วันพุธที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

Docker Linux Container เล็ก บาง เบา

เมื่ออาทิตย์ที่แล้วเข้าไปใช้งาน dotCloud พบว่า มีการเปิดตัว Docker.io เท่าที่ดูเหมือน dotCloud จะค่อยๆ ปล่อยของเล่นส่วนตัวออกมาเรื่อยๆ เช่น Hipache เป็นต้น Docker พัฒนาจาก LXC เป็น Linux Container ตัวที่เล็กและเบา จุดเด่นของ Docker คือสามารถทำงานในระดับ process ได้ แยก process โดยใช้ namespace ทำให้คุณสามารถเอาไปประกอบ (ไม่ใช่เอามาใช้แล้วจะกลายเป็น dotCloud นะจ๊ะ) เป็น PaaS ได้ง่ายอย่าง dotCloud เป็นต้น ใครงงๆ ก็ดู รายละเอียดจาก Slideshare ข้างล่าง หรือใครอยากอ่านแบบยาวๆ ก็อ่านเรื่องราว ได้ครับ





Docker ใจดีนอกจากจะมีเครื่องมืออย่าง Linux Container มาให้ใช้ ยังมี API และ Image Repository ที่ชื่อ Docker Index มาให้ใช้ด้วย ซึ่ง Docker Index สามารถดึงเอา Container Image มาใช้ได้ และยังสามารถแชร์ Container ของคุณได้ด้วย น่าสนุกมั๊ย สำหรับท่านที่สนใจลองดูตามลิงค์ข้างล่างครับ





Jaff Lindsay เอา Docker ไปใช้งานในการทำ PaaS ขนากเล็กในโครงการ Dokku ซึ่งจำลอง Heroku ขึ้นมา สามารถทำงานได้ทั้ง 3 Platform คือ Ruby, Java และ Node.js


วันจันทร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

มาดู Commit Log แบบ StarWars กัน

คุณมะระแนะนำมาเกี่ยวกับ StarLogs ที่เอา Commit Log จาก GitHub มาแสดงผลเป็น Animation Title สไตล์ StarWars ผมล่ะชอบเลย ผมว่ามันดูสนุกดีล่ะ ใครนึกภาพไม่ออกก็เป็นแบบรูปข้างล่างครับ





วิธีการเล่นก็ง่ายๆ ไปที่เว็บ http://starlogs.net แล้วใส่ URL ของ Project ที่อยู่ใน GitHub ลงไป เท่านี้คุณก็ได้ Animation Title สไตล์ StarWars แต่เนื้อหาเป็น Commit Log แล้ว สนุกมากมายครับ ใครอยากลองเล่นไปลองเล่นกันได้


แปลง smbpasswd เป็น tdbsam

วันนี้มีคนมาถามเรื่อง SAMBA ทั้งเรื่อง Migration และการใช้งาน ผมตกยุคเรื่อง SAMBA มานานมาก ไม่ได้แตะเลยก็ว่าได้ เดี๋ยวนี้เขามี tdbsam ก็เลยงงๆ เอาเป็นว่าตามไม่ทันก็แล้วกัน ปัญหาคือจะ migrate จาก smbpasswd มาเป็น tdbsam ได้ยังไง วิธีการง่ายๆ ให้เลือกก่อนว่าจะใช้อะไร อยากใช้แบบเดิมๆ ก็ config ในไฟล์ smb.conf ให้เรียกใช้ smbpasswd ถ้าอยากได้ของใหม่แบบ tdbsam ก็ต้องแปลงร่างกันสักหน่อย อ้อลืมไป tdbsam เหมาะสำหรับ user ไม่เกิน 200 คนนะครับ



วิธีการแปลงใช้ pbedit แปลงจาก smbpasswd ไปเป็น passdb.tdb ดังนี้



pdbedit -i smbpasswd:/etc/samba/smbpasswd -e tdbsam:/etc/samba/passdb.tdb



อ้อ อย่าลืมแก้ smb.conf ให้เรียกใช้ tdbsam ด้วยนะครับ สำหรับองค์กรที่มี user มากกว่า 30 คน แนะนำใช้ LDAP ไปเลยจะสะดวกมากกว่าสามารถเอาไปผูกกับบริการอื่นๆ ได้ด้วยครับ :)


วันศุกร์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

มาติดตั้ง LibreOffice 4.1 กัน

LibreOffice 4.1 ออกมาให้เล่นกันแล้วครับ และตามคำเรียกร้องก็ต้องมาแนะนำวิธีการติดตั้งกันสักหน่อย วิธีการมีดังนี้




  1. สำหรับท่านที่ใช้ LibreOffice ที่มาพร้อมกับ Ubuntu ให้สั่ง Uninstall ออกก่อนครับ

  2. ดาวน์โหลด LibreOffice 4.1 ได้ที่ libreoffice.org

  3. แตกไฟล์ LibreOffice ที่ได้มา ด้วยคำสั่ง tar zxvf LibreOffice4.1.0Linuxx86-64deb.tar.gz

  4. เปลี่ยนไปที่ dir LibreOffice4.1.0.4Linuxx86-64deb/DEBS ด้วยคำสั่ง cd LibreOffice4.1.0.4Linuxx86-64deb/DEBS

  5. สั่งติดตั้ง ด้วยคำสั่ง sudo dpkg -i *.deb



เท่านี้ก็ได้ LibreOffice 4.1 ใช้กันแล้ว :)


อัพเกรด Galaxy Nexus เป็น Jelly Bean 4.3

เนื่องจากรอ OTA ไม่ไหวก็เลยอัพเกรดด้วยตัวเอง เครื่องมือที่ต้องมีได้แก่




  1. Android SDK

  2. สาย USB

  3. Image ที่ตรงกับเครื่องของคุณ ของผมเป็น Yukju



วิธีการง่ายๆ มีดังนี้




  1. ตั้งค่า USB Debuging Mode ก่อน ถ้าหาเมนู Developer Options ไม่เจอ ให้ไปกดที่ Build Number ในหน้า About Phone 8 ครั้ง เดี๋ยวเมนูมันจะโผล่อออกมา

  2. ใช้คำสั่ง adb reboot bootloader โทรศัพท์จะ reboot แล้วแสดงหน้าจอมี Android นอนหงายท้องอยู่

  3. ใช้คำสั่ง fastboot oem unlock (ถ้าเป็น Linux ต้องใช้สิทธิ์ root ในการใช้สำสั่งนี้) หน้าจอจะขึ้นมาถามว่าต้องการ unlock bootloader หรือไม่ ตอบ Yes เลยคับ

  4. แตกไฟล์ที่ดาวน์โหลดมา แล้ว run script ชื่อ flash-all.sh แล้วนั่งรอ :) เท่านี้ก็ได้ Jelly Bean 4.3 แล้ว

  5. ใช้คำสั่ง adb reboot bootloader จากนั้นสั่ง lock bootloader โดยใช้คำสั่ง fastboot oem lock


วันจันทร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

MongoDB as a Service รายแรกของประเทศไทย

Thai MongoDB เปิดบริการ MongoDB as a Service รายแรกของประเทศไทย ให้บริการ MongoDB บน SSD Serverv ให้ความเร็วในการการเข้าถึงข้อมูลได้รวดเร็ว พร้อมบริการสำรองข้อมูลรายวัน (Daily Backup) และสามารถเรียกคืนข้อมูลได้คลอดเวลา (Restore) บริการพิเศษสำหรับผู้ที่ต้องการแยกผู้ใช้บริการออกจากกันด้วย Dedicate MongoDB Instance ไม่ต้องแชร์กับผู้ใช้รายอื่น และบริการช่วยเหลือเมื่อเกิดปัญหาในการใช้งานระบบ



บริการดีๆ แบบนี้ห้ามพลาด ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ Thai MongoDB


วันจันทร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ติดตั้ง GIMP 2.8.2 บน Ubuntu 12.04 LTS

สำหรับคนที่เล่น Ubuntu 12.04 LTS น่าจะทราบกันดีอยู่แล้วว่า โปรแกรมที่มีใน LTS จะไมีอัพเกรดข้ามเวอร์ชั่น ตัวอย่างเช่น GIMP 2.6 จะไม่ถูกอัพเกรดเป็น GIMP 2.8 เพราะคนละเวอร์ชั่น LTS จะอัพเกรดเฉพาะ Minor เวอร์ชั่นเท่านั้น ปัญหาคือเราจะใช้ feature ใหม่ใน GIMP ได้อย่างไร ถ้าไม่ติดตั้ง Ubuntu เวอร์ชั่นใหม่ ?? คำตอบง่ายๆ คือใช้ PPA ครับ เราสามารถติดตั้งโปรแกรมรุ่นใหม่ๆ จากนักพัฒนาโดยผ่าน PPA ได้ และเราจะมาติดตั้ง GIMP 2.8 บน Ubuntu 12.04 กันครับ



เริ่มแรกเพิ่ม PPA ลงไปก่อนใช้คำสั่ง



sudo add-apt-repository ppa:otto-kesselgulasch/gimp



สั่งอัพเดทข้อมูล repo



sudo apt-get update



ติดตั้ง GIMP



sudo apt-get install gimp



เท่านี้เราก็ได้ GIMP 2.8 มาใช้งานแล้ว ขอให้มีความสุขกับการใช้ GIMP ครับ :)


วันพฤหัสบดีที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

เริ่มใช้ Cloud ง่ายๆ กับ OpenShift Online

OpenShift เปิดตัวอย่างเป็นทางการแล้ว แต่ก็ยังไม่ได้เขียนบทความอะไรที่เป็นจริงจังมากนัก เอาเป็นว่าครั้งนี้มามัดรวมและสรุปการใช้งาน OpenShift Online กัน หลายท่านอาจสงสัยว่าทำไมถึงมีคำว่า Online ต่อท้าย ที่มีคำว่า Online ต่อท้ายก็เพราะว่า RedHat เปลี่ยนแนวทางของ OpenShift ครั้งใหม่ โดยแบ่งออกเป็น




  1. OpenShift Origin เป็นโครงการโอเพนซอร์สสามารถเอาซอร์สโค้ดไปพัฒนาต่อได้ หรือนำเอาไปใช้งานได้

  2. OpenShift Online เป็น OpenShift ที่ให้บริการที่อยู่ในรูปแบบ Public Cloud

  3. OpenShift Enterprise เป็นบริการเพิ่มจาก RedHat Enterprise สำหรับองค์กรที่ต้องการติดตั้งและใช้งาน OpenShift ในองค์กร



ครั้งนี้เราจะมาพูดถึง OpenShift Online กันครับ เนื่องจากจับต้องได้ง่ายกว่า สำหรับ OpenShift Online ท่านที่สนใจสามารถสมัครใช้บริการได้ฟรีไม่เสียค่าใช้จ่าย เริ่มแรก OpenShift จะให้ใช้งานฟรีอยู่ที่ 3 Gears ถ้าต้องการใช้งานเพิ่มหรือต้องการ Scale มากกว่า 3 Gears ต้องสมัคร Silver Plan คือจ่ายค่าส่วนกลางรายเดือน $20 และจ่ายค่าเช่าใช้แบบ Pay-per-Use ต่อ Gear อีกต่างหาก รายละเอียดในเรื่องของค่าใช้จ่ายดูได้ที่หน้า Pricing



มาเริ่มกันเลยได้ว่า สำหรับท่านที่สมัครสมาชิกไว้แล้วสามารถเลือกการใช้งาน OpenShift Online ได้ 3 ทาง คือ




  1. ผ่านหน้าเว็บ

  2. ผ่าน Command line

  3. ผ่าน IDE ที่รองรับ เช่น JBOSS IDE เป็นต้น



ขอแนะนำการใช้งานผ่าน Command line ก่อนก็แล้วกัน เพราะการใช้งานผ่านหน้าเว็บจะง่ายกว่า :P สำหรับการใช้งานผ่าน Command line สามารถใช้ได้กับทุกระบบปฏิบัติการ ขอให้มี
1. Ruby 1.8.7 ขึ้นไป
2. Git



หลังจากนั้นให้ติดตั้ง RedHat Cloud Client โดยใช้คำสั่ง



gem install rhc



เมื่อติดตั้ง RedHat Cloud Client เรียบร้อยแล้ว ตัวโปรแกรมจะให้เรา Login เข้าสู่ระบบของ OpenShift จากนั้นก็จะลงทะเบียน ssh public key เท่านี้ก็เป็นอันเสร็จเรียบร้อย จากนั้นก็มาสร้าง Application บน Cloud ได้เลย OpenShift ใช้คำว่า Programming Cartridge แทนภาษาที่คุณใช้ เช่น ถ้าคุณเขียนภาษา PHP คุณสามารถเลือก Cartridge ได้หลายแบบ เช่น PHP, ZendServer, CakePHP, cakeStrap, CodeIgniter เป็นต้น แต่ OpenShift จะมี Cartridge ที่เป็น Instante App ให้ด้วย เช่น Drupal, Wordpress, Dukuwiki เป็นต้น สำหรับการเลือก Cartridge ขึ้นอยู่กับว่าเราต้องการ Cartridge แบบใด บาง Cartridge ไม่สามารถ Scale ได้อัตโนมัติ บาง Cartridge สามารถ Scale ได้ต้องอ่านรายละเอียดของ Cartridge นั้นๆ ให้ดี
มาสร้าง Application กันเลย ใช้คำสั่ง



rhc app create myfirstapp php-5.3



คำสั่งข้างต้นจะสร้าง App ที่ชื่อว่า myfirstapp ที่ใช้ภาษา PHP รุ่น 5.3 เป็นภาษาที่ใช้ในการพัฒนา หากต้องการให้ App สามารถ Scale ได้ ให้ใช้คำสั่ง



rhc app create -s myfirstapp php-5.3



หากต้องการฐานข้อมูลก็ให้เพิ่ม Cartridge เข้าไปเพิ่ม เช่น MySQL เป็นต้น



rhc cartridge add -a myfirstapp -c mysql-5.1



สำหรับการ Scale เราสามารถตั้งค่าจำนวน instance ต่ำสุดและสูงสุดที่จะเพิ่มได้ ยกตัวอย่างเช่น มีโควต้าทั้งหมด 16 Gears ใช้ไปแล้ว 3 Gears (PHP, MySQL, HA Proxy) ต้องการ Scale มากที่สุด 6 น้อยที่สุด 3 ใช้คำสั่งดังนี้



rhc cartridge scale php-5.3 -a myfirstapp --min 3 --max 6



เขียนมายาว ทั้งหมดนี้สามารถตั้งค่าได้จาก Web Console ได้เช่นเดียวกัน สำหรับเอา Application ขึ้น/ลง จะใช้ Git ทุกๆ App จะมี Git repository เป็นของตัวเอง และการใช้ Git คุณก็สามารถ merge code จาก repository อื่นๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็น repository ของคุณเอง หรือจาก GitHub ก็ได้


วันพุธที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

เอเอ็มดีเข้าร่วม The Document Foundation ปรับปรุงให้ออฟฟิศใช้ GPU ประมวลผล

เอเอ็มดีเข้าร่วมบอร์ดที่ปรึกษาของ The Document Foundation (TDF) ที่ดูแลการพัฒนา LibreOffice นับเป็นบอร์ดรายที่สิบเอ็ด โดยสิบรายแรกนั้นมีชื่อบริษัทที่เราคุ้นชื่อ เช่น กูเกิล, เรดแฮต, SUSE, และอินเทล



เอเอ็มดีแสดงเหตุผลของความต้องการที่จะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของบอร์ด คือ การนำเทคโนโลยี HSA เข้าไปประมวลผลร่วม ตัวสำคัญที่สุดคือการทำงานของสเปรตชีต ที่น่าจะปรับปรุงความเร็วในกรณีของไฟล์ขนาดใหญ่ที่มีการคำนวณซับซ้อนได้



หากหลังจากนี้มีการส่งแพตซ์จากเอเอ็มดีเข้ามายัง TDF คนได้รับประโยชน์ก็น่าจะเป็นเฉพาะคนที่ใช้ชิป APU ของเอเอ็มดีเป็นหลัก แต่การปรับโครงสร้างภายในใหม่ให้รองรับเอกสารขนาดใหญ่ก็น่าจะทำให้ LibreOffice ทำงานเร็วขึ้นบนทุกแพลตฟอร์ม รวมถึงความเป็นไปได้ที่จะออปติไมซ์ความเร็วด้วยเทคโนโลยีที่ผู้ผลิตอื่นรองรับ เช่น OpenCL



ที่มา - Blognone