วันอังคารที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2555

Firefox 10 มาแล้ว

อัพเดทล่าสุดจาก Mozilla Firefox ออกรุ่นใหม่แล้ว Firefox 10 พร้อมสนับสนุน CSS 3D สร้างประสบการใหม่ให้กับผู้ออกแบบเว็บไซต์ หลังจากให้คู่แข่งอย่าง WebKit นำหน้านาน สำหรับ CSS 3D เป็นยังไงดูได้ที่หน้าเว็บ Mozilla Hack ในส่วน WebGL ดูเนียนมากขึ้นใน Firefox 10 เนื่องจากสนับสนุนการแสดงผลแบบ anti-aliasing สำหรับ HTML5 ใน Firefox 10 รุ่นนี้สนับสนุน tag อีกด้วย สำหรับท่านที่ต้องการใช้งาน Firefox 10 ก็อัพเดทกันได้เลยครับ หากต้องการดาวน์โหลดมาติดตั้งก็สามารถดาวน์โหลดได้ที่ mozilla.org


วันจันทร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2555

เพิ่มความสามารถให้ Chrome ด้วย AwesomeBar Extension

ช่วงหลังนี้ผมค่อนข้างมีปัญหากับ Firefox เลยหนีมาใช้ Chrome อยู่พักใหญ่ๆ ซึ่งโดยรวมก็โอเคดี แต่จะติดอยู่อย่างเดียวที่ Chrome ยังไม่สามารถแทน Firefox ได้อย่างเต็มรูปแบบ นั่นคือ AwesomeBar ที่มีอยู่ใน Firefox



AwesomeBar เป็นความสามารถที่มีอยู่ใน Firefox ซึ่ง AwesomeBar นี้มันคือ Addressbar นั่นแหล่ะ มันจะจำได้ว่าเราเคยเข้าเว็บไซต์อะไรบ้าง แล้วเข้าบ่อยแค่ไหน ซึ่งในครั้งต่อๆ ไปที่เราพิมพ์ URL มันจะเสนอเว็บที่เราน่าจะเข้าขึ้นมาให้เลือกเลย ประมาณว่าเสริช URL จาก Addressbar นั่นเอง



แม้ว่า Chrome จะไม่มีความสามารถนี้มาให้ในตัว แต่เราสามารถใส่ความสามารถนี้เพิ่มเติมให้กับ Chrome ของเราได้ด้วย AwesomeBar Extension ท่านที่ใช้งาน Chrome อยู่ก็ลองหามาเล่นกันดูนะครับ


วันพฤหัสบดีที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2555

เก็บตก Technology Trends 2012 และ Business Continuity

เนื่องจากติดภารกิจที่สำนักความปลอดภัยฯ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานก็เลยอดไปงานสัมนา Technology Trends 2012 ผม follow เอกสาร presentation ของ อ.ธนชาติ ที่ SlideShare อยู่ก็เลยได้ slide มานั่งดูคร่าวๆ ซึ่ง Technology Trends สำหรับบ้านเราและโดนใจกันมากที่สุดคงไม่ใช่ Cloud Computing แต่เห็นจะเป็นในเรื่องของ Business Continuity ที่บ้านเราขาดแคลนกันมาก เห็นได้จากเหตุการณ์น้ำท่วมที่ผ่านมา เราลองมาดู Trends ระดับโลกที่วิเคราะห์โดย Gartner มีดังนี้




  • Media tablets and beyond

  • Media-centric applications and interfaces

  • Social and contextual user experience

  • Application stores and marketplace

  • The Internet of everything

  • Next-generation analytics

  • Big data

  • In-memory computing

  • Extream low-energy servers

  • Cloud Computing



ผมเองไม่ค่อยเข้าใจกระบวนการการวิเคราะห์ของ Gartner สักเท่าไร แต่เท่าที่สังเกตจะพบว่า Gartner ทายถูกเสมอหรือเพราะว่าทุกคนพยายามหันเข้าทาทิศทางของ Gartner กันแน่ แต่ที่สำคัญการวิเคราะห์ Trends ในแต่ละปีเป็นประโยชน์มาก Trends เหล่านี้เกิดขึ้นแล้วและจะเกิดผลกระทบอย่างรุนแรงในอนาคตอันใกล้ ซึ่งเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ การวิเคราะห์ของ Gartner จะช่วยให้เราปรับตัวให้ทันกับ Technoloy ที่จะเกิดขึ้นและมองเห็นสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้อย่างแม่นยำ ข้อมูลเหล่านี้เป็นประโยชน์สำหรับองค์กรและผู้ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี ถ้าสนใจก็ตามอ่านงานวิจัยของ Gartner ในแต่ละ Trends บ้างก็ดีครับ



กลับมาเรื่อง Business Continuity อย่างที่บอกว่าน้ำท่วมกรุงเทพฯ ทำให้อะไรหลายๆ อย่างที่เรามองข้ามมันจะวนกลับมา อย่างเช่น Business Continuity เรื่องนี้สำคัญมาก หากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดอย่างน้ำท่วม เราจะดำเนินธุรกิจของเราอย่างเป็นปกติได้อย่างไร? ผมขอแบ่งปันประสบการณ์ที่พบมากับตัวเองก่อนช่วงน้ำท่วม ซึ่งส่งผลทำให้ผมต้องวางแผน เพื่อให้เว็บไซต์ Thai Open Source เปิดให้บริการได้อย่างต่อเนื่อง



เว็บไซต์ Thai Open Source ย้ายที่อยู่หลายครั้ง คือ ย้ายตาม Sever ว่ามันจะโดนโยกย้ายไปที่ไหน Server เราอยู่ที่สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ หรือที่เรารู้จักกันในชื่อ SIPA ซึ่ง SIPA ก็อยู่ในอาคาร B ศูนย์ราชการ การบริการ NOC ที่นี่ถือว่าอยู้ในระดับดี คือ บริการในเวลางานหลังจากเวลางานก็เจอกันอีกทีแปดโมงครึ่ง :) เหตุการณ์ที่ทำให้ผมตัดสินใจย้ายและทำ Disaster Recovery คือทางอาคารมีการซักซ้อมการรองรับสถานการณ์น้ำท่วมในแต่ละระดับความรุนแรง แต่หลังจากซ้อมเสร็จ พนักงานดันลืมเปิดวาล์วน้ำให้แอร์ที่จะส่งเข้ามายังห้อง Server ส่งผลให้เครื่อง Sever กว่า 50 เครื่อง อยู่ใน "เตาอบ" ใช่ครับ "เตาอบ" เหตุการณ์เกิดตอนวันศุกร์กว่าจะมีคนมาแก้ปัญหาก็เข้าสู่วันจันทร์แปดโมงเช้า ผมได้รายงานจาก Server ก่อนที่มันจะเดี้ยงผ่านทาง E-Mail มาว่า "ลาก่อน" นั่นหมายถึง "แย่แล้ว" มีใครดูเครื่องที่ NOC หรือยัง? และมันต้องแย่แล้วแน่ๆ วันจันทร์แปดโมงเช้าผมก็ตัดสินใจเด็ดขาดปรึกษากับคุณมะระ (@gumara) เราจะย้ายและหา "บ้านที่เหมาะสมและเราสามารถจัดการสถานการเหล่านี้ได้" โดยไม่ต้องรอใคร เราสามารถจัดการได้เอง ได้คุณมะระช่วยเหลือในเรื่องการทำ DR Site โดยเว็บไซต์ Thai Open Source และผองเพื่อน ไปไว้ที่ Virtual Private Cloud ในต่างประเทศ เพื่อ "หนีน้ำท่วม ไฟไหม้" หลังจากเหตุการครั้งนั้น ก็เจอเหตุการณ์น้ำท่วมตามมา แต่เว็บ Thai Open Source ไม่ได้อยู่ใน NOC ของ SIPA แล้ว ไม่ต้องกังวลว่าน้ำจะไม่ไหล ไฟจะดับ ห้อง NOC ไฟไหม้อีกต่อไป ที่เหลือก็คงต้องหาเงินช่วยคุณมะระจ่ายค่าพื้นที่ต่อไป :P



หากมองกลับกันว่าธุรกิจของคุณเป็นธุรกิจที่มี Critical สูง เกี่ยวกับเงินๆ ทองๆ มีมูลค่าความเสียหายมาก คุณจะป้องกันปัญหาเหล่านี้ได้อย่างไร ซึ่งสิ่งเหล่านี้ต้องคิดกันก่อน คิดให้ตกผลึกและหาวิธีการรองรับ เรื่อง Disaster Recovery อยู่ใน Trends ของ Gartner เมื่อตอน 911 ซึ่งตอนนั้น Trends นี้รุนแรงมากและเป็นกรณีศึกษาที่ดี หลังจากเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมในไทย Disaster Recovery และ Business Continuity ก็คงเป็น Trends ที่สำคัญอย่างหนึ่งที่หลายธุรกิจจะต้องหาวิธีการมารองรับ หากคุณยังไม่มีแผนการเหล่านี้ลองหาที่ปรึกษาเกี่ยวกับ Business Continuity ดูครับ ซึ่งปีนี้น้ำจะท่วม แผ่นดินจะไหว ปลาโค่ยยักษ์จะพลิกตัวอีกหรือเปล่าก็ยังไม่รู้ ;)


Tablet เด็กประถม สื่อการเรียนการสอนและการจัดการเรียนการสอนที่เหมาะสม

เวลาอ่านข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์ก็มักจะมีนักวิชาการให้ข้อสังเกตต่างๆ นานา ในเรื่องการใช้เครื่องไม้เครื่องมือที่เกี่ยวกับเทคโนโลยี ไม่ว่าจะเป็น Tablet, Netbook, Notebook, อินเตอร์เน็ต ในการเรียนการสอนในโรงเรียน มีหลายประเด็นยังเป็นข้อถกเถียงอยู่เสมอๆ เช่น




  • ไม่เหมาะสม

  • เสียสุขภาพ

  • เครื่องไม้เครื่องมือไม่ได้ช่วยให้เด็กเก่งขึ้น

  • การศึกษาล้มเหลว

  • ฯลฯ



ผมมองว่าข้อสังเกตข้างต้นมันก็มีเหตุผลในตัว แต่ผมมองสิ่งที่แตกต่างออกไปก็คือ การจัดการเรียนการสอนของบ้านเราไม่เกื้อหนุนกับการใช้เครื่องไม้เครื่องมือมากนักและการใช้สื่อหรือเครื่องมือที่ไม่เหมาะสม ผมมักจะนึกถึงการ์ตูน iampetdo 2 เรื่องนี้





ผมมักนึกถึงเรื่อง One Labtop per Child (OLPC) และสาเหตุที่ OLPC ใช้ไม่ได้ในประเทศไทย จากสาเหตุที่ว่า OLPC ลง Windows ไม่ได้ T_T ซึ่งก็เป็นเรื่องที่ตลกดีครับ อีกเรื่องนึงเป็นเรื่องการลงทุนอย่างมหาศาลของ Intel ในเรื่อง เครื่อง Class Mate PC ที่หาโรงเรียนนำร่องเพื่อเป็นต้นแบบ แปลเนื้อหา e-learning จากประเทศอังกฤษในวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์เป็นภาษาไทยให้ด้วย และสุดท้ายก็หายเงียบไป Class Mate PC จมหายไปกับกาลเวลา เรื่องเหล่านี้ทำให้ผมคิดว่า "อะไรที่เจ๋งๆ อาจจะใช้ไม่ได้ในประเทศไทย" ก็เพราะ 2 เหตุผลหลักคือ




  • กระบวนการจัดการเรียนการสอนไม่เกื้อหนุน

  • สื่อการเรียนการสอนไม่เหมาะสม



สมมุติว่า Tablet ที่จะแจกเด็กประถมเป็น Tablet ที่สามารถอ่าน E-Book ได้เหมือนอ่านหนังสือจริงๆ คำถามคืออ่าน E-Book ได้แล้วยังไง? ปกติหนังสือที่เป็นเล่มๆ ยังเปิดอ่านกันยากมากๆ E-Book ที่พลิกหน้ากระดาษไปมาได้บนหน้าจอ ที่ไม่ได้ให้ความแตกต่างจากหนังสือที่เป็นเล่มๆ จะช่วยให้การเรียนการสอนดีขึ้นได้อย่างไร? นี่คือประเด็นที่ผมยังหาคำตอบให้ตัวเองไม่ได้



มีท่านผู้รู้หลายท่านแนะนำว่าสื่อการเรียนการสอนควรเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย ผมก็จะตั้งคำถามว่า คุณครูเป็นผู้ออกแบบการเรียนการสอน หากคุณครูผู้สอนรู้จักการประยุกต์ใช้สื่อหรือมีกิจกรรมการเรียนการสอนที่สามารถนำเอาสื่อเหล่านี้มาช่วยในการเรียนการสอนได้ ก็คงเป็นเรื่องที่ดี ผมอยากให้ดู Video นี้





หลายท่านอาจตั้งคำถามว่า ขาย Chrome Book เหรอ? แต่สิ่งที่สำคัญมากกว่านั้นคือ เขาจัดการเรียนการสอนโดยใช้เครื่องมืออย่าง Chrome Book ได้อย่างไร? ไม่ได้มีสื่อ Multimedia ที่หรูหรา มีแต่ Slide ใน Google Presentation เขาทำได้อย่างไร? เขาทำได้อย่างไร? แล้วเราล่ะ เราจะทำอย่างไร? นั่นเป็นประเด็นปัญหาที่ต้องขบคิด ทั้ง OLPC, Class Mate PC มาจนถึง Tablet เด็กประถม เราได้เรียนรู้อะไรบ้าง?




  • การจัดการเรียนการสอนและกิจกรรมในชั้นเรียนดีขึ้นแล้วหรือยัง?

  • รู้จักการประยุกต์ใช้สื่อการเรียนการสอนแล้วหรือยัง?

  • สามารถสร้างแรงกระตุ้นให้ผู้เรียนเพื่อให้เกิดกระบวนการคิดและการแก้ปัญหาแล้วหรือยัง?



มีปัญหาหลายอย่างที่เรายังไม่ได้แก้ไข บางทีสิ่งเหล่านี้อาจบ่งบอกถึง "ความไม่พร้อม" ทางด้านการศึกษาก็เป็นได้ เรื่องเหล่านี้ควรได้รับการแก้ไขเพื่อการใช้เทคโนโลยีและเครื่องไม้เครื่องมือที่คุ้มค่าและมีประโยชน์อย่างแท้จริง มีท่านผู้รู้ท่านนึงบอกกับผมว่า "จอมยุทธที่เก่ง ใช้แค่กิ่งไม้ก็เป็นอาวุธได้" แต่ผมอยากเห็น "จอมยุทธที่เก่ง ใช้กระบี่วิเศษสร้างสิ่งที่มหัศจรรย์ได้" ก็คงได้รอดูกันต่อไปครับ


เก็บตกเรียน Ubuntu กับสำนักความปลอดภัยฯ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

ผมได้มีโอกาสไปเป็นผู้ช่วยวิทยากร และช่างภาพจำเป็นเนื่องจากที่ฝ่ายเวลาไปบรรยายหรือไปฝึกอบรมมักจะไม่มีภาพถ่ายที่ระลึกก็เลยได้ไปถ่ายภาพให้ วันนี้เป็นคลาสเรียน Ubuntu กับสำนักความปลอดภัยฯ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ครับ ซึ่งบรรยากาศเป็นกันเองมาก ผู้เรียนไม่มีปฏิกิริยาต่อต้านกับสิ่งใหม่อย่าง Ubuntu แต่กลับอยากเรียนรู้ที่จะใช้งานให้เป็น ส่วนผู้ดูแลระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่ายก็หาวิธีการว่าจะทำอย่างไร หากกรมฯ สั่งซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์มาแล้วไม่มี Windows ติดมาด้วยและไม่ต้องการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ ก็เลยเกิดการจัดอบรมให้กับตัวแทนศูนย์ในเรื่องการใช้งาน Ubuntu ขึ้น ผู้เข้าอบรมเป็นตัวแทนศูนย์ในแต่ละจังหวัดซึ่งในอนาคตอันใกล้จะต้องได้ใช้ Ubuntu อย่างแน่นอน ทางส่วนกลางก็เลยวางแผนอบรมซะเลย :) การอบรมแบ่งเป็น 2 วัน วันแรกเป็นเรื่อง Ubuntu และวันที่สองเป็นเรื่อง LibreOffice บรรยากาศการอบรมสนุกมาก ไม่เครียด แรงต้านซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สไม่ค่อยมี มีแต่คนอยากเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ และกิจกรรมจัดได้น่ารักมากๆ ครับ ผมชอบมากๆ ต้องขอขอบคุณผู้จัดงาน ที่จัดกิจกรรมดีๆ แบบนี้ และหวังว่าหน่วยงานของท่านจะเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับหน่วยงานอื่นๆ ในอนาคต ขอบคุณจริงๆ ครับ




ลงทะเบียน




ของแจกภายในงาน




ผู้เรียนวันนี้




ของแจกสุดน่ารัก




วิทยากรคุ้นๆ มั๊ย




ของแจกวิทยากร




แนะแนวทางแก้ปัญหา




ผู้เรียนทุกคนได้ Storage บน Cloud ฟรี!




แก้ปัญหาการตั้งรหัสผ่าน คือว่ามันยาวไป "จำไม่ได้"




TA เดินสองฝั่งเลย




วิทยากรวันนี้




ตัวนี้ของผมนะ จองๆ


วันอังคารที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2555

สร้าง HTML5 Apps สำหรับมือถือทุกค่ายด้วย PhoneGap

PhoneGap เป็นแพลตฟอร์มการเขียน Application โดยใช้ HTML5 และ Javascript ซึ่งคุณสามารถใช้ในการสร้าง Application บนมือถือได้หลากหลายแพลตฟอร์ม เช่น iPhone, Android, BlackBerry, webOS, Windows Mobile และ Symbian เป็นต้น PhoneGap จะมาพร้อมกับ PhoneGap API เพื่อใช้ในการเขียน App และ Plugin ต่างๆ ซึ่งทำให้คุณสามารถสร้าง HTML5 Application ได้ง่ายๆ และที่สำคัญหากคุณเขียน Application เป็น HTML5 + PhoneGap API อยู่แล้ว คุณสามารถใช้ PhoneGap Builder ช่วยสร้าง App สำหรับแพลตฟอร์มอื่นๆ ได้เลย โดยไม่ต้องแก้ไขซอร์สโค้ดแต่อย่างใด













สำหรับท่านที่อยากทดลอง ก็สามารถเข้าไปดาวน์โหลด PhoneGap ได้ที่ http://www.phonegap.com สำหรับ PhoneGap Builder สามารถใช้งานได้ที่ https://build.phonegap.com


วันจันทร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2555

LibreOffice 3.5 RC1 ออกแล้ว

LibreOffice 3.5 โปรแกรมสำนักงานโอเพนซอร์สเข้าสู่สถานะ Release Candidate (RC1) แล้ว ในรุ่น RC1 นี้ไม่มีอะไรใหม่เพิ่มเข้ามาจากรุ่น Beta การพัฒนาในช่วง RC นี้จะเกี่ยวกับการแก้บั๊กต่างๆ ก่อนที่จะออกรุ่น 3.5 ในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ สำหรับในรุ่น 3.5 มีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างทั้งการปรับปรุงเรื่องประสิทธิภาพของโปรแกรม คุณสมบัติใหม่ และอัพเดท Interface สำหรับการจัดการหัวกระดาษและท้ายกระดาษ และการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญคือการ import เอกสาร Microsoft Visio ใน Impress และ Draw ข้อมูลคุณสมบัติใหม่ๆ สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่บันทึกการออกรุ่น ในรุ่น RC1 สามารถดาวน์โหลดไปทดสอบกันได้แล้ว มีรุ่นสำหรับ Windows, Mac และ Linux สำหรับท่านที่พบปัญหาและบั๊กสามารถรายงานได้ที่ Bug Report



ที่มา - H-Online


OpenNebula 3.2 ออกแล้วพร้อมสนับสนุน VMWare

นักพัฒนา OpenNebula ประกาศออกรุ่น 3.2 (Red Spider) สนับสนุน Hypervisor อย่าง KVM, Xen และ VMWare เพิ่มคุณสมบัติในการทำ Live Migration การจัดการ Image การจัดการ Network และการจัดการแบบอัตโนมัติผ่าน contextualisation ในรุ่นนี้รวบรวมงานพัฒนาของ C12G เข้ามารวมด้วยหลายตัว ซึ่งโดยปกติจะอยู่ในรุ่น Commercial Support อย่างเช่นสนับสนุน VMWare เป็นต้น สำหรับรุ่น 3.0 ที่ผ่านมาจะเห็นการพัฒนาอย่างรวดเร็ว เช่น การสนับสนุนในส่วน Management Console ผ่าน Sunstone, การจัดการ Virtual Datacenter ผ่าน OpenNebula Zone และโครงการล่าสุดคือ OpenNebula Self Service, การใช้งานเครื่องมือของ Amazon EC2 อย่าง Hybrid Fox ผ่านทาง EC2 query interface



มีหลายองค์กรใช้ OpenNebula 3.2 กันแล้วได้แก่ European Space Agency, KPMG, Fermilab, Logica, Chaina Mobile และ CERN สำหรับเครื่องมือที่ใช้งาน Ecosystem มีรายละเอียดอยู่ที่ OpenNebula Ecosystem Catalog สำหรับท่านที่ต้องการทดสอบสามารถดาวน์โหลดได้ที่เว็บ OpenNebular.org สำหรับท่านที่ใช้ Linux สามารถดาวน์โหลด package ในแต่ละ Distribution ได้ ไม่ว่าจะเป็น CentOS, Ubuntu, openSUSE และ Debian


Wikipedia ออก Android App แล้ว

Wikipedia Foundation แอบออกรุ่น Wikipedia สำหรับ Android ซึ่งถือว่าเป็นรุ่น Official เลยก็ว่าได้ สำหรับ App ตัวนี้อ่าน Wikipedia แบบ Online ผู้ใช้สามารถค้นหาข้อมูลใน Wikipedia หรือหาเนื้อหาที่น่าสนใจจากที่ที่คุณอยู่ได้ นอกจากนี้ยังสามารถบันทึกเอาไว้อ่านแบบ Offline หรือ Share ให้เพื่อนๆ ได้ด้วย Wikipedia เคยออกรุ่น Mobile มาแล้วใน iTunes App Store สำหรับอุปกรณ์ iOS และเปิดเป็นโอเพนซอร์สด้วย ใช้สัญญาอนุญาติแบบ MIT-license ส่วน Code อยู่ที่ GitHub ในส่วนของ Android App ที่เพิ่งเปิดตัวไปสามารถดาวน์โหลดได้ที่ Android Market รองรับ Android ตั้งแต่รุ่น 2.2 ขึ้นไป



ที่มา - H-Online


วันอาทิตย์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2555

ทีม Financisto สนใจทำ Desktop virsion แล้ว

โปรแกรม Financisto เป็นโปรแกรมจัดการบัญชีรายรับรายจ่าย (ทำบัญชีครัวเรือนนั่นเอง) ซึ่งเป็นโปรแกรมสำหรับ Android ที่สำคัญเป็นโอเพนซอร์สด้วย (ตัวโครงการอยู่ที่ launchpad.net) และจากการที่ผมเป็นแฟนประจำเลยตามติดอยู่เรื่อยมา



ล่าสุดเข้าไปพบข้อมูลเพิ่มเติมว่าทีม Financisto ได้ปรับสถานะของ Feedback ที่ผู้ใช้ส่งเข้ามาขอให้ทำ Desktop version ให้เป็น Under review แล้ว ถ้ารีวิวแล้วผ่านก็จะเข้าสู่สถานะ Planned และ Started ต่อไป



ใครเป็นพ่อบ้านแม่บ้านนักทำบัญชีก็ช่วยกันลุ้นครับ ระหว่างนี้ถ้ายังไม่เคยเลย Financisto ก็แนะนำครับ ติดตั้งได้ที่ Android market ใกล้บ้านท่าน


Tablet เด็กประถม 10 นิ้วกำลังดี

เรื่องสืบเนื่องมาจากอาทิตย์ที่แล้ว หลังจากได้ Blog เรื่อง Tablet เด็กประถมไม่ต้อง 100 เหรียญก็ได้ ทาง MICT ก็ส่งเครื่องตัวอย่างมาให้ติดตั้งโปรแกรม ซึ่งมีหลากหลายยี่ห้อ หลากหลายขนาดกันเลยทีเดียว แต่ประเด็นที่สำคัญที่สุดคือมาจากประเทศจีน เนื่องจากมีเวลาได้จับเพียงแค่ 1 วัน เท่าที่จำได้มียี่ห้อและขนาดดังนี้




  1. TCL 7 นิ้ว

  2. SCOPE 7 นิ้ว

  3. ZTE 7 นิ้ว

  4. HaiPad (PAD001) 7 นิ้ว

  5. Huawei MediaPad 7 นิ้ว

  6. ZhiQi TEN2 9.7 นิ้ว

  7. Lenovo k1 10.1 นิ้ว



เท่าที่ได้ทดสอบพบว่า Tablet จากจีนยิ่งมีขนาดเล็ก spec ก็จะเล็กตามไปด้วย ส่วนจอใหญ่ก็มี spec ที่ดูพอเหมาะกับราคา ซึ่งจอ 9.7 นิ้วขึ้นไปจะใช้จอแบบ Capacitive เป็นส่วนใหญ่และ CPU มีความเร็วอยู่ราวๆ 800 Mhz - 1 GHz นอกจากจะได้ Tablet มาลองติดตั้งโปรแกรมกันแล้วยังพบปัญหาจุกจิก เช่น




  1. ไม่มี SD Card Slot

  2. เสียบ USB แล้วไม่เห็นเป็น Mass Storage

  3. ไม่มี Android Market มีแต่ AppChaina, IdeaStore ฯลฯ



ผมได้แผ่นสื่อการสอนเด็กประถมจากกระทรวงศึกษาธิการมาด้วย 1 แผ่น พบว่าสื่อการสอนเป็นไฟล์ flash ก็พยายามทำให้มัน run ได้บน Android Tablet อยู่พักใหญ่ สรุปได้เลยว่า Flash ต้องการ spec เครื่องที่สูงเอาการ และการแสดงผลผ่านจอขนาด 7 นิ้วทำได้ไม่ค่อยดีนัก (ภาพแตกๆ เส้นไม่คม) ในรุ่นที่ไม่มี GPU จะทำงานช้าและ crash อีกประเด็นที่ไม่ค่อยแปลกใจนักคือเรื่องสื่อการสอนที่ทำมาเพื่อใช้งานกับเครื่องคอมพิวเตอร์แล้วพยายามยัดลงมาใน Tablet นั้นทำงานได้ไม่ดีนัก ตำแหน่งในการ Touch กับการ Click ของเครื่องคอมพิวเตอร์และ Tablet แตกต่างกัน ทำให้กดยังไงก็ไม่ขยับไปไหนและหากจอมีขนาดเล็ก 7 นิ้วก็ยิ่งใช้งานได้ยาก แต่หากเปรียบเทียบกับโปรแกรมเพื่อการศึกษาที่เป็น Apps บน Tablet จริงๆ ตัวอย่างเช่น Baby Bus จะพบว่าทำงานได้ดีกว่าและไหลเลื่อนกว่ามาก ถ้าคิดว่าจะ reuse สื่อการสอนเดิมก็คงต้องทบทวนกันใหม่ล่ะครับ จากการได้ทดสอบ Tablet ทั้ง 7 รุ่นทำให้รู้ได้เลยว่านอกจากจีนที่เป็นแหล่งแรงงานผลิตสินค้าที่เป็นฮาร์ดแวร์แล้วยังสามารถพัฒนาต่อยอดระบบปฏิบัติการบน Tablet ของตัวเองได้ด้วย อ้ออย่างลืม AppChaina ที่เป็น Market ของตัวเองด้วย เห็นแล้วก็น่าทึ่งจริงๆ ครับ


วันจันทร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2555

ใช้งานไดเรคทอรีปลายทางด้วย SSHFS

ผมจำได้ว่ามีคนเคยถามว่าอยาก mout remote directory แบบง่ายๆ ใน command line ประมาณว่าไม่เอา NFS อะไรทำนองนี้ ผมก็เลยแนะนำ sshfs ไปให้ลองดู และคนที่ถามก็หายเงียบไปเลย นึกได้ก็เลยเอามาเขียน How-To ไว้หน่อยก็ดี จากเหตุการณ์ข้างต้นเขียน diagrame คร่าวๆ ได้ดังนี้





สมมุติว่าผู้ใช้ชื่อ Ming ต้องการ mout ไปยัง remote dir ยังเครื่องเครื่องเซิร์ฟเวอร์ที่ Ming มีสิทธิ์เข้าไปใช้งานเครื่องนั้นได้ (ssh) ก็ให้ตั้ง sshfs ที่เครื่องเซิร์ฟเวอร์ ดังนี้



sudo apt-get install sshfs



กลับมาที่เครื่อง PC ใช้คำสั่ง



sshfs -o idmap=user ming@server:/home/ming/project ~/project



ถ้าต้องการ unmount ก็ใช้คำสั่ง



fusermount -u ~/project



เท่านี้ก็ใช้ได้ละ ถ้าจะให้ดีด็ gen ssh-key copy key ไปไว้ที่เครื่องเซิร์ฟเวอร์ จะได้ไม่ต้องคอยใส่ password ทุกครั้ง หากต้องการ mount ทุกครั้งที่เปิดเครื่องก็ใส่ลงใน fstab ได้ดังนี้



sshfs#ming@server:/home/ming/project /home/ming/project fuse defaults,idmap=user 0 0



เอาไปลองเล่นกันดูได้ครับ


อ่าน Google reader ออฟไลน์ได้ด้วย NewsRob

โดยปกติแล้วผมเป็นคนที่ติด Google Reader มาก คือติดประหนึ่งคนทั่วไปที่ต้องอ่านไทยรัฐเลย Google Reader แทบจะเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตทั้งข่าวสาร การ์ตูน ชีวิตและความเป็นไปของเพื่อน



ทีนี้การอ่าน Google Reader มันมีปัญหาที่ว่า มันต้องอยู่หน้าเครื่องถึงจะอ่านได้ ก็เลยลองมองๆ หา App สำหรับอ่าน Google Reader บนมือถือ Android ที่มีอยู่ดูบ้าง ปรากฏว่ามันมี Google Reader ที่เป็น Official app ของทาง Google อยู่ แต่ก็ติดปัญหาว่ามันต้องต่ออินเทอร์เน็ตในตอนที่จะอ่าน ซึ่งผมไม่อยากจ่ายค่าเน็ตนี่สิ



เลยต้องมองหาทางเลือกอื่นๆ เลยมาพบกับโปรแกรมตามหัวข้อครับ มันคือ NewsRob โปรแกรมสำหรับอ่าน Google Reader ซึ่งสามารถอ่าน Off-line ได้ ถ้าทันใช้ Palm อาจนึกถึง AvantGo ได้ :P



NewsRob



NewsRob



ความสามารถของ NewsRob




  • Sync กับ Google account ของเราได้ อันไหนอ่านบน NewsRob แล้ว มันก็จะ Sync กลับไปที่ Google account ของเราให้ว่าอ่านแล้ว

  • อ่าน Off-line ได้ อันนี้ความต้องการหลักเลย



สนใจลอง NewsRob เชิญที่ Android market เลยครับ



ปล. สุดท้ายผมก็ต้องอ่านผ่านเบราว์เซอร์อยู่ดี เมมโมรี่เต็ม :P


Tablet เด็กประถม ไม่ต้อง 100 เหรียญก็ได้

ผมสนใจเรื่องอุปกรณ์ฝังตัวอยู่นิดหน่อย ทางรัฐบาลก็ประกาศเรื่อง Tbalet สำหรับเด็กประถมออกมาก็ทำให้รู้สึกน่าสนใจ แต่เท่าที่ตามข่าวแล้วรู้สึกไม่ค่อยคืบหน้ามากนัก ก็เลยมาคิดเล่นๆ ว่า สมมุติว่าผมอยากได้ Tablet ตัวเล็กๆ ให้หลานๆ เครื่องมันจะเป็นแบบไหน สำหรับผมแล้วคิดว่าน่าจะได้ใช้นานซัก 3 ปี ตัวเครื่องไม่จำเป็นต้องเป็น iPad หรือ Tablet ราคาแพงๆ CPU คงเป็น ARM A9 1Ghz, RAM อย่างต่ำ 512MB, จอขนาด 7 นิ้ว, สามารถเชื่อมต่อ Wifi, เสียบ USB ได้, ต่อออกจอภาพได้ เพราะเด็ก ป. 4 ทำ presentation กันแล้วครับ :) การเก็บข้อมูลคงเก็บลง SD Card มี Internal Storage อย่างต่ำคง 4 GB และแน่นอนระบบปฏิบัติการต้องเป็น Android ครับ เพราะสามารถปรับแต่งหน้าจอน่ารักๆ ได้หลายแบบ ผ่าน Launcher ต่างๆ ได้ เช่น Go Launcher เป็นต้น และติดตั้งโปรแกรมเพื่อการศึกษาน่ารักๆ อย่าง Baby Bus :) สำหรับการอัพเดทเนื้อหาก็คงติดตั้งผ่าน Education Market เฉพาะ App การศึกษาที่เลือกมาแล้วเท่านั้น ถอด Vender App และ Apps อื่นๆ ใน Android ออกหมด ก็จะเหลือแค่ App ของ Baby Bus, Browser, Youtube, E-Book Reader, Gallery, Camera, Setting เป็นต้น นี่แหละครับ Tabel เล็กๆ สำหรับเด็กที่ผมอยากได้ สำหรับคลังหนังสือเรียนแบบ Multimedia คงต้องรอนักพัฒนาเนื้อหาอิเล็คทรอนิกส์เข้ามาช่วยกันออกแบบและพัฒนา เพราะเรื่องนี้ไม่ได้ใหม่มาก แต่ปัญหาคือทำยังไงให้มีขนาดเล็กและเก็บลงใน Nand Flash ขนาด 4GB ได้หลายเรื่อง :) เก็บหนังสือ Multimedia ได้ประมาณ 200 เล่ม ก็น่าสนใจอยู่นะครับ ถ้ากดเครื่องคิดเลขเล่นๆ เจ้าเครื่องนี้ก็จะราคาประมาณ 4,000-5,000 บาท คงไม่ต้อง 100 เหรียญก็ได้ครับ หรือว่าจะรอ OLPC XO-3 ออกก่อนก็ได้ คิดแล้วก็น่าสนุก ว่างๆ ผมอาจจะเดินหาอุปกรณ์มาประกอบเป็น Tablet สำหรับเด็กประถมดูบ้าง :)


Canonical โชว์ Ubuntu TV ในงาน CES

งาน Consumer Electronics Show (CES) ปีนี้ Canonical บริษัทผู้พัฒนาระบบปฏิบัติการ Linux อย่าง Ubuntu ได้แสดง Ubuntu TV ระบบปฏิบัติการ Ubuntu ที่ออกแบบสำหรับ OEM และ ODMs ไปกับโทรทัศน์ ซึ่งทาง Canonical ยังบอกอีกว่า Ubuntu ยังสามารถทำอะไรอีกมากอย่างเช่นการเป็นระบบปฏิบัติการในโทรทัศน์เพื่อสร้างประสบการณ์ใหม่ในโลกบันเทิง



Ubuntu TV ใช้ Interface คล้ายๆ กับ Unity เชื่อมต่อกับ cable TV หรือ TV Online ได้ นอกจากนี้ยังสามารถเก็บไฟล์บน Cloud Storage อย่าง Ubuntu One (U1) ของ Canonical ได้อีกด้วย สำหรับ Ubuntu TV Platform ทำงานบน CPU ARM และ x86 ใช้พื้นที่อย่างต่ำ 2GB, RAM 1 GB และ Video Card 512MB สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมของ Ubuntu TV สามารถดูเพิ่มเติมได้ที่หน้า TV for Human being ที่เว็บ Ubuntu.com หากต้อการรับข่าวสารเพิ่มเติมสามารถติดตามจาก mailing list ที่หน้าโครงการใน Launchpad ได้ สำหรับ Ubuntu TV ใช้สัญญาอนุญาติแบบ GPLv3 หรือ LGPLv3





ที่มา - H-Online


OLPC XO-3 tablet 100 เหรียญมาแล้ว

หากยังจำกันได้ OLPC หรือ One Labtop Per Child (OLPC) วางแผนออก XO-3 มีข่าวการออกแบบมาซักระยะนึงแล้ว ซึ่ง XO-3 จะออกมาเป็น Tablet กำหนดราคาอยู่ที่ 100 เหรียญอยู่เช่นเดิม สำหรับ XO-3 จะไม่ใช่ Low Cost Tablet อย่างโครงการ Askash ที่ประเทศอินเดียซึ่งขายอยู่ในราคาราวๆ 50 เหรียญ (ประมาณ 1600 บาท) ในงาน Consumer Electronics Show หรือ CES ทีม OLPC ได้นำเสนอ OLPC XO-3 ที่กำลังพัฒนา โดยตัวเครื่องจะใช้พลังงานเพียว 10-25 โวลต์ สามารถชาร์ตโดยใช้เครื่องชาร์ตแบบมือหมุน หรือ Solar Cells ตัวเครื่องใช้ CPU Marvell ARM SOC สำหรับระบบปฏิบัติการจะเป็น Android หรือ Linux อื่นๆได้ และที่แน่นอนคือไม่ run Windows อย่างแน่นอน จอภาพ 8 นิ้วเป็นแบบประหยัดพลังงาน สามารถดูหน้าจอได้แม้อยู่ในแสงแดด





ที่มา - H-Online


Blue Systems เป็นพาร์ทเนอร์และสปอนเซอร์ให้ Linux Mint

Clement Lefebvre หัวหน้าทีมพัฒนา Linux Mint ประกาศแล้วว่า Blue Systems บริษัทในเยอรมัน เป็นพาร์ทเนอร์และสปอนเซอร์ให้ Linux Mint โดยการเป็นพาร์ทเนอร์ในครั้งนี้มุ่งเน้นการพัฒนา Linux Mint KDE และ [Netrunner]((http://www.netrunner-os.com/) ที่ทาง Blue System สนับสนุนอยู่ให้ดีขึ้น ซึ่งทาง Lefebvre ยังบอกอีกว่าการพัฒนาในครั้งนี้มีผลดีทั้งสอง Distro ซึ่งให้ประสบการณ์กับผู้ใช้ที่แตกต่างกัน ซึ่ง Blue Systems จะกลายเป็นผู้สนับสนุนหลักให้ Linux Mint ในปีนี้



ที่มา - H-Online


วันอาทิตย์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2555

Ubuntu One ใช้บน iPhone ได้แล้ว

Ubuntu One ประกาศเปิดตัว Mobile App สำหรับ iOS ทำให้ผู้ใช้อุปกรณ์อย่าง iPhone สามารถดูและจัดการไฟล์ เพลง ภาพ และเอกสารใน Ubuntu One ได้ App ยังสามารถอัพโหลดและดาวน์โหลดไฟล์จาก Ubuntu One ได้





สำหรับท่านที่สนใจสามารถดาวน์โหลด App ได้ฟรีจาก App Store



ที่มา - H-Online


การใช้งาน Linux Desktop มีเพิ่มมากขึ้น

รายงานจาก NetMarketShare แสดงตัวเลขการใช้งาน Linux Desktop ที่เพิ่มมากขึ้น จาก 1% ในเดือนธันวาคมปี 2010 เป็น 1.41% ในเดือนธันวาคม 2011 ส่วนตัวเลขก่อนหน้าเดือนธันวาคมปี 2010 อยู่ในราวๆ 1% สัดส่วนที่เพิ่มสูงขึ้นนี้เกิดขึ้นตั้งแต่เดือนสิงหาคม ปี 2011 ซึ่งเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด สำหรับตัวเลขการใช้งาน Microsoft Windows ค่อยๆ ลดลงจาก 93.78% เป็น 92.23% ส่วนผู้ใช้ระบบปฏิบ้ติการ Mac OS X ก็เพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน จาก 5.21% เป็น 6.36% ส่วนในตลาดกลุ่มโทรศัพท์มือถือ iOS ยังคงครองตำแหน่งอยู่ที่ 52.10% ของตลาด ตามมาด้วยกลุ่มโทรศัพท์มือถือที่ใช้ Java ME ที่ 21.27% และ Android ที่ 16.29%




The rising trend started in the summer Source: NetMarketShare



ที่มา - H-Online