วันพฤหัสบดีที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

เก็บตกสัมนา Public Cloud Day

ห่างหายจากการอัพเดทเรื่อง Cloud Computing ไปนาน เนื่องจากรู้สึกอิ่มตัวกับเรื่องนี้มาก เล่นมาเกือบหมดทุกค่ายแล้ว เหลือแต่ Microsoft Azure ที่ยังไม่กรอกเลขบัตรเครดิต :P และยังหากำลังใจในการใช้ผลิตภัณฑ์ของ Microsoft ไม่ได้ พอมีงานสัมนา Public Cloud Day ก็เลยอยากไปฟังอัพเดทอะไรใหม่ๆ บ้าง อยากรู้ว่าสถานะ Public Cloud ในประเทศไทยเป็นอย่างไรบ้าง Blog นี้ขอสรุป section ที่ผมสนใจ หากมี Bloger ท่านอื่นๆ เขียนเรื่องเดียวกันนี้อยู่ผมคง Tag ไปให้อ่านเพิ่มเติมครับ



ช่วงแรกหลังเปิดงานโดย อ.ธนชาติ มี Case Study จากธนาคารไทยพาณิชย์ที่ได้ใช้ Cloud ในการบริหารจัดการลูกค้าสัมพันธ์ โดยใช้บริการของ Saleforce.com และบริการ Platform as a Service ด้าน Workflow รายหนึ่ง (ผมจำชื่อบริการไม่ได้) ทางธนาคารเล่าให้ฟังถึงการเปลี่ยนผ่านระบบ CRM ระหว่างระบบเดิมที่มีอยู่เป็นอย่างไร และระบบที่เพิ่มเข้ามาเป็นอย่างไร เข้ามามีบทบาทอย่างไรในการบริการของธนาคาร ประเด็นสำคัญของการใช้ Cloud Service ของไทยพานิชย์คือ ธนาคารต้องการรู้จักลูกค้ามากขึ้น และนำเสนอสินค้าและบริการได้ตรงใจลูกค้ามากขึ้นนั่นเอง ตลอดจนปรับเปลี่ยนรูปแบบการบริการของธนาคารให้ดียิ่งขึ้นด้วย ทั้งในด้านการอนุมัติสินเชื่อได้เร็วยิ่งขึ้น เนื่องจากข้อมูลได้ถูกประมวลผลทุกๆ คืนเพื่อส่งข้อมูลไปยัง Saleforce.com เพื่อให้สาขาของธนาคารได้ใช้ข้อมูลผ่าน Saleforce.com อีกด้วย หลายคนอาจเป็นกังวลว่าอ้าวข้อมูลลูกค้าขึ้นไปอยู่บน Cloud แล้วจะปลอดภัยมั๊ย ทางธนาคารมีเทคนิคในเรื่องการจัดการข้อมูลได้ดีมากเรียกว่าวิธี Mash Up ข้อมูลลูกค้ายังอยู่ที่ธนาคาร แต่ข้อมูลที่อยู่บน Saleforce.com ที่ถูกประมวลผลแล้วจะถูกดึงลงมาใช้คู่ข้อมูลกับลูกค้าที่อยู่กับธนาคารอีกครั้ง ซึ่งวิธีการแบบนี้เป็นวิธีการหนึ่งที่ใช้ใน Hybridge Cloud ซึ่ง Hybridge Cloud เองไม่ได้กำหนดวิธีการที่ตายตัวในการเชื่อมโยงระหว่าง Public Cloud และ Private Cloud หากมุมมองในเรื่องของ Infra ก็จะเป็นมุมมองหนึ่ง กรณี Mash Up นี้เป็นการเรียกใช้ข้อมูลระหว่าง Public Cloud (ข้อมูลที่ได้จากการประมวลผลจาก Saleforce.com) และ Private Cloud (ข้อมูลลูกค้าของธนาคาร) เคยมีคนพูดเรื่องนี้ใน HP Cloud Forum เขาเรียก Hybridge Cloud ว่า Delivery Services ซึ่งมุมมองไม่ได้อยู่ที่ Infra อย่างเดียว แต่สามารถมีได้ในทุกๆ Layer ของ Cloud ทั้ง IaaS, PaaS และ SaaS ธนาคารได้เริ่มใช้ Saleforce.com และ implement ควบคู่กับระบบ CRM เดิมทีละน้อย เพื่อดูความเป็นไปได้ในการใช้บริการ โดยเริ่มต้นที่ 10 Users และค่อยเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ในแต่ละปี ซึ่งในปีนี้ สาขาในกรุงเทพมหานครได้ใช้ Saleforce.com กันแล้ว ในปีหน้าเราจะได้บริการที่เข้าถึงความต้องการและเหมาะกับตัวเรามากขึ้นอีกจากธนาคารพาณิชย์โดยเฉพาะเรื่องการอนุมัติสินเชื่อที่ไม่จำเป็นต้องรอข้อมูลหรือการอนุมัติจากส่วนกลาง (สาธุ...)



ถัดมาเป็นเสวนาจากผู้ประกอบการที่ใช้บริการ Public Cloud อยู่แล้วได้แก่ Okbee, อรุณสวัสดิ์ดอทคอม และ อีโฟลซิส ขอสรุปคร่าวๆ ดังนี้




  • Okbee บริการ E-Book, Magazine Online ผู้ใช้ 2.5 ล้านราย ช่วงแรกใช้ Amazon AWS ในการ Scale Up/Down ของ Instance เพื่อรองรับปริมาณของผู้ใช้ในแต่ละช่วงเวลา ซึ่งให้บริการผู้ใช้จากทั่วโลก ปัจจุบันลูกค้าเริ่มมีมากขึ้นเพราะขยายธุรกิจไปยังประเทศเพื่อนบ้านไม่ว่าจะเป็นเวียดนาม อินโดนีเซีย ฯลฯ ปัจจุบันเริ่มมาใช้ Microsoft Azure แต่ยังคง Instance ครึ่งหนึ่งอยู่ที่ Amazon และอีกครึ่งหนึ่งอยู่ที่ Azure เนื่องจากระบบหลังบ้านพัฒนาบน Platform ของ Microsoft การใช้ License บน Amazon และ Azure จึงไม่แตกต่าง แต่ต่างตรงที่ Microsoft มีข้อตกลงทางธุรกิจที่ดีกว่าเท่านั้น Okbee เป็น Case Study ให้ Microsoft ในการใช้ Azure ด้วย


  • อรุณสวัสดิ์ดอทคอม มีบริการสำหรับบริษัทประกันภัย "มาเร็วเคลมเร็ว" คือคอนเซปที่บริษัทให้กับลูกค้า เพื่อให้บริษัทประกันภัยส่งมอบสิ่งที่ดีที่สุดให้ลูกค้าได้ตามคอนเซปข้างต้น สำหรับอรุณสวัสดอทคอมใช้บริการ Azure เช่นกัน และมีการพัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อใช้ความสามารถ Hybridge Cloud ของ Azure เอาข้อมูลของลูกค้าที่อยู่กับลูกค้า (ไม่ได้เอาขึ้น Azure) มาเชื่อมโยงกับ SaaS ที่พัฒนาบน Azure เพื่อใช้งานร่วมกัน ทั้งในรูปแบบ Web Application และ Mobile Application


  • อีโฟลซิส มีบริการ ERP บน Cloud ซึ่งใช้ Azure เช่นเดียวกัน แก้ไขซอฟต์แวร์เดิมให้สามารถทำงานบน Cloud ได้อย่างมีประสิทธิภาพ (Multi Core Computing) และเรียกใช้คุณสมบัติ HA ของ Azure ทำให้ บริการของบริษัททำงานมีความต่อเนื่องมากยิ่งขึ้น




ถัดมาเป็นช่วงการนำเสนอของผู้ให้บริการ Cloud ในประเทศไทยจาก TCA ดังนี้




  • DCS (DWork)

  • Cloud Creation (IBM Cloud Burst)

  • Anise Asia (Joyent ~ StarAnise)

  • TOT (VMWare)

  • True (Aspen, VMWare)



มานำเสนอความพร้อมของการให้บริการ Public Cloud ในประเทศ พร้อมเป็นคู่ค้ากับ ISV ในประเทศ



สำหรับมุมมองของผมในฐานะ "คนกลาง" ผมมองหาผู้ให้บริการ Cloud หรือที่เรียกว่า Cloud Provider ในประเทศอยู่ 2 แบบคือ




  • ผู้ให้บริการ Cloud ทั้ง IaaS และ PaaS ได้เทียบเท่ากับ AWS มีช่องทางการบริการผ่านทาง Web Management Console และ Service APIs ต่างๆ

  • ผู้ให้บริการ Cloud ในรูปแบบ IaaS หรือ PaaS โดยเป็น Market Place ให้กับ ISV ที่พัฒนา SaaS เพื่อที่จะได้ไม่ต้องมากังวล เรื่องการบริหารจัดการในฝั่ง IaaS หรือ PaaS อีก ISV มีหน้าที่ทำ SaaS และหาลูกค้าเท่านั้น ที่เหลือให้ Cloud Provider เป็นคนจัดการ



สำหรับผม 4 ปีที่ผ่านมา ผมยังมองไม่เห็น Cloud Provider ในประเทศ (ไม่นับบริษัทที่ซื้อ Technology หรือเป็นบริษัทลุกในต่างประเทศ) ทำได้อย่างที่ผมต้องการ ผมอาจจะเรื่องมากไปก็ได้ แต่บริการที่สนองความ "ขี้เกียจ" ของลูกค้านี่เป็นสิ่งที่ดี จะเป็นอย่างไร ถ้า ISV สามารถขาย SaaS เป็นสินค้าผ่าน Market Place ของ Cloud Provider หรือ Market Place ของตัวเอง (ผ่านการให้บริการ Service APIs ของ Cloud Provider เพื่อ Provisioning หรือ Management อีกทอด) ลูกค้าจะมีช่องทางการซื้อบริการที่ง่าย สะดวก และรวดเร็ว ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการให้บริการอย่างดีเลยทีเดียว เราจะเห็น Time Delivery ของ SaaS เพียงไม่กี่นาทีจริงๆ ไม่ต้องรอ Provisioning จาก Call Center ของผู้ให้บริการ อยากได้ซอฟต์แวร์อะไรก็ "กดปุ๊ปได้ปั๊บ" เหมือนกดสวิทไฟ ผมว่านี่เป็นเรื่องที่ดีเลยทีเดียว



*** อ้อลืมบอกไปว่า Service Catalog หรือ Market Place นี้อย่าหวังให้ภาครัฐทำให้เพราะภาครัฐเองยังก้าวไปได้ช้าในเรื่องของ Cloud Computing ภาคเอกชนควรก้าวนำหน้าและหันมาสั่งสอนภาครัฐเสียบ้าง ***


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น