให้อัพเกรดซักรอบ



อัพเดท package cache ก่อนด้วยคำสั่ง



sudo apt-get update



จากนั้นสั่งอัพเกรดด้วยคำสั่ง



sudo apt-get upgrade



2. ติดตั้งคลังซอฟต์แวร์ของ Suriyan เพิ่มเติม



ติดตั้งคลังซอฟต์แวร์ของ Suriyan ใช้คำสั่ง



sudo wget http://pub.thaiopensource.org/suriyan-repo/pool/main/s/suriyan-repository/suriyan-repository_1.1-4_all.deb



จากนั้นติดตั้งคลังซอฟต์แวร์เพิ่มเติมด้วยคำสั่ง



sudo dpkg -i suriyan-repository_1.1-4_all.deb



อัพเดท package cache อีกรอบด้วยคำสั่ง



sudo apt-get update



3. ติดตั้ง Font ภาษาไทยเพิ่มเติม



ติดตั้ง Font ภาษาไทยเพิ่มเติมโดยใช้คำสั่ง



sudo apt-get install ttf-ftpi ttf-sarabun-new ttf-sipa-dip ttf-tepc ttf-thai-siampradesh ttf-thaifont-abc ttf-sarabun-new



4. ติดตั้ง Multimedia Codec เพิ่มเติม (กรณีที่ลืมกดให้ติดตั้งพร้อมกับตอนที่ติดตั้ง)



sudo apt-get install ubuntu-restricted-extras ubuntu-restricted-addons



5. ติดตั้งโปรแกรมที่ต้องการเพิ่มเติม



sudo apt-get install gimp inkscape shutter vlc soundconverter sound-juicer easytag



เท่านี้ก็ได้ Ubuntu 11.10 ที่ตรงกับความต้องการละ :)


วันจันทร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2554

มาใช้ Thai Open Source App กัน

สืบเนื่องจากเรียนเขียนโปรแกรมบน Android ไม่จบคอร์ส เพราะตื่นสาย (เรียนตอนตี 3 กว่าๆ) เลยทำให้เรียนไม่ทันเพื่อนๆ ในชั้นเรียน ก็เลยคิดว่าหลังจากที่ได้เรียน 2 บทแรกก็คิดว่าน่าจะเขียน App บน Android แบบเบื้องต้นได้แล้วล่ะน่า อย่างเช่น HelloWorld :P อะไรทำนองนี้ แต่เราเป็นศิษย์มีครูอยู่ต่างประเทศ เราจะเขียน Hello World เป็นอย่างเดียวได้อย่างไร ก็เลยเขียน Mobile App ขึ้นมาเล่นๆ ตัวนึงแบบง่ายนะไม่ซับซ้อน...คือเรียนไม่จบคอร์ส จะเอาอะไรยากนักหนา โปรแกรมนี้ชื่อ Thai Open Source App เจ้าตัวนี้เป็นลูกครึ่งระหว่าง Web Application + Web Service + Android App จะอธิบายง่ายๆ ก็คือ มันเป็น App เอาไว้เข้าหน้าเว็บ Thai Open Source แบบ Mobile คือเนื้อหาจะไม่ครบตามเว็บ เนื่องจากมันเป็น Mobile ใช่ป่ะ มันก็เลยมาเท่าที่ XML Feed จะให้ได้ (แก้ตัวน้ำขุ่นๆ อ่ะนะ) อ่ะ เอาจริงๆ ละ ก็อย่างที่บอกครับ โปรแกรมมี 3 ส่วน




  1. Web Service ที่บอกว่าเป็น Web Services ก็เนื่องจาก Web Application ข้างต้นใช้ข้อมูล YQL จาก RSS Feed ที่ได้มาจาก Thai Open Source เจ้า YQL จะเป็นตัว Query และแปลงผลลัพท์ออกมาเป็น json เอาไปให้ Web Application อีกที

  2. Web Application เป็นเว็บที่พัฒนาด้วย jQuery Mobile ทำให้เว็บเล็กเร็วและสวยงาม เล่น Effect ได้เหมือนเขียน App จริงๆ

  3. Mobile App เขียนบน Android มี WebView อยู่ตัวนึงเปิดเว็บ Web Application งี่เง่าตัวนึงไว้



จริงๆ แล้วไม่ต้องทำอะไรให้มันดูยุ่งยากขนาดนี้ก็ได้ เช่นเขียน RPC ต่อกับ Drupal โดยตรงอะไรอย่างนี้ แต่ด้วยความที่เป็นศิษย์มีครูอยู่ต่างประเทศก็เลยเล่นท่ายากส์นิดนึง สำหรับหน้าจอโปรแกรมดูด้านล่างเลยครับ ผมมีแต่ tablet บ้านยากจนไม่มีตังค์ซื้อมือถือ Android น่ะครับ :P









สำหรับท่านที่ต้องการทดสอบดาวน์โหลดได้ที่ http://thaiopensource.googlecode.com/files/toss-mobile-app_1.3.apk หรือจาก QR Code ข้างล่าง





สำหรับในอนาคตคงได้เขียน Android App ที่เป็นเรื่องเป็นราวมากกว่านี้ครับ ;)